การอ่านตัวเลขต่าง ๆ

1. การอ่านจำนวนเลขตั้งแต่ 2 หลักขึ้นไป ถ้าเลขตัวท้ายเป็นเลข 1 ให้ออกเสียงว่า "เอ็ด" เช่น
เขียน อ่านว่า
11 สิบ-เอ็ด
21 ยี่-สิบ-เอ็ด
101 ร้อย-เอ็ด หรือ
หฺนึ่ง-ร้อย-เอ็ด
1001 พัน-เอ็ด หรือ
หนึ่ง-พัน-เอ็ด
2501 สอง-พัน-ห้า-ร้อย-เอ็ด
501,741,221 ห้า-ร้อย-เอ็ด-ล้าน-เจ็ด-แสน-สี่-หฺมื่น-หฺนึ่ง-พัน-สอง-ร้อย-ยี่-สิบ-เอ็ด

2. การอ่านตัวเลขที่มีจุดทศนิยม
2.1 ตัวเลขหน้าจุดทศนิยม ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ตัวเลขหลังจุดทศนิยม ให้อ่านแบบเรียงตัว
เช่น
เขียน อ่านว่า
1
.235 หฺนึ่ง-จุด-สอง-สาม-ห้า
51.08 ห้า-สิบ-เอ็ด-จุด-สูน-แปด
2.2 ตัวเลขที่เป็นเงินตรา หรือ หน่วยนับ ให้อ่านตามหน่วยเงินตรา หรือ หน่วยนับนั้น ๆ เช่น
เขียน อ่านว่า
5.80 บาท ห้า-บาด-แปด-สิบสะ-ตาง
8.65 ดอลลาร์ แปด-ดอน-ล่า-หก-สิบ-ห้า-เซ็น
3.58 เมตร สาม-เมด-ห้า-สิบ-แปด-เซ็น-ติ-เมด
2.205 กิโลกรัม สอง-กิ-โล-กฺรำ-สอง-ร้อย-ห้า-กฺรำ

3. การอ่านตัวเลขบอกเวลา
3.1 การอ่านชั่วโมงที่ไม่มีจำนวนนาที เช่น
เขียน อ่านว่า
05:00 น. ห้า-นา-ลิ-กา
24:00 น. ยี่-สิบ-สี่-นา-ลิ-กา
00:00 น. สูน-นา-ลิ-กา

3.2 การอ่านชั่วโมงกับนาที เช่น
เขียน อ่านว่า
11:35 น. สิบ-เอ็ด-นา-ลิ-กา-สาม-สิบ-ห้า-นา-ที
16:30 น. สิบ-หก-นา-ลิ-กา-สาม-สิบ-นา-ที
00:05 น. สูน-นา-ลิ-กา-ห้า-นา-ที
3.3 การอ่าน ชั่วโมง นาที และวินาที เช่น
เขียน อ่านว่า
7:30:45 เจ็ด-นา-ลิ-กา-สาม-สิบ-นา-ที-สี่-สิบ-ห้า-วิ-นา-ที
02:28:15 สอง-นา-ลิ-กา-ยี่-สิบ-แปด-นา-ที-สิบ-ห้า-วิ-นา-ที
3.4 การอ่านเวลาที่มีเศษของวินาที ตัวเลขหลังจุดทศนิยมที่เป็นเศษของวินาที ให้อ่านเรียงตัว เช่น
เขียน อ่านว่า
8:02:37.86 แปด-นา-ลิ-กา-สอง-นา-ที-สาม-สิบ-เจ็ด-จุด-แปด-หก-วิ-นา-ที
10-14-24.37 สิบ-นา-ลิ-กา-สิบ-สี่-นา-ที-ยี่-สิบ-สี่-จุด-สาม-เจ็ด-วิ-นา-ที

หมายเหตุ
การเขียนตัวเลขบอกเวลาโดยใช้เครื่องหมายทวิภาค (:) คั่นระหว่างตัวเลขบอกชั่วโมง นาที วินาที เป็นวิธีการเขียนอย่างทั่วไป ส่วนการใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (-) คั่นระหว่างตัวเลขบอกชั่วโมง นาที วินาที เป็นวิธีการเขียนที่ใช้ในการเดินเรือหรือทางดาราศาสตร์

