การแจ้งความดำเนินคดีอาญา

กลับหน้า คดีอาญา

  

 เมื่อมีความผิดทางอาญาเกิดขึ้น ผู้เสียหายสามารถแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ณ สถานีตำรวจที่ เกิด,อ้าง,เชื่อ ว่ามีความผิดเกิดขึ้น โดยผู้เสียหายอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวผู้กระทำความ ผิดก็ตาม

 กรณีไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิดอาจจะแจ้งแต่เพียงรูปพรรณสัณฐานเบื้องต้น ( เช่น ผู้เสียหาย อาจจะถูกกระสอบคลุมหัวและมีคนรุมตีข้างหลัง  แน่นอนเขาก็ไม่รู้หรอกว่าใครเป็นคนตี)

 เมื่อแจ้งความแล้ว และพนักงานสอบสวน รับเรื่องแจ้งความของเราแล้วจากนั้นขั้นต่อไป ถ้าทราบตัวผู้กระทำผิดแล้วก็จะออกหมายเรียกผู้กระทำผิดเพื่อเข้ามารับทราบข้อกล่าวหา 

 ถ้ายังไม่ทราบตัวผู้กระทำผิดก็อาจจะต้องหาข้อมูลผู้กระทำผิดก่อนว่าเขา คือใคร  จากนั้นก็ออกหมายเรียกผู้กระทำผิดเพื่อมารับทราบเข้ากล่าวหาต่อไป

 เมื่อผู้กระทำผิดเข้ามา รับทราบข้อกล่าวหาตกเป็นผู้ต้องหา โดยในชั้นตำรวจนี้ผู้ต้องหาจะให้การสารภาพหรือปฏิเสธก็ได้

 พนักงานสอบสวนทำสำนวนเสร็จเรียบร้อยจัดส่งสำนวนต่อยังพนักงานอัยการ เมื่อพนักงานอัยการตรวจสำนวนเสร็จแล้วจึงทำการส่งเรื่อง ฟ้องต่อศาลต่อไป

 อนึ่งเนื่องจากคดีนี้เป็นคดีอาญาจะต้องมีการประกันตัวเกิดขึ้นด้วย

 กรณี ผู้ต้องสงสัยไม่มาตามหมายเรียก

 ไม่มาตามหมายเรียก 2 ครั้ง ตำรวจจะออกหมายจับ และเมื่อพบตัวที่ไหนเจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจจับ ตามหมายจับได้ทันที

 เมื่อมีหมายจับจะมีเรื่องยุ่งยากเกิดขึ้นหากถูกจับก็จะต้องประกันตัว ทำให้ผู้ต้องหาต้องเสียเงิน ค่าเช่าหลักทรัพย์ประกันตัวหรือค่าประกันตัวกรณีมีหลักทรัพย์เป็นของตนเอง

 เมื่อพนักงานอัยการส่งเรื่องฟ้องต่อศาลแล้วจากนั้นศาลก็ทำการ ดำเนินคดีต่อไปตามขั้นตอน โดยนัดแรกจะเป็นการที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาล และต้องประกันตัวจำเลยในวันนั้นด้วย