๑. ชื่อข้อมูล ประเพณีสรงน้ำพระธาตุสามดวง

๒. ลักษณะ c วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

c ศิลปะการแสดง

þ แนวปฏิบัติทางสังคมพิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล

c อาหาร/ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล

c งานช่างฝีมือดั้งเดิม

c การละเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว

๓. รายละเอียดข้อมูล

๓.๑) ประวัติความเป็นมาข้อมูล

ที่ตั้ง

พระธาตุสามดวง เป็นศาสนสถานหรือแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของอำเภอพาน ตั้งอยู่ระหว่างบ้านป่าหุ่ง หมู่ที่ ๑ และบ้านศาลาเหมืองหิน หมู่ที่ ๑๑ ตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอพานไปทางทิศตะวันตก ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร ในบริเวณวัดพระธาตุสามดวง มีที่ประดิษฐานรูปปั้นของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรมรังสี ซึ่งบริเวณที่ประดิษฐานนั้นเป็นจุดชมวิว ที่สามารถชมทิวทัศน์อันสวยงามของอำเภอพานได้อย่างกว้างขวาง

ตำนานพระธาตุสามดวง

จากการบอกเล่าผู้เฒ่าผู้แก่ที่ขึ้นมาอยู่บริเวณดอยนั้น เล่าว่าทั้งม่อนนี้มีเจ้าของหรือผู้สร้างที่เป็นสมณะผู้ทรงศีล ๓ พี่น้องม่อนใหญ่ พระธาตุดวงที่ ๑ ตั้งอยู่ในเขตบ้านป่าหุ่ง ผู้สร้างเป็นพระพี่อ้ายคือพี่ชายคนโต ม่อนกลางที่สูงขึ้นไป เป็นของพระผู้ยี่คือพี่ชายคนรอง และม่อนที่สูงที่สุดถือว่าเป็นยอดดอยที่สูงกว่าทุกยอด เรียกกันว่า จอมยอด เป็นของพระผู้ซร้อยคือน้องคนสุดท้อง ยอดดอยม่อนที่ ๒ และที่ ๓ อยู่ในพื้นที่บ้านศาลาเหมืองหิน

พระธาตุสามดวงนี้เป็นเจดีย์โบราณจอมเกษเกล้าของชาวตำบลป่าหุ่งและสาธุชนทั่วไปทั้งสามดวง เชื่อว่ามีอายุไม่น้อยกว่าพระธาตุจอมแว่เมืองกาน มีการบูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔-๒๔๗๖ (จ.ศ.๑๒๙๕) โดยคณะศิษยานุศิษย์ ครูบาศรีธรรมหรือครูบากัญชนะ กับครูบาไชยา ในคณะศรัทธาตำบลป่าหุ่งและที่อื่น มาช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์เพื่อเป็นที่พักนักปฏิบัติธรรมของสงฆ์และฆราวาสทั่วไป

ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า พระธาตุสามดวงนี้ สร้างด้วยสิ่งประกอบสะรีร่างอัฐิของพระอรหันตาผู้บริสุทธิ์ศีล กล่าวคือ

อติเต กาเล ในอดีตกาล ยังมีพระภิกษุผู้ทรงศีล ๓ พี่น้องมาบำเพ็ญเพียรรักษาศีลภาวนาอาศัยร่มเงาไม้ใหญ่ และความสงบบนจอมดอยทั้งสามม่อน และอาศัยบิณฑบาตโปรดสัตว์ในบริเวณรอบๆ ละแวกหมู่บ้านเชิงดอยทั้งสามม่อน