4. การอ่านตัวเลขที่แสดงมาตราส่วน หรือ อัตราส่วน เช่น
เขียน อ่านว่า
1:100,000 หฺนึ่งง-ต่อ-แสน หรือ
หฺนึ่ง-ต่อ-หฺนึ่ง-ต่อ-หฺนึ่ง-แสน
1:2:4 หฺนึ่ง-ต่อ-สอง-ต่อ-สี่

5. การอ่านเลขหนังสือราชการ นิยมอ่านเรียงตัว ช่น
หนังสือที่ รถ 001/102 ลว. 10 ตุลาคม 2538
อ่านว่า หฺนัง-สือ-ที่ รอ-ถอ สูน-สูน-สูน-หฺนึ่ง ทับ หฺนึ่ง-สูน-สอง ลง-วัน-ที่ สิบ ตุ-ลา-คม พุด-ทะ-สัก-กะ-หฺราด
สอง-พัน-ห้า-ร้อย-สาม-สิบ-แปด
หนังสือที่ ศธ 0030.01/597 ลว. 8 พ.ย. 2534
อ่านว่า หฺนัง-สือ-ที่ สอ-ทอ สูน-สูน-สาม-สูน-จุด-สูน-หฺนึ่ง ทับ ห้า-เก้า-เจ็ด ลง-วัน-ที่ แปด พฺรึด-สะ-จิ-กา-ยน
พุด-ทะ-สัก-กะ-หฺราด สอง-พัน-ห้า-ร้อย-สาม-สิบ-สี่
(เพิ่มข้อความ "พุทธศักราช" เพื่อให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น)

6. การอ่านเลข ร.ศ. ที่มีการเทียบเป็น พ.ศ. กำกับ เช่น
ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)
อ่านว่า รัด-ตะ-นะ-โก-สิน-สก ร้อย-สิบ-สอง ตฺรง-กับ พุด-ทะ-สัก-กะ-หฺราด สอง-พัน-สี่-ร้อย-สาม-สิบ-หก
หรือ รอ-สอ ร้อย-สิบ-สอง ตฺรง-กับ พอ-สอ สอง-พัน-สี่-ร้อย-สาม-สิบ-หก

(เพิ่มข้อความ "
ตรงกับ" เพื่อให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น)
หร
ือ รัด-ตะ-นะ-โก-สิน-สก ร้อย-สิบ-สอง วง-เล็บ-เปิด พุด-ทะ-สัก-กะ-หฺราด สอง-พัน-สี่-ร้อย-สาม-สิบ-หก วง-เล็บ-ปิด
หรือ รอ-สอ ร้อย-สิบ-สอง วง-เล็บ-เปิด พอ-สอ สอง-พัน-สี่-ร้อย-สาม-สิบ-หก วง-เล็บ-ปิด

7. การอ่านบ้านเลขที่
บ้านเลขที่ที่มีเครื่องหมาย (/) และบ้านเลขที่ที่ไม่มีเครื่องหมาย (/) มีหลักการอ่านเหมือนกัน คือ บ้านเลขที่ซึ่งมีตัวเลข 2 หลัก ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม ถ้ามีตัวเลข 3 หลักขึ้นไป ให้อ่านแบบเรียงตัวหรือแบบจำนวนเต็มก็ได้ ส่วนตัวเลขหลังเครื่องหมาย (/) ให้อ่านเรียงตัว เช่น

บ้านเลขที่ 10
อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ สิบ
บ้านเลขที่ 414

อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ สี่-หฺนึ่ง-สี่
หรือ บ้าน-เลก-ที่ สี่-ร้อย-สิบ-สี่
บ้านเลขที่ 56/342
อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ ห้า-สิบ-หก ทับ สาม-สี่-สอง
บ้านเลขที่ 657/21
อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ หก-ห้า-เจ็ด ทับ สอง-หฺนึ่ง
หรือ บ้าน-เลก-ที่ หก-ร้อย-ห้า-สิบ-เจ็ด ทับ สอง-หฺนึ่ง
กลุ่มตัวเลขที่มีเลข 0 นำหน้า อ่านเรียงตัวเสมอ เช่น
บ้านเลขที่ 0864/1108
อ่านว่า บ้าน-เลก-ที่ สูน-แปด-หก-สี่ ทับ หฺนึ่ง-หฺนึ่ง-สูน-แปด

