คดีอาญา

คดีอาญา มีรายละเอียดมาก ความผิดอาญา มีบทลงโทษทางอาญา 5 สถาน  ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน

และคดีอาญา มีหลายข้อหามาก แต่ละข้อหา มีองค์ประกอบความผิด และบทลงโทษต่างกันออกไป ตามความร้ายแรงแห่งข้อหาในคดี

ตัวอย่างข้อหาทางอาญา ได้แก่ ข้อหาลักทรัพย์ , ข้อหายักยอกทรัพย์ , ข้อหา พรบ.เช็ค , ข้อหาหมิ่นประมาท , ข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม , ข้อหาบุกรุก

ประเภทคดีอาญา

1.อาญาความผิดอันยอมความได้ มีอายุความดำเนินคดี 3 เดือน 

2.อาญาแผ่นดิน อายุความดำเนินคดีตูตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา

เจตนาทางคดีอาญา

1.เจตนาประสงค์ต่อผล 

2.เจตนาเล็งเห็นผล

3.พลาด เป็นเจตนา โดยผลของกฎหมาย

บทลงโทษทางคดีอาญา

 ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา กำหนดโทษทางอาญาไว้ 5 สถาน ดังต่อไปนี้คือ

อายุความคดีอาญา 

 เนื่องจากคดีอาญาแบ่งเป็นคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดินและคดีอาญาอันยอมความได้ ซึ่ง 2 อย่างนี้มีอายุความไม่เท่ากัน สำหรับคดีอาญาอันยอมความว่าจะต้องแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับจากรู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด

 แต่คดีอาญาแผ่นดินจะต้องดูอายุความตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา

คดีอาญา ต้องประกันตัว

 คดีอาญาทุกคดีจะต้องมีการประกันตัวเกิดขึ้น โดยช่วงเวลาของประกันตัวปกติแล้วจะ ประกันตัวในวันที่ในอัยการยื่นฟ้องต่อศาล ( กรณีผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์) , หรือประกันตัวในวันที่ศาลนัดสอบคำให้การ ( กรณีผู้เสียหายฟ้องตรงต่อศาล)

 หมายเรียกและหมายจับทางอาญา

  หมายเรียกและหมายจับเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่กันกับคดีอาญา กรณีเป็นหมายเรียกพนักงาน สอบสวนออกหมายเรียกให้ผู้ ต้องสงสัยเข้าไปรับทราบข้อกล่าวหา และก็จะตกเป็นผู้ต้องหา

 กรณีหมายจับก็จะเป็นการที่มีเหตุให้ออกหมายจับ เมื่อออกหมายจับแล้วก็จะมีอายุความว่าจะต้องจับตัวจำเลยหรือผู้ต้อง หามาดำเนินการภายในกี่ปีก็ว่ากันไป