คืนหนึ่งมีเทวดาชื่อ สุชาตา ได้มาทดสอบความเข้มแข็งมั่นคงของจิตสมาธิของภิกษุพี่น้อง ว่าใครจะบริสุทธิ์หรือมีความเมตตา กรุณา ขันติกว่ากัน เทวดาได้สำแดงร่างโดยแปลงเพศเป็นหญิงงามแปลงร่างเดินหลงทางมาขอพักอาศัยนอนค้างคืนด้วย นางแปลงได้ไปขอค้างคืนนอนพักกับภิกษุผู้พี่ที่ม่อนแรกก่อน ก็ได้รับคำชี้แจงว่า “ค่ำแล้วมืดแล้ว ชีแก้วบ่ควรนอน ปังปอนกับงูเห่า ข้าเก่ากับเมีย เปี๋ยกับฝ้าย ชายกับหญิง พิงตวยกั๋นบ่ดี..ว่าอั้น” เทวดาแปลงผิดหวังก็อำลาจากไป

เมื่อจากผู้อ้ายไปแล้ว เทวดาแปลงก็ไปยังพระผู้ยี่ น้องคนที่สองบนม่อนกลาง ภิกษุผู้ยี่ก็ได้ตอบปฏิเสธว่า.. “อึ่งกับเม่า ชิ้นเน่าหนองใส ญิงกับชาย อยู่กันบ่ได้ ขออภัยเต๊อะน้อง ลองไปหาที่ในห้องท้องน้องแห่งข้าบนดอย”

นางแปลงต้องถดถอยลงจากดอยด้วยมารยาทแห่งกุลสตรีล้านนา จากนั้น นางแปลงก็มุ่งหน้าไปสู่อาศรมของภิกษุน้องสุดท้องของผู้ซร้อยหล้า กราบแล้วก็เอ่ยวาจาอันไพเราะว่า “ขอคารวะ พระผู้ทรงศีลม่อน ขอสุบินหลับนอนที่นี่”

เนื่องจากดึกมากแล้ว ภิกษุผู้บริสุทธิ์ศีลคิดว่า การที่จะให้สตรีผู้นี้ไปเสียจากที่นี่ก็จะเป็นการลำบากแก่นาง เพราะอากาศภายนอกก็หนาวเหน็บ แต่ถ้าให้นอนเสียที่นี่ก็ผิดวิสัยสงฆ์ ผิดศีลข้อที่ว่าไม่บังควรอยู่กับอิสตรีตามลำพังสองต่อสองในที่รโหฐาน พระผู้น้องใช้ความคิดอยู่นาน เมื่อคิดได้จึงบอกให้นางปฏิญาณตนก่อนว่า “ถ้านอนจะเอาไม้กั้นไว้เป็นเขต มิให้ผู้ใดล่วงล้ำข้ามไม้นี้ ทุกคนเว้นไว้ซึ่งกาเม”

นางแปลงตอบตกลง พระท่านก็เอาไม้มาพาดขวางกั้นกลางไว้ เพื่อแบ่งเขตกึ่งกลางของสถานที่ แล้วต่างฝ่ายต่างเข้านอน ถึงอย่างไรตามพระภิกษุก็ไม่ไว้วางใจในสตรีนัก คงพะเว้าพะวงกับคำว่า สตรีเป็นศัตรูของพรหมจรรย์ จึงนอนไม่หลับแม้จะข่มใจทำสมาธิก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งรุ่งเช้าก่อนฟ้าสางนางแปลงรู้ดีว่าพระภิกษุไม่ได้หลับตลอดทั้งคืนเพราะระมัดระวังตัวมาก นางจึงขออำลาพระผู้ซร้อยแล้วอันตรธานหายวับไปทันที ตุ๊น้องไมได้หลับทั้งคืนเมื่อนางแปลงจากไปก็โล่งใจล้มตัวลงนอนพักเอาแรงชั่วครู่ก็งีบหลับไปไม่รู้ตัว

