คดีแพ่ง 

คดีแพ่ง เป็นคดีที่ไม่มีโทษจำคุก เป็นคดีเกี่ยวกับการกระทำทางแพ่ง ตัวอย่างคดีแพ่ง เช่น คดีผิดสัญญาซื้อขาย , คดีผิดสัญญาเช่าซื้อ , คดีผิดสัญญาเช่าทรัพย์ , คดีผิดสัญญาจ้างทำของ  , คดีละเมิด , ขายฝาก , คดีบัตรเครดิต เหล่านี้เป็นต้น

ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง

 สำหรับการดำเนินคดีแพ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ 

  1. ผู้เสียหายฟ้องร้องคดีต่อศาลแพ่ง 
  2. การฟ้องคดีสามารถฟ้องได้ ที่มูลคดีเกิดหรือภูมิลำเนาของจำเลย
  3. การฟ้องคดีแพ่งต้องมีค่าธรรมเนียมศาล 2% ของทุนทรัพย์ในการฟ้องคดี   

อายุความคดีแพ่ง

 อายุความคดีแพ่งโดยทั่วไปจะเป็น 10 ปีสูงสุดแค่นี้ ส่วนจากนั้น ก็ลดหลั่นกันไป เป็นอายุความ 5 ปี 2 ปีหรือ 1 ปี
โดยดูจากข้อหาแต่ละอย่าง จะมีอายุความแตกต่างกันออกไป ต้องเอาข้อเท็จจริงมา วิเคราะห์ดูจึงจะบอกอายุความโดยชัดเจนได้

การฟ้องคดีแพ่งทำยังไง

  ฟ้องคดี ณสถานที่มูลคดีเกิดหรือภูมิลำเนาของจำเลย ให้เลือกเอา แต่สำหรับคดีประเภทต้องฟ้องที่ภูมิลำเนาของจำเลยเท่านั้น เช่น คดีผู้บริโภค

คดีแพ่งถ้าลูกหนี้ตายลงทำยังไงต่อ 

  คดีแพ่งเมื่อลูกหนี้ตายลงแล้ว หนี้ที่เจ้าหนี้ มีต่อลูกหนี้ไม่สูญเสียหายไป แต่นี่ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้จะกลายเป็นมรดกตก ทอดสู่กองมรดกของทายาท ดังนั้นเจ้าหนี้จึงต้องฟ้องคดีแพ่งต่อมรดกของทายาท ผู้ซึ่งมรณะไปแล้ว ต่อไป