8. การอ่านรหัสไปรษณีย์
รหัสไปรษณีย์เป็นกลุ่มตัวเลขที่กำหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้ทราบถึงปลายทางของสิ่งที่ส่งทางไปรษณีย์ และใช้แทนรายละเอียดพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้การคัดแยกและส่งต่อสิ่งของทางไปรษณีย์ไปยังปลายทางเปฌนไปด้วยความถูกต้องและรวดเร็วรหัสไปรษณีย์ประกอบด้วยตัวเลข 5 ตัว ตัวเลข 2 ตัวแรกหมายถึงจังหวัด ส่วนตัวเลข 3 ตัวหลัง หมายถึงที่ทำการไปรษณีย์ของจังหวดนั้น ๆ เช่น ไปรษณีย์ 32190 ตัวเลข 32 หมายถึง จังหวัดสุรินทร์ ส่วนเลข 190 หมายถึงที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งรับผิดชอบการนำจ่ายสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
การอ่านเลขรหัสไปรษณีย์ให้อ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ดังนี้

รหัสไปรษณีย์ 32190
อ่านว่า ระ-หัด-ไปฺร-สะ-นี สาม-สอง-หฺนึ่ง-เก้า-สูน

9. การอ่านเลขแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์
9.1 แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ.2522 ให้อ่านหมายเลขประจำหมวดกับจัวอักษรบอกหมวดก่อน แล้วจึงอ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ตามชื่อจังหวัดที่จดทะเบียน ส่วนแผ่นป้ายทะเบียนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 25 พ.ศ. 2539 ซึ่งออกจามความในพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. 2522 ให้อ่านตัวอักษรบอกหมวดก่อนแล้วอ่านตัวเลขแบบเรียงตัวตามด้วยชื่อจังหวัดที่จดทะเบียน ดังนี้
เลขทะเบียน 5ช-2537
กรุงเทพมหานคร

อ่านว่า เลก-ทะ-เบียน ห้า-ชอ-ช้าง สอง-สี่-สาม-เจ็ด กฺรุง-เทบ-มะ-หา-นะ-คอน
เลขทะเบียน ภบ 4107
กรุงเทพมหานคร
อ่านว่า เลก-ทะ-เบียน พอ-สำ-เพา-บอ-ใบ-ไม้ สี่-หฺนึ่ง-สูน-เจ็ด กฺรุง-เทบ-มะ-หา-นะ-คอน
9.2 แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 นั้น ให้อ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ตามด้วยชื่อและรหัสจังหวัดที่จดทะเบียน ดังนี้
เลขทะเบียน 80-2437
กรุงเทพมหานคร 01
อ่านว่า เลก-ทะ-เบียน แปด-สูน สอง-สี่-สาม-เจ็ด กฺรุง-เทบ-มะ-หา-นะ-คอน สูน-หฺนึ่ง

10. การอ่านหมายเลขโทรศัพท์
การอ่านหมายเลขโทรศัพท์ แต่เดิมกำหนดให้อ่านเลข "สอง" ว่า "โท" เพื่อให้อ่านเลข "2" กับเลข "3" แตกต่างกัน เนื่องจากหมายเลขโทรศัพท์ประกอบด้วยตัวเลขหลายตัว บางครั้งอาจมีเลข 2 และ 3 อยู่เรียงกันหลายตัว เสียงอ่านเลข "2" กับเลข "3" มีเสียงใกล้เคียงกัน แต่ปัจจุบันระบบโทรศัพท์พัฒนาเจริญก้าวหน้ามาก เสียงอ่านเลข "2" ไม่สับสนเป็น "3" จึงให้อ่านเลขหมายโทรศัพท์ "2" ว่า "สอง" หรือจะอ่านว่า "โท" ก็ได้
10.1 หมายเลขโทรศัพท์ในประเทศ
ในปัจจุบันได้มีการกำหนดรูปแบบหมายเลขโทรศัพท์ในประเทศทั้งโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยรวมหมายเลขรหัสทางไกลหรือรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอยู่เดิมเข้ากับหมายเลขโทรศัพท์ การเขียนและการอ่านหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งเดิมเขียนและอ่านหมายเลขรหัสทางไกลหรือรหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนแล้วจึงเขียนและอ่านหมายเลขโทรศัพท์ ได้ปรับเปลี่ยนใหม่ เป็นดังนี้

ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งเดิมมีรหัสทางไกล 02 เขียนดังนี้
หมายเลขโทรศัพท์ 0 2531 3234

อ่านว่า หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สูน สอง-ห้า-สาม-หฺนึ่ง สาม-สอง-สาม-สี่
หรือ หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สูน โท-ห้า-สาม-หฺนึ่ง สาม-โท-สาม-สี่