รุ่งเช้าได้เวลาออกบิณฑบาต พระภิกษุผู้อ้ายกับผู้ยี่รอน้องชายอยู่ ไม่เห็นออกมาสักที พระผู้อ้ายเล่าให้น้องยี่ว่าเมื่อคืนมีสตรีเพศคนหนึ่งมาขอพักนอนที่กุฏิแต่พี่ไม่ให้พักด้วย นางได้จากไป น้องผู้ยี่ก็เล่าให้พี่ชายฟัง ต่างวิตกวิจารณ์ว่าพระผู้ซร้อยหล้าอาจหลงกลแก่อิสตรีคนเมื่อคืนเป็นแน่แท้จนเวลาล่วงเกินเวลาที่กำหนดเป็นกิจวัตรแล้ว

ทั้งสองพี่น้องปรารภด้วยความเป็นห่วงน้องสุดท้อง แล้วชวนกันออกบิณฑบาตกันสองรูป ทำความแปลกใจกับศรัทธาชาวบ้านยิ่งนัก ไปถึงไหนก็มีคนถามถึงพระผู้น้องซร้อยหล้า เนื่องจากเคยมาพร้อมกันทุกวัน ภิกษุผู้พี่ทั้งสองเล่าความให้ฟังว่า เมื่อคืนนี้มีผู้หญิงขึ้นไปหาบนม่อนไปขออาศัยพักนอนด้วย แต่ทั้งสองผู้พี่ไม่ยอมให้พักนอนด้วยเพราะผิดศีลพระ

ประวัติการบูรณะก่อสร้างพระธาตุสามดวง

(ปริวรรตภาษาล้านนาในแผ่นจารึกเป็นภาษาไทยโดยนายจันทร์แก้ว อุปเสน อดีตกำนันตำบลป่าหุ่ง)

พระธาตุดวงนี้ไหว้ป๋าเวณีเดือน ๙ เป็ง(เก้าเพ็ญ) พระธาตุป่าซางเรืองแลฯ มหามังคะละศรีสวัสดี นะมะจะตู จุลศักราชได้ ๑๒๙๕ ตัว ปีระกาสนำ สะโป ถะขะมะ ทิไฉนเข้ามาในกิมหันตะรฤษ์กด ตุมากะระบัณฑะวิสาขา จะตุกุรุวาถะไหล ภาษาไทยว่าปีก่าเล้า เดือน ๘ ขึ้น ๙ ค่ำ วัน ๕(วันผัด) อติตะวะระพุทธศาสนาอันล่วงข้ามไปแล้วได้ ๒๔๗๕ พรรษา ป๋าย ๑๑ เดือน ป๋าย ๒๕ วัน ป๋าย ๒๒ ยามบ่เศษ เหตุนั้นหมายมีสมณะศรัทธาและมูลศรัทธาข้าพเจ้าทั้งหลายได้ปากั๋นบูรณะยกยอก่อสร้างพระมหาธาตุเจ้าวัดป่าซางเรืองที่นี้ ในวันเดือน ๘ ขึ้น ๔ ค่ำ พร่ำว่าได้วันผัด(พฤหัสบดี) ภายในหมายมีพระครูบามหาเถรเจ้าศรีวิชัยชะนะ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นเก๊า ถัดนั้นหมายมีสาธุเจ้ากัญจนะ ผู้เป็นสล่าอยู่อำเภอเมือง จังหวัดลำปางเป็นช่างก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ และหมายมีภิกขุใจยาเป็นทุวิกะหะ ภิกขุจันต๊ะ ภิกขุใจยะวุฒิ เณรขัติยะ เณรเส็น เณรกันทา เณรกันทะวัง ขะโยม(เด็กวัด)นายฟอง นายคำอ้าย นายนวน ศรัทธามี หน้อยตั๋น นายติ๊บ คำน้อย นางแก้ว แม่เกี๋ยง พ่อแก้ว แม่คำ พ่อมา นางดี กุณา นางมา กันทิมา นางปา หม้าย นางบุ นายนพ พ่ออาวฟอง พ่อนวน พ่ออ้าย หน้อยเป็ง หน้อยแก้ว นางเกี๋ยง นางไหว เจ้าแม่คำแดง บ้านท่าหล่ม พ่อหน้อยปัน พ่อทาแว่น พ่อหน้อยผัด พ่อสุข และศรัทธาที่ติดต๋ามช่างผู้สร้างพระธาตุเจ้ามาจากเมืองเชียงของมี ภิกขุกันทะวัง สามเณรปา พ่อสม พ่อหน้อยมา

