การอ่านเครื่องหมายต่าง ๆ

1. การอ่านคำหรือข้อความที่มีเครื่องหมายวงเล็บกำกับอยู่
เมื่อมีเครื่องหมายวงเล็บ ให้อ่านว่า
วงเล็บเปิด และเมื่อถึงเครื่องหมายวงเล็บปิดให้อ่านว่า วงเล็บปิด เช่น
ปวาฬ (แก้วประพาฬ คือหินแก้วชนิดหนึ่งเกิดจากหินปะการัง)
อ่านว่า ปะ-วาน วง-เล็บ-เปิด แก้ว-ประ-พาน....หิน-ปะ-กา-รัง วง-เล็บ-ปิด

2. การอ่ารเครื่องหมายอัญประกาศ
เมื่อมีเครื่องหมายอัญประกาศ ให้อ่านว่า
อัญประกาศเปิด และเมื่อถึงเครื่องหมายอัญประกาษปิด ให้อ่านว่า อัญประกาศปิด
ถ้าข้อความในเครื่องหมายอัญประกาศมีความยาวหลายย่อหน้า และใส่เครื่องหมายอัญประกาศเปิดทุกย่อหน้า ให้อ่าน อัญประกาศเปิด เฉพาะเมื่อเริ่มข้อความเท่านั้น และอ่าน อัญประกาศปิด เมื่อจบข้อความ เช่น
ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่า
"...ดูกรภิกบุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นปลายไม่ได้ เมื่อดล่าสัตว์ผู้มีวิชชาเป็นกางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่อนไม้ที่บุคคลโยนขึ้นไปบนอากาศบางคราวก็ตกลงทางโคน บางคราวก็ตกลงทางขวาง บางคราวก็ตกลงทางปลาย แม้ฉันใด สัตวืทั้งหลายผู้มีวิชชาเป็นที่กากั้น มีตัรหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้นแล บางคราวก็จากโลกนี้ไปสู่ปรโลก บางคราวก็จากปรโลกมาสู่โลกนี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้"
อ่านว่า คฺรั้ง-หฺนึ่ง-พฺระ-พุด-ทะ-อง-ตฺรัด-ว่า-อัน-ยะ-ปฺระ-กาด-เปิด ดู-กอน-พิก-สุ...
เบื้อง-ปฺลาย-ไม่-ได้ อัน-ยะ-ปฺระ-กาด-ปิด

3. การอ่านเครื่องหมายไม้ยมก หรือยมก
เครื่องหมายไม้ยมก หรือยมก ที่เขียนหลังคำ วลี หรือประโยค ให้อ่านซ้ำคำ วลี หรือประโยคอีกครั้งหนึ่ง เช่น
เด็กเล็ก ๆ
อ่านว่า เด็ก-เล็ก-เล็ก
แต่ละวัน ๆ
อ่านว่า แต่-ละ-วัน-แต่-ละ-วัน
ในวันหนึ่ง ๆ
อ่านว่า ใน-วัน-หฺนึ่ง-วัน-หฺนึ่ง
คำที่เป็นคำซ้ำ ต้องใช้ไม้ยมกหรือยมกเสมอให้อ่านซ้ำคำอีกครั้งหนึ่ง เช่น
สีดำ ๆ
อ่านว่า สี-ดำ-ดำ
เด็กตัวเล็ก ๆ
อ่านว่า เด็ก-ตัว-เล็ก-เล็ก

4. การอ่านเครื่องหมายไปยาลน้อย หรือเปยยาลน้อย
เครื่องหมายไปยาลน้อย หรือเปยยาลน้อย ใช้ละคำที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว โดยละส่วนท้ายไว้เหลือแต่ส่วนหน้าของคำพอเป็นที่เข้าใจ เวลาอ่านต้องอ่านเต็มคำ เช่น
กรุงเทพฯ
อ่านว่า กฺรุง-เทบ-มะ-หา-นะ-คอน
ทูลเกล้าฯ
อ่านว่า ทูน-เกฺล้า-ทูน-กฺระ-หฺม่อม
โปรดเกล้าฯ
อ่านว่า โปฺรด-เกฺล้า-โปฺรด-กฺระ-หฺม่อม
ล้นเกล้าฯ
อ่านว่า ล้น-เกฺล้า-ล้น-กฺระ-หฺม่อม

5. การอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่ หรือเปยยาลใหญ่
5.1 เครื่องหมายไปยาลใหญ่ หรือเปยยาลใหญ่ ที่อยู่ข้่งท้ายของข้อความ ให้อ่านว่า
ละ หรือ และอื่น ๆ เช่น
สิ่งของที่ซื้อขายกันในตลาดมีเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำตาล น้ำปลา ฯลฯ
อ่านว่า ส่ง-ของ-ที่-ซื้อ-ขาย-กัน ..... น้ำ-ปฺลา ละ หรือ สิ่ง-ของ-ที่-ซื้อ-ขาย-กัน .... น้ำ-ปฺลา และ-อื่น-อื่น
5.2 เครื่องหมายไปยาลใหญ่ หรือเปยยาลใหญ่ที่อยู่ตรงกลางข้อความ อ่านว่า
ละถึง เช่น
พยัญชนะไทย 44 ตัว มี ก ฯลฯ ฮ
อ่านว่า พะ-ยัน-ชะ-นะ-ไท-สี่-สิบ-สี่-ตัว มี กอ ละถึง ฮอ

6. การอ่านเครื่องหมายไข่ปลา หรือจุดไข่ปลา
เมื่อมีเครื่องหมายไข่ปลา หรือจุกไข่ปลา ควรหยุดเล็กน้อยก่อน และจึงอ่านว่า ละ ละ ละ แล้วหยุดเล็กน้อยก่อนอ่านข้อความต่อไป เช่น
ที่เกิดมีภาษาไทย...ก็เพราะแต่ละภาษาสือต่อภาษาของตนไว้
อ่านว่า ที่-เกิด-มี-พา-สา-ไท ละ ละ ละ ก็-เพฺราะ-แต่-ละ-พา-สา-สือ-ต่อ-พา-สา-ของ-ตน-ไว้