คำแนะนำ จากทนายความ

เรามีคำแนะนำดีๆ เมื่อท่านอ่านจะได้ประโยชน์ ต่อตัวท่านเอง

ทนายขอแนะนำเรื่องที่ท่านควรรู้ และควรอ่านดังนี้คือ 


สำหรับคดีอาญา

I.เป็นโจทก์คดีอาญา

ในการเป็นผู้เสียหายหรือเป็นโจทก์คดีอาญา ท่านจะต้องรู้คือ

1. เกิดเรื่องเมื่อไหร่/ รู้เรื่องเมื่อไหร่ 

2. ถ้ามีความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์ ความเสียหายมูลค่ากี่บาท

3. คู่กรณีเป็นใครชื่ออะไร หรือถ้าไม่ทราบพอจะทราบรูปพรรณสัณฐานไหม 

4. พยานหลักฐานมีอะไรบ้าง เช่น พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคล 

5. ท่านได้แจ้งความไว้หรือยัง ดูอายุความด้วยแจ้งความภายในเท่าไหร่ 

6. ถ้าไม่แจ้งความก็ต้องฟ้องตรงต่อศาล ก็ต้องภายใต้อายุความเช่นเดียวกัน


II.เป็นจำเลยคดีอาญา

1. โจทก์ฟ้องตรงต่อศาลหรือแจ้งความดำเนินคดีที่สถานีตำรวจ แล้วจากนั้นอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี

2. ข้อหาอะไร => เราทราบข้อหาตอนเมื่อเราไปรับทราบข้อกล่าวหา หรือเมื่อได้รับสำเนาคำฟ้อง

3. ต้องมีประกันตัวประกันตัวเท่าไหร่ ตรวจสอบกันด้วย 

4. ตามฟ้อง มีข้อเท็จจริงอะไรที่เป็นความจริง และข้อเท็จจริงอะไรที่ไม่ใช่ความจริง ท่านมีข้อโต้แย้งหรือไม่ อย่างไร

5. ถ้าเป็นการแจ้งความและมีหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหา ท่านไปตามนัดทุกครั้งไหม ท่านไม่มีหมายจับใช่ไหม 

6. สำหรับในชั้นศาลเมื่อท่านตกเป็นจำเลยแล้ว หลังจากที่ศาลประทับฟ้องแล้ว ท่านไปตามนัดที่ศาลนัดทุกครั้งหรือเปล่า ถ้าไม่ไปท่านจะถูกออกหมายจับ

6. กรณีถ้าท่านมีหมายจับ การแก้ปัญหาจะยุ่งยากกว่าเดิมเยอะ เพราะต้องมีการประกันตัว และต้องใช้ทุนทรัพย์

สำหรับคดีแพ่ง 

III.เป็นโจทก์คดีแพ่ง

ในการเป็นผู้เสียหายหรือเป็นโจทก์คดีแพ่ง ท่านจะต้องรู้คือ 

1. เกิดเรื่องเมื่อไหร่/ รู้เรื่องเมื่อไหร่ => เรื่องที่เกิดมานานแล้วพยานหลักฐานย่อมหายไปตามกาลเวลา และจะมีเรื่องอายุความด้วย

2. ท่านเป็นผู้เสียหาย มีความเสียหายเท่าไหร่กี่บาท คำนวณเป็นตัวเลขออกมาชัดเจน ห้ามมโน ทุกอย่างต้องคำนวณได้

3. คู่กรณีเป็นใครชื่ออะไร ถ้ากรณีทำสัญญา มีเลขบัตรประชาชนด้วยหรือเปล่า

4. พยานหลักฐานมีอะไรบ้าง เช่น พยานวัตถุ พยานเอกสาร(เช่นหนังสือสัญญา หนังสือรับสภาพหนี้ หลักฐานการซื้อขาย ใบสั่งซื้อ) หรือพยานบุคคล (บุคคลที่เห็นเหตุการณ์ บุคคลที่เป็นพยานในเอกสาร)


IV.เป็นจำเลยคดีแพ่ง

ในการถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีแพ่ง ท่านจะต้องรู้คือ 

1. ฟ้องมาเมื่อไหร่ (ดูที่หัวคำฟ้อง จะมีวันที่อยู่) 

2. ท่านรับหมายเมื่อไหร่ รับโดย วิธีธรรมดาหรือปิดหมาย => ศาลจะเขียนชัดเจนว่าให้เรายื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับจากวันรับหมาย (หรือถ้าเป็นปิดหมายก็ 30 วัน)

3. คู่กรณีเป็นใครชื่ออะไร บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล 

4. เรื่องราวต่างๆตามฟ้อง มีข้อเท็จจริงอะไรที่ถูกต้อง และข้อเท็จจริงอะไรที่ไม่ถูกต้อง ตัวเลขยอดหนี้ที่ฟ้องมาถูกต้องหรือเปล่า มีเหตุการณ์อะไรที่มันไม่ใช่ตามฟ้อง 

5. สำหรับเรื่องที่ไม่ถูกต้องหรือท่านมีประเด็นที่จะต้องสู้คดี ท่านจะต้องเก็บข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานมา 

6. คดีขาดอายุความหรือยัง (อันนี้ต้องถามทนาย) 

7. ถูกฟ้องเป็นจำเลยคดีแพ่ง ท่านต้องยื่นคำให้การภายในกำหนด 15 วันหรือ 30 วัน (สำหรับคดีแพ่งสามัญ) / สำหรับคดี มโนสาเร่หรือ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก หรือคดีผู้บริโภค ศาลจะนัดไกล่เกลี่ยหรือให้การหรือสืบพยานในวันเดียวเลย

V. กรณีมีข้อพิพาทแต่ยังไม่ได้ฟ้องศาล 

คือเป็นเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งกัน ยังไม่มีการฟ้องในชั้นศาล หรือยังไม่มีการแจ้งความ เพียงแต่ทะเลาะเพราะผลประโยชน์หรือเรื่องราวคุยกันยังไม่ลงตัว อันดับแรกเลยท่านต้องรวบรวมข้อเท็จจริงให้ชัดเจนก่อน

1. เรื่องนี้มีใครเกี่ยวข้องบ้าง => ดูว่ามีตัวละครเป็นใครบ้าง

2. เหตุการณ์ย่อๆเป็นยังไง 

3. เรื่องเกิดเมื่อไหร่ วันเดือนปี 

4. พยานหลักฐานของเรามีอะไรบ้าง ได้แก่พยานวัตถุ พยานเอกสาร และพยานบุคคล 

5. ถ้าเราเป็นฝ่ายเสียหายมีอะไรบ้างที่เสียหาย => คำนวณออกมาเป็นตัวเลข อย่างมีเหตุผลให้ได้

6. ถ้าเราเป็นจำเลย เราไปทำอะไรผิดมา เหตุการณ์ข้อเท็จจริง 

 

เมื่อเราเขียนเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ให้ชัดเจนแล้ว แล้วมาทำการปรึกษาทนาย จะทำให้เกิดความรวดเร็วแต่ตัวท่านเอง ทนายก็ให้คำตอบกับท่านได้รวดเร็ว โดยเฉพาะถ้ามาปรึกษาแล้วไม่มีพยานหลักฐาน ทนายไม่สามารถวิเคราะห์ให้ได้  

สุดท้าย

1. อย่าโกหก 

2. อย่าหลอกตัวเอง 

3. เอาความจริงมาคุย 

4. เมื่อได้ข้อเท็จจริงชัดเจน จึงจะคิดทางแก้ไขปัญหาได้