วัดศรีบัวตอง(บัวทอง) หมู่ ๓ (บ้านป่าหุ่ง) ตำบลป่าหุ่ง มีครูบาปัญญาเจ้าคณะหมวดเป๋นเก๊า ภิกขุอุตตะมา ภิขุยารังสี ภิกขุอินทรจักร ภิกขุธรรมวงค์ เณรกันทะวัง เณรพรมเส็น เณรอาริยะ เณรสุรินทร์ เณรศรีวิจัย เณรหน่อแก้ว เณรอินทะนวล เณรอุตะมะ เณรกิตติ เณรธรรมวงค์ พร้อมคณะศรัทธาบ้านป่าหุ่ง

วัดทุ่งสัจจะ วัดป่าหัด หมู่ ๕(บ้านป่าหัด) ตำบลป่าหุ่ง มีภิกขุยาวุฒิ เป๋นเก๊า ภิกขุสุยะ ภิกขุอริยะ เณรดวงดี เณรจุมปู เณรอินทร์ เณรยารังสี เณรวันดี เณรคำ ภิระ เณรอินตา เณรพรมมา เณรอินทนะ เณรปัญญา เณรจันทิมา เณรนันตา เณรสิงห์ พร้อมคณะศรัทธาบ้านป่าหัด

วัดจัยจะนะ(วัดป่าบงหลวง) หมู่ ๘ (บ้านป่าบงหลวง) ตำบลป่าหุ่ง หมายมีภิกขุกันทะวังโส เป็นเก๊า ภิกขุกันทิยะ ภิกขุกาวิละ ภิกขุอินทจักร เณรปัน เณรสุนันต๊ะ เณรอภิวงค์ เณรสีล้วน เณรสิทธิ เณรพรมมิน เณรอริญา พร้อมศรัทธาบ้านป่าบงหลวง

วัดปิงเมือง (เหมืองหลวง) ตำบลป่าหุ่ง มีภิกขุธรรมขันธ์เป๋นเก๊า พร้อมด้วยศิษย์ยม ภิกขุธรรมจักร ภิกขุปัญญษ ภิกขุเงิน เณรอินหลอย เณรมา เณรอินถา เณรภูมินทร์ เณรจันทร์ เณรหวน เณรมูล เณรคำอ้าย เณรน้อย พ่อแก่หนานแสนพร้อมด้วยศรัทธาบ้านเหมืองหลวง

วัดพื้นเมืองป่าเปา ตำบลสันกลาง หมายมีภิกขุสุริยาเป๋นเก๊า พ่อหลวงหนานอิน แก่บ้านเป็นเก๊าพร้อมคณะศรัทธาป่าเปาและบ้านศาลาเหมืองหิน

วัดทุ่งมะฝาง ตำบลป่าหุ่ง หมายมีภิกขุคำเป็นเก๊าพร้อมด้วยคณะศรัทธาบ้านทุ่งมะฝาง

วัดป่าสิก(ห้วยประสิทธิ์) ตำบลป่าหุ่งหมายมีภิกขุสมเป๋นเก๊าพร้อมด้วยศรัทธาบ้านห้วยประสิทธ์

วัดดวงดี แม่คาวหลวง ตำบลสันกลางหมายมีครูบาอุตทิยะเป็นเก๊าพร้อมด้วยศรัทธาแม่คาวหลวง

วัดเชียงหมั้นสันผักฮี้ ตำบลสันกลาง หมายมีครูบาสุธรรมเป๋นเก๊าพร้อมด้วยศรัทธาบ้านสันผักฮี้