หมายเลขโทรศัพท์ 0 2643 5151-22
อ่านว่า หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สูน สอง-หก-สี่-สาม ห้า-หฺนึ่ง-ห้า-หฺนึ่ง ถึง สอง-สอง
ในต่างจังหวัด เช่น จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีรหัสทางไกล (032) เขียนดังนี้
หมายเลขโทรศัพท์ 0 3221 1234
อ่านว่า หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สูน สาม-สอง-สอง-หฺนึ่ง หฺนึ่ง-สอง-สาม-สี่
หรือ หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สูน สาม-โท-โท-หฺนึ่ง หฺนึ่ง-โท-สาม-สี่
หมายเลขโทรศัพท์ 08 1553 0743
อ่านว่า หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สูน-แปด หฺนึ่ง-ห้า-ห้า-สาม สูน-เจ็ด-สี่-สาม
10.2 หมายเลขโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
หมายเลขโทรศัพท์ระหว่างประเทศจะประกอบด้วยเครื่องหมาย "+" ซึ่งเป็นเครื่องหมายรหัสทางไกลต่างประเทศ (International Perfix) เพื่อให้ทราบว่าในการเรียกทางไกลต่างประเทศต้องหมุนหรือกดรหัสทางไกลต่างประเทศก่อน ตามด้วยตัวเลขที่เป็นรหัสประเทศ รหัสเมือง และหมายเลขโทรศัพท์ตามลำดับ แบ่งเป็น 2 ประเภท
10.2.1 การเรียกออกต่างประเทศ
รหัสเรียกออกทางไกลต่างประเทศสำหรับประเทศไทย คือ 001 และ 007 ซึ่งเป็นรหัสเรียกออกทางไกลต่างประเทศ เฉพาะประเทศมาเลเซีย พม่า ลาว และกัมพูชา เช่น

001 + 33 88 371-691
อ่านว่า ระ-หัด-เรียก-ทาง-ไกฺล-ต่าง-ปฺระ-เทด สูน-สูน-หฺนึ่ง ระ-หัด-ปฺระ-เทด สาม-สาม ระ-หัด-เมือง แปด-แปด หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สาม-เจ็ด-หฺนึ่ง หก-เก้า-หฺนึ่ง
007 + 95-1 221881
อ่านว่า ระ-หัด-เรียก-ทาง-ไกฺล-ต่าง-ปฺระ-เทด สูน-สูน-เจ็ด เก้า-ห้า หฺนึ่ง สอง-สอง-หฺนึ่ง-แปด-แปด-หฺนึ่ง
หรือ ระ-หัด-
เรียก-ทาง-ไกฺล-ต่าง-ปฺระ-เทด สูน-สูน-เจ็ด เก้า-ห้า หฺนึ่ง โท-โท-หฺนึ่ง-แปด-แปด-หฺนึ่ง
10.2.2
การเรียกเข้าจากต่างประเทศ รหัสเรียกเข้าทางไกลสำหรับประเทศไทยจากประเทศสหรัฐอเมริกา คือ 011 เช่น
011 + 66 2 282-2269
อ่านว่า ระ-หัด-เรียก-ทาง-ไกฺล-ต่าง-ปฺระ-เทด สูน-หฺนึ่ง-หฺนึ่ง ระ-หัด-ปฺระ-เทด หก-หก ระ-หัด-เมือง สอง
หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ สอง-แปด-สอง สอง-สอง-หก-เก้า
หรือ ระ-หัด-เรียก-ทาง-ไกฺล-ต่าง-ปฺระ-เทด
สูน-หฺนึ่ง-หฺนึ่ง ระ-หัด-ปฺระ-เทด หก-หก ระ-หัด-เมือง โท
หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ
โท-แปด-โท โท-โท-หก-เก้า
โทรศัพท์ระบบบริการข้อมูลด้วยเสียงทางโทรศัพท์ (audiotex) ซึ่งมีเลขจำนวน 10 ตัวประกอบด้วยตัวเลขกลุ่มแรก 4 ตัว เป็นรหัสบอกระบบ
กลุ่มที่สองจำนวน 3 ตัว เป็นรหัสประเภทการบริการ การเขียนหมายเลขโทรศัพท์ระบบนี้ ให้เขียนแยกเป็น 3 กลุ่ม การอ่านให้อ่านแบบเรียงตัว เช่น
1900 111 000
อ่านว่า หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ หฺนึ่ง-เก้า-สูน-สูน หฺนึ่ง-หฺนึ่ง-หฺนึ่ง สูน-สูน-สูน
โทรศัพท์ระบบบริการข้อมูลด้วยเสียงทางโทรศัพท์โดยใช้พนักงานรับสาย (BUG) จะมีเลขจำนวน 4 ตัว ซึ่งเจ้าของกิจการเป็นผู้กำหนดขึ้นเองเพื่อให้จดจำง่าย ให้เขียนหมายเลขทั้ง 4 ตัว เป็นกลุ่มเดียวกัน และอ่านตัวเลขแบบเรียงตัว ดังนี้
1213
อ่านว่า หฺมาย-เลก-โท-ระ-สับ หฺนึ่ง-สอง-หฺนึ่ง-สาม

11. การอ่านหมายเลขทางหลวง
แต่เดิมทางหลวงสายสำคัญ ๆ ปรกติใช้ชื่อสกุลของบุคคลที่มีความสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับทางสายนั้น ๆ เช่น เป็นผู้บุกเบิก ผู้ก่อสร้าง มาตั้งเป็นชื่อถนน แต่เมื่อมีการสร้างทางมากขึ้น การใช้ชื่อสกุลมีความยุ่งยากและสับสน ทั้งไม่สามารถทราบได้ว่าทางสายนั้นอยู่ทางบริเวณภาคใดของประเทศ จึงได้มีการนำระบบหมายเลขมาใช้กำกับทางหลวงต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในการดูแลของกรมทางหลวง ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงสัมปทาน และทางหลวงพิเศษ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
11.1 ทางหลวงที่มีเลขหนึ่งตัว หมายถึง ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงพิเศษที่เป็นถนนสายหลัก เชื่อมการคมนาคมระหว่างภาคต่อภาค ได้แก่
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 หรือ ถนนพหลโยธิน เป็นถนนสายหลักที่ไปสู่ภาคเหนือ ตั้งต้นจากกรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่จังหวัดเชียงราย
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 หรือ ถนนมิตรภาพ เป็นถนนสายหลักที่ไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งต้นที่จังหวัดสระบุรี และไปสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 หรือ ถนนสุขุมวิท เป็นถนนสายหลักที่ไปสู่จังหวัดทางภาคกลางรวมถึงชายทะเลภาคตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งต้นจากกรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่จังหวัดตราด
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 หรือ ถนนเพชรเกษม เป็นถนนสายหลักไปสู่ภาคใต้ ตั้งต้นจากกรุงเทพฯ ไปสิ้นสุดที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 เป็นถนนเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดเชียงราย
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 เป็นถนนเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดหนองคาย
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เป็นถนนเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดจันทบุรี
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 8 เป็นถนนเชื่อมต่อวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ถึงสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพ
11.2 ทางหลวงที่มีเลขสองตัว คือ ทางหลวงแผ่นดิน หรือทางหลวงพิเศษที่เป็นสายประธานตามภาคต่าง ๆ เช่น
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายประธานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายอุดรธานี-นครพนม
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 51 หมายถึง ทางหลวงซึ่งเชื่อมต่อจากถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี

11.3 ทางหลวงที่มีเลขสามตัว คือ ทางหลวงแผ่นดินสายรอง เช่น
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายรองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายชัยภูมิ-เขมราฐ
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 หมายถึง ทางหลวงแผ่นดินสายรองในภาคกลางสายบางปะกง-ฉะเชิงเทรา
11.4 ทางหลวงที่มีเลขสี่ตัว คือ ทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างจังหวัดกับอำเภอ หรือสถานที่สำคัญของจังหวัดนั้น เช่น
- ทางหลวงหมายเลข 4006 หมายถึง ทางหลวงในภาคใต้สายแยกทางหลวงหมายเลข 4 (ราชกรูด-หลังสวน)
ในการอ่านหมายเลขทางหลวงให้อ่านเรียงตัว ดังนี้
หมายเลขทางหลวง 21

อ่านว่า หฺมาย-เลก-ทาง-หฺลวง สอง-หฺนึ่ง
หมายเลขทางหลวง 314
อ่านว่า หฺมาย-เลก-ทาง-หฺลวง สาม-หนึ่ง-สี่