วัดหนองบัวเงิน ตำบลเมืองพาน หมายมีภิกขุเต๋จ๊ะเป๋นเก๊าพร้อมด้วยศรัทธาหนองบัวเงิน

วัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง หมายมีภิกขุแก้วเป็นเก๊าพร้อมด้วยศรัทธาบ้านหัวฝาย

วัดป่าแขม ตำบลป่าหุ่ง หมายมีภิกขุยาวิชัยเป๋นเก๊าพร้อมด้วยศรัทธาบ้านป่าแขม

วัดป่าแดด ตำบลป่าหุ่ง หมายมีภิกขุญาวิไจยเป็นเก๊า ภิกขุจันทิมา เณรคำปัน เณรอินทะนวน เณรอภิวงค์ เณรแอ เณรต๋อ พร้อมด้วยศรัทธาบ้านป่าแดด

รายชื่อพ่อแคว่น(กำนัน) แก่บ้าน(ผู้ใหญ่บ้าน) ในสมัยเมื่อบูรณะสร้างพระธาตุ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕

๑. พ่อแคว่นกันทา หมายถึง นายทา กำนันตำบลป่าหุ่ง

๒. แก่หนานแสน หมายถึง นายแสน ผู้ใหญ่บ้านเหมืองหลวง

๓. แก่หน้อยคำ หมายถึง นายคำ ผู้ใหญ่บ้านป่าแดด

๔. แก่หนานอ้าย หมายถึง นายอาจ หาญแก้ว ผู้ใหญ่บ้านป่าหัด

๕. แก่กุย หมายถึง นายกุย ผู้ใหญ่บ้านป่าแขม

๖. แก่หน้อยจันทร์ หมายถึง นายจันทร์ ผู้ใหญ่บ้านป่าเปา

๗. แก่หน้อยบูณ หมายถึง นายบูน ผู้ใหญ่บ้าน........

๘. แก่ก๋าใจ หมายถึง นายก๋าใจ ผู้ใหญ่บ้านแม่คาวหลวง

๙. แก่หนานปิง หมายถึง นายปิง ผู้ใหญ่บ้านป่าบง

๑๐. พ่อหนานสุรินทร์ หมายถึง .............บ้านศาลาเหมืองหิน

๑๑. แก่หนานใจ หมายถึง นายใจ ทาเสนา ผู้ใหญ่บ้านทุ่งฝาง

ในสมัยนั้นไม่นิยมใช้นามสกุลจึงไม่รู้ว่าผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้านนามสกุลอะไร จึงเขียนตามแผ่นศิลาจารึกไว้เท่านั้น ข้าพเจ้าได้คัดลอกมาจากแผ่นศิลาจารึกซึ่งเป็นตัวอักษรพื้นเมืองล้านนา(ตั๋วเมือง)มาแปลเป็นตัวอักษรไทย ที่คัดลอกออกมานี้เป็นศิลาจารึกของพระธาตุดวงกลาง ชื่อพระธาตุวัดป่าซางเรือง แม้นหากขาดตกบกพร่องก็ขออภัยเพราะแผ่นศิลาจารึกเป็นของเก่าลางเลือนไม่ค่อยเห็นได้ชัดเจน แต่เมื่ออ่านดูแผ่นศิลาจารึกของพระธาตุทั้ง ๓ ดวง แล้วเห็นว่ามีเนื้อหาสาระคล้ายกัน

พระธาตุ ๓ ดวง แต่ละดวงมีชื่อเรียกดังนี้ ดวงที่ ๑ ชื่อรุกขะมูล ดวงที่ ๒ ชื่อป่าซางเรือง ดวงที่ ๓ ชื่ออานาคา การบูรณะก่อสร้างเป็นปีเดียวกัน เดือนเดียวกัน วันเดียวกัน กล่าวคือบูรณะก่อสร้างพร้อมกันทั้ง ๓ ดวง จึงได้ชื่อว่าพระธาตุสามดวง หรือธาตุสามพี่น้อง เป็นที่บรรจุอัฐิธาตุของพระอรหันต์ ๓ พี่น้องตามตำนาน เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของตำบลป่าหุ่งและอำเภอพาน มีประเพณีสรงน้ำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ(เก้าเป็ง)เป็นประจำทุกปี

๓.๒) ขั้นตอน/วิธีการ/ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูล

ธรรมเนียมปฏิบัติในเทศกาลสรงน้ำพระธาตุสามดวง(เก้าเป็ง) ย้อนไปอย่างน้อย ๓๐ ปีก่อน พระธาตุสามดวงเป็นพื้นที่สาธารณะไม่ได้ขึ้นทะเบียนนิติบุคคลเป็นวัดดังปัจจุบัน การทำนุบำรุงรักษาได้แบ่งกันดังนี้

พระธาตุดวงหนึ่ง(ชื่อรุกขมูล) เป็นความรับผิดชอบของบ้านป่าหุ่งและคณะสงฆ์ตำบลป่าหุ่ง เขต 1

พระธาตุดวงสอง(ชื่อป่าซางเรือง) เป็นความรับผิดชอบของบ้านศาลาเหมืองหินและคณะสงฆ์ตำบลป่าหุ่ง เขต ๒

พระธาตุดวงสาม(ชื่อทุตังคะวัต)เป็นความรับผิดชอบของบ้านป่าเปาและคณะสงฆ์ตำบลสันกลาง เขต ๑

ในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ คณะพระสงฆ์ สามเณรและคณะศรัทธาจะนัดกันมาช่วยกันพัฒนาแพ้วถางต้นไม้ใบหญ้าตามเขตที่รับผิดชอบให้หมดจดเหมาะแก่การจัดงานประเพณี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ (เก้าเป็ง) พระภิกษุสงฆ์ สามเณรแต่ละวัดจะนำคณะศรัทธามาทำบุญตักบาตร ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์แล้วสรงน้ำพระธาตุในแต่ละดวง เมื่อเสร็จพิธีทางศาสนาประชาชนจะพากันเดินไปสรงน้ำพระธาตุแต่ละองค์บนเนินเขาแต่ละแห่งไปพร้อมกับการทำบั้งไฟเล็กจุดบูชาไปด้วย โดยพระธาตุดวงที่หนึ่งกับดวงสองจะมีการจัดมหรสพ เช่นการแสดงซอพื้นเมือง รำวง การชกมวยไทยเป็นต้น ให้ชาวบ้านที่มาร่วมงานมีความบันเทิงกันตลอดทั้งวัน ในตอนกลางคืนก็จะมีการแข่งขันบอกไฟดอก แล้วในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ จะมีการแข่งขันจุดบั้งไฟบูชาพระธาตุตลอดทั้งวันอย่างสนุกสนามมีผู้ร่วมงานจากทั่วสาระทิศในเขตล้านนา ซึ่งปัจจุบันวิถีทางวัฒนธรรมประเพณีได้หายไปหลายกิจกรรมตามยุคสมัย

๔. ชื่อผู้ถือปฏิบัติและสืบทอด

๔.๑ ผู้ที่ถือปฏิบัติ

ชื่อ.............สภาวัฒนธรรมตำบลป่าหุ่ง………

วัน เดือน ปีเกิด ...............................

ที่อยู่.......... หมู่ ๑ ตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

หมายเลขโทรศัพท์...๐๕๓ ๖๗๖๔๖๘......................

๔.๒ ผู้สืบทอด

ชื่อ.............องค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง……………………..

วัน เดือน ปีเกิด .................................................

ที่อยู่............ หมู่ ๑ ตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

หมายเลขโทรศัพท์...๐๕๓ ๖๗๖๔๖๘.......................

๕. สถานการณ์คงอยู่ c ปฏิบัติอย่างแพร่หลาย þ เสี่ยงต่อการสูญหาย c ไม่มีปฏิบัติแล้ว


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สภาวัฒนธรรมตำบลป่าหุ่งอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย