กลุ่มอาการดิสโทเนีย หรือ ดิสคิเนเซียที่กล้ามเนื้อรอบปาก ขากรรไกร ลิ้น ริมฝีปากบิดเกร็งนอกเหนือการควบคุม ส่งผลให้ ผู้ป่วยมีอาการไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ อ้าปากไม่ได้ ปวดกล้ามเนื้อ ปิดปากไม่ได้ กรามค้าง กลืนอาหารลำบาก หรือมีอุปสรรคในการพูด วิธีการรักษาภาวะอาการเหล่านี้สามารถทำได้ทั้งรับประทานยา, ฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อบล็อกการทำงานของกล้ามเนื้อ (วิธี MAB), วิธีการฉีดbotulinum toxin (การฉีดโบท็อกซ์), หรือโดยการผ่าตัด

แผนผังเว็บไซต์

I. บทนำ

1. ลักษณะอาการกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมและความผิดปกติอื่น ๆ

2. สิ่งเหนี่ยวนำและสาเหตุ

3. ประวัติการวิจัยและการรักษา

II. ภาวะกล้ามเนื้อบริเวณรอบช่องปากเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจ

1. ดิสโทเนีย (dystonia) •ดิสโทเนียในช่องปากและขากรรไกร

2. ลักษณะเด่นทางการตรวจรักษาดิสโทเนียช่องปากและขากรรไกร

3. ดิสคีเนเซีย (dyskinesia)

4. โรคกัดฟัน (bruxism)

III. การตรวจวินิจฉัยดิสโทเนียในช่องปากและขากรรไกร

1. วิธีการตรวจเช็คดิสโทเนียในช่องปากและขากรรไกรด้วยตนเอง

2. ติดต่อสอบถาม

3. การส่งภาพถ่ายหรือวิดีโอ

4. การตรวจวินิจฉัยโรคทางไกล

5. ภาวะกล้ามเนื้อบริเวณรอบช่องปากเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุม

•การเดินทางไปศูนย์การแพทย์เกียวโต (Kyoto Medical Center)

6. แบบสอบถามเพื่อการตรวจวินิจฉัยดิสโทเนียในช่องปากและขากรรไกร

IV. วิธีการรักษาดิสโทเนียในช่องปากและขากรรไกร

1. วิธีการรักษาโดยฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อบล็อคการทำงานของกล้ามเนื้อ (MAB)

2. วิธีการรักษาโดยฉีดbotulinum toxin (โบท็อกซ์)

3. วิธีการผ่าตัดศัลยกรรมในช่องปาก

4. วิธีการรักษาแบบอื่น ๆ

5. การรักษาภาวะกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมแบบอื่น ๆ

6. โรงพยาบาลที่สามารถเข้ารับการรักษาดิสโทเนียได้ •ลิงก์ (โรงพยาบาล)

7. Medical tourism (การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์) • ลิงก์ (การท่องเที่ยวในเกียวโต)

V. งานวิจัย

VI. บทความอ้างอิง

1. หนังสืออ้างอิง

2. ลิงก์ (เกี่ยวกับดิสโทเนีย)

•การประชุมวิชาการและหน่วยงานวิจัย

•ชมรมผู้

ภาวะกล้ามเนื้อบริเวณรอบช่องปากเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุม


Dr. Kazuya Yoshida

Department of Oral and Maxillofacial Surgery,

National Hospital Organization, Kyoto Medical Center

1-1 Mukaihata-cho, Fukakusa, Fushimi-ku, Kyoto 612-8555, Japan

Tel: 81-75-641-9161, Fax: 81-75-643-4325

E-mail: yoshida.kazuya.ut@mail.hosp.go.jp


I. บทนำ

1. ลักษณะอาการกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมและความผิดปกติอื่น ๆ

เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณรอบช่องปากและขากรรไกรเกิดอาการบิดเกร็งและเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมเนื่องด้วยสาเหตุบางประการ อาจก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตได้มากมาย เช่น ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ (masticatory disturbance) เปิดปากไม่ได้ (trismus) กราม ปาก ลิ้น ริมฝีปากเคลื่อนไหวเองนอกเหนือการควบคุม (involuntary movement) มีอาการสั่นเกร็ง ปวดกล้ามเนิ้อ ปิดปากไม่ได้ (trismus) กรามค้าง (jaw deviation) กลืนอาหารลำบาก (dysphagia) หรือ มีปัญหาในการพูด (dysarthria) กลุ่มอาการเหล่านี้พบเห็นได้ในผู้ป่วยโรคดิสโทเนียในช่องปากและ/หรือขากรรไกร (oromandibular dystoria)โรคข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joints disorders) โรคดิสคีเนเซีย, อาการนอนกัดฟัน (bruxism), โรคปวดกล้ามเนื้อ (fibromyalgia), โรคกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวผิดปกติอันเนื่องมาจากสาเหตุทางจิต (psychogenic movement disorder) และโรคเส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อกลุ่มบดเคี้ยว-พังผืดเจริญเติบโตผิดปกติ (masticatory muscle tendon-aponeurosis hyperplasia) เป็นต้น อาจพบอาการเพียงอย่างเดียวจากกลุ่มอาการเหล่านี้ หรือพบว่ามีความผิดปกติแทรกซ้อนสองอาการขึ้นไปพร้อมกันก็ได้ กล้ามเนื้อบริเวณรอบช่องปากและขากรรไกรนี้เกิดภาวะเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมได้หลากหลายรูปแบบ ในปัจจุบัน ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรับการบำบัดรักษาอย่างเหมาะสม จนเป็นเหตุให้มีอาการทรุดหนักลง ยกตัวอย่างเช่น กรณีของผู้ป่วยซึ่งมีอาการปิดปากไม่ได้อันเป็นลักษณะที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยดิสโทเนียในช่องปาก ซึ่งข้าพเจ้าเคยรักษามานั้น กว่า 80 % จะเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคกับทันตแพทย์หรือกับศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคในช่องปากก่อนเป็นแห่งแรก และได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อต่อขากรรไกร อาการนอนกัดฟัน หรือ ข้อต่อขากรรไกรแข็งเกร็ง (temporomandibular joint ankylosis) แต่ไม่มีแม้แต่รายเดียวที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นดิสโทเนียในช่องปาก เนื่องจากไม่มีการสอนเกี่ยวกับเกี่ยวกับอาการกล้ามเนื้อบิดเกร็งหรือเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมอื่น ๆในหลักสูตรทันตแพทย์ นอกเหนือไปจากอาการนอนกัดฟันและดิสคีเนเซีย สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของดิสโทเนียทันต์แพทย์เองด้วย

2. สิ่งเหนี่ยวนำและสาเหตุ

การเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุม (involuntary movement) หมายถึง การไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ หรือควบคุมได้เฉพาะบางส่วน อาการกล้ามเนื้อบิดเกร็งหรือเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมนั้นพบเห็นได้หลายลักษณะ เช่น ดิสคีเนเซีย ดิสโทเนีย กล้ามเนื้อกระตุก (tics) สั่น (tremor) กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างต่อเนื่อง (athetosis) เขม่น (myokymia) กระตุกในระยะเวลาสั้น ๆ (myoclonus) และโรคชักกระตุก (chorea) ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดอาการกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจนี้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าดิสโทเนียเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของเบซัลแกงเกลีย (basal ganglia) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว อาการเหล่านี้พบได้ในผู้ป่วยแผนกจิตเวชที่ใช้ยาต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และพบเห็นได้บ่อยในผู้ป่วยที่รับการรักษาทางทันตกรรม (ทำฟันปลอม ถอนฟัน) หรือผู้ป่วยที่ได้รับบาดแผลภายนอก แม้การรักษาทางทันตกรรมจะเป็นสิ่งเหนี่ยวนำให้เกิดอาการเหล่านี้ แต่ก็มิใช่สาเหตุโดยตรงของอาการ ผู้ป่วยที่มีอาการบิดเกร็งของกล้ามเนื้อนอกเหนือการควบคุมในช่องปากหรือขากรรไกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพยายามจะพูด มักมีอาชีพที่ต้องพูดเช่น รับโทรศัพท์ พนักงานต้อนรับ พนักงานขาย โฆษก พิธีกร ผู้ประกาศข่าว และครูอาจารย์ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย จึงเป็นไปได้ว่าการต้องพูดในสภาพที่มีความเครียดต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดดิสโทเนีย และอาจกล่าวได้ว่าอาการเหล่านี้เป็น “โรคดิสโทเนียที่เกิดจากลักษณะวิชาชีพ” จำพวกหนึ่ง ซึ่ง “โรคดิสโทเนียที่เกิดจากลักษณะวิชาชีพ” นั้นก็คือดิสโทเนียชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อแบบเดียวกันซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานเกินไประหว่างการประกอบอาชีพ จนเป็นเหตุให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก เช่น นักดนตรีหรือ ช่างฝีมือ

3. ประวัติการวิจัยและการรักษา

ข้าพเจ้าได้ทำการรักษาดิสโทเนียด้วยวิธีการฉีด botulinum toxin ตั้งแต่ปี 1992 สมัยเรียนอยู่ต่างประเทศใน และได้รักษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังได้ทำการวิจัยทางคลินิก เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจเช่น ดิสโทเนีย ภายใต้ความอนุเคราะห์ของศาสตราจารย์ Jun Kimura (ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์กิติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยเกียวโต), ศาสตราจารย์ Hiroshi Shibasaki (ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์กิติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยเกียวโต) และ ดร. Ryuji Kaji (Utano National Hospital) ในฐานะนักวิจัยพิเศษ (PD) ของสมาคมส่งเสริมวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น (the Japan Society for the Promotion of Science) ที่ห้องปฏิบัติการไฟฟ้าสรีรวิทยา แห่งภาควิชา ประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกียวโต (Department of Neurology, Faculty of Medicine, Kyoto University) ผู้เชี่ยวชาญด้าน การเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจและดิสโทเนีย ที่เคยร่วมวิจัยด้วยกันในห้องปฏิบัติการเดียวกัน มีอีกหลายท่าน เช่น ดร.Takahiro Mezaki (Sakakibara Hakuho Hospital) ดร. Nagako Murase (Nara Medical Center, Department of Neurology) ดร.Toshiaki Suzuki (Kansai Medical University) ดร. Takashi Sakamoto (National Center of Neurology and Psychiatry) ดร. Shinichi Matsumoto (Osaka Neurological Institute, Department of Neurology) ดร. Takenori Abe (Nakamura Memorial Hospital, Department of Neurology)

ที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ ช่องปากและ ใบหน้าขากรรไกร ศูนย์การแพทย์เกียวโต (Department of Oral and Maxillofacial Surgery at Kyoto Medical Center) เรามีความเชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัยและการรักษา อาการเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมของกล้ามเนื้อบริเวณช่องปากและ ใบหน้า ด้วยวิธีการให้ยารับประทาน วิธีการบล็อกด้วยการใช้ยาชาเฉพาะที่ (วิธี MAB) วิธีการฉีด botulinum toxin (ฉีดโบท็อกซ์) และการผ่าตัด ไม่มีหน่วยงานอื่นในประเทศญี่ปุ่นที่มีแผนกเฉพาะทางเช่นเดียวกับที่นี่ เราจึงได้รับการแนะนำตัวอย่างอาการของการเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมของกล้ามเนื้อบริเวณช่องปากและ ใบหน้าจากโรงพยาบาลหลายแห่ง สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทางระบบประสาท ทางจิตวิทยา หรือศัลยกรรมสมอง สามารถเข้ารับการตรวจอย่างครบถ้วนเป็นระบบได้ ที่แผนกประสาทวิทยา แผนกจิตเวช และแผนก ศัลยกรรมสมองที่โรงพยาบาลของเรา มีการสอบถามและความต้องการในการเข้าตรวจรักษาจากทั่วประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลกเป็น จำนวนมาก ผู้ป่วยหลายท่านมาประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลของเรา

II. ภาวะกล้ามเนื้อบริเวณรอบช่องปากเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจ

1. ดิสโทเนีย

ดิสโทเนีย (dystonia; dys: ผิดปกติ, tonia: ความตึงเครียด) เป็นความผิดปกติทางสรีระที่กล้ามเนื้อเกิดการบิดเนื่องจากความตึงเครียดของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง หรือการเคลื่อนไหวซ้ำๆ พบได้บริเวณคอ เปลือกตา ใบหน้า ปาก เป็นต้น ดิสโทเนียเป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติในการเคลื่อนไหวที่พบมากที่สุดเป็นอันดับสาม ถัดจากโรคพาร์กินสัน และโรคสั่น (essential tremor) ที่จำเป็น ดิสโทเนียเกิดตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยชรา และมีแนวโน้มที่จะเป็นทั่วร่างกายหากเกิดตั้งแต่อายุน้อย (ดู บทความอ้างอิง 26 หนังสืออ้างอิง 1)

•ดิสโทเนียในช่องปากและขากรรไกร

ดิสโทเนียในช่องปากและ/หรือขากรรไกร (oromandibular dystonia) พบเห็นอาการได้ที่ปากและขากรรไกร โดยจะมี ดิสโทเนียขากรรไกรปิด (jaw closing dystonia) อาการที่ปากปิดนอกเหนือการควบคุม (รูปที่ 1), ดิสโทเนียขากรรไกรเปิด (jaw opening dystonia) อาการที่ปากเปิดนอกเหนือการควบคุม (รูปที่ 2), ดิสโทเนียลิ้นยื่น (tongue protrusion dystonia) อาการที่ลิ้นยื่นออกมาด้านนอก (รูปที่ 3), ดิสโทเนียขากรรไกรเคลื่อน (jaw deviation dystonia) อาการที่ขากรรไกรล่างเลื่อนออกด้านข้าง (รูปที่ 4), ดิสโทเนียขากรรไกรยื่น (jaw protrusion dystonia) อาการที่ขากรรไกรล่างยื่นออกมาด้านหน้า (รูปที่ 5) เป็นต้น (ดู บทความอ้างอิง 13, 17-22, 26) ดิสโทเนียในช่องปากและขากรรไกรมักถูกวินิจฉัยผิดว่าป่วยเป็นโรคข้อต่อขากรรไกรหรือโรคทางจิต ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยหลายรายที่มีอาการมักจะต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยในโรงพยาบาลและหน่วยงานหลายแห่งเป็นเวลานานหลายปีก่อนที่จะได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเข้ารับการตรวจวินิจฉัยที่แผนก ทันตกรรม หรือศัลยกรรมช่องปาก มักถูกวินิจฉัยว่าเป็นอาการของข้อต่อขากรรไกรหรืออาการกัดฟัน ภาพถ่ายของผู้ป่วยที่แสดงอยู่ในเว็บไซต์นี้ได้รับความยินยอมจากเจ้าของภาพ

รูปที่ 1. กรณีตัวอย่างของดิสโทเนียขากรรไกรปิด ผู้ป่วยรายนี้เมื่อเริ่มที่จะพูด กล้ามเนื้อที่ทำงานขณะกัดปาก (กล้ามเนื้อสำหรับกัด masseter) จะหดตัวและไม่สามารถเปิดปากได้ ผู้ป่วยรายนี้ยังเป็นดิสโทเนียตา ซึ่งมีอาการกล้ามเนื้อกระตุกของ เปลือกตา (blepharospasm) ร่วมด้วย ซึ่งในกรณีนี้เรียกว่ากลุ่มอาการของโรค Meige.

Video 1. Jaw closing dystonia (Meige syndrome)

รูปที่ 2. กรณีตัวอย่างของดิสโทเนียขากรรไกรเปิดใ ผู้ป่วยนี้เมื่อเริ่มที่จะพูด กล้ามเนื้อที่ทำงานเปิดปาก (กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านข้าง) จะหดตัวนอกเหนือการควบคุม ทำให้ไม่สามารถพูดได้ ผู้ป่วยไม่แสดงอาการในระหว่างการรับประทานอาหารและขณะอยู่นิ่ง

รูปที่ 3. กรณีตัวอย่างของดิสโทเนียลิ้นยื่น เมื่อผู้ป่วยเริ่มที่จะพูดคุย กล้ามเนื้อของลิ้น (musculus genioglossus) จะค่อยๆทำงานจนลิ้นยื่นออกมาจากปาก ผู้ป่วยไม่แสดงลิ้นหดตัวในระหว่างการเคลื่อนไหวอื่น ๆ เช่นการกินหรือกลืน.

Video 2. Tongue protrusion dystonia

รูปที่ 4. กรณีตัวอย่างของดิสโทเนียขากรรไกรเคลื่อน เมื่อผู้ป่วยรายนี้ปิดปากขากรรไกรล่างจะเคลื่อนไปทางขวาประมาณ 8 mm ไปสาเหตุเป็นเพราะกล้ามเนื้อ pterygoid ด้านข้างซ้ายหดตัวนอกเหนือการควบคุม ผู้ป่วยได้แสดงอาการนี้เป็นเวลานาน แม้ในขณะอยู่นิ่งก็มีอาการกล้ามเนื้อหดตัวผิดปกติ ขากรรไกรอาจเคลื่อนได้ในกรณีที่เป็นโรคข้อต่อขากรรไกร แต่ในกรณีดังกล่าวขณะเปิดปาก หมอนรองข้อต่อขากรรไกรจะเลื่อนออกด้านข้าง จากการถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) ไม่พบความผิดปกติใดของข้อต่อขากรรไกรในผู้ป่วยนี้

รูปที่ 5. กรณีตัวอย่างของดิสโทเนียขากรรไกรยื่น ขากรรไกรของผู้ป่วยนี้ยื่นออกมาด้านหน้า เนื่องจากการหดตัวนอกเหนือการควบคุมของกล้ามเนื้อpterygoidด้านข้างทั้งสองด้าน ผู้ป่วยได้แสดงอาการนี้มาเป็นเวลานาน แต่ไม่มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร สามารถออกแรงบังคับตำแหน่งขากรรไกรบนล่างให้สามารถเคี้ยวอาหารได้

2. ลักษณะเด่นทางการตรวจรักษาดิสโทเนียช่องปากและขากรรไกร

ลักษณะทางการตรวจรักษาดิสโทเนียมีดังต่อไปนี้ (บทความอ้างอิง 13, 26 หนังสืออ้างอิง1)

•รูปแบบตายตัวในการหดตัวของกล้ามเนื้อ

ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีรูปแบบของการหดตัวของกล้ามเนื้อของที่ตายตัว ดิสโทเนียช่องปากและขากรรไกรจะมีทิศทางการเคลื่อนไหวขณะปิดปากและเปิดปากเช่นเดิมเสมอ

•การกระทำที่เฉพาะเจาะจง

ดิสโทเนียมักจะเกิดขึ้นและมีอาการมากขึ้นเมื่อมีการกระทำที่เฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อออกเสียงพูดหรือบดเคี้ยวภายในช่องปาก ปากจะเปิด ลิ้นจะยื่นออกด้านนอก หรือเคลื่อนไหวอย่างผิดปกติอื่นๆ แต่ในขณะที่ขากรรไกรเคลื่อนไหวแบบอื่นหรือขณะอยู่นิ่งมักจะไม่พบอาการผิดปกติ ทั้งนี้อาการของดิสโทเนียที่เกิดขึ้นเป็นประจำอาจพบเห็นได้ในผู้ป่วยที่เป็นมาเป็นเวลานานหรือมีอาการหนัก

•เทคนิคทางประสาทสัมผัส

การกระตุ้นประสาทสัมผัส สามารถบรรเทาอาการหรือทำให้อาการเป็นมากขึ้นได้ สำหรับภายในช่องปาก การให้คาบหมากฝรั่ง ผ้าเช็ดหน้า หรือบุหรี่ หรือแตะขากรรไกรล่างหรือฟันเบาๆ อาจสามารถที่จะหยุดดิสโทเนียได้ชั่วคราวหรือทำให้อาการหายได

•ประโยชน์ของการตื่นเช้า

ขณะตื่นนอนตอนเช้า หรือการตื่นแต่เช้าจะช่วยบรรเทาอาการดิสโทเนียได้ อาการของดิสโทเนียมากกว่าครึ่งมีแนวโน้มที่จะลดความรุนแรงลงในขณะตื่นนอนตอนเช้า แต่สำหรับกรณีโรคข้อต่อขากรรไกรแบบที่หนึ่งซึ่งเกิดจากการกัดฟันหรือความตึงเครียดของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคี้ยวอาหารมักเกิดอาการในขณะตื่นนอน ลักษณะนี้เป็นสิ่งสำคัญในการตรวจวินิจฉัยแยกโรค

•การหดตัวร่วม

โดยปกติ กล้ามเนื้อที่หดตัวทางเดียวกันและกล้ามเนื้อที่หดตัวต้านกันจะไม่ขัดขวางการเคลื่อนที่ของกันและกัน ยกตัวอย่างเช่นในระหว่างเปิดปาก กล้ามเนื้อที่ใช้ในการปิดปากจะไม่หดตัว ส่วนในระหว่างที่ปิดปาก กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเปิดปากก็จะไม่หดตัว ในกรณีของดิสโทเนีย กล้ามเนื้อทั้งสองจะสูญเสียสมดุลของการยับยั้งซึ่งกันและกัน กล้ามเนื้อที่หดตัวต้านกันจะหดตัวพร้อมกัน ทำให้เกิดการขัดขวางการเคลื่อนที่ที่ต้องการกระทำ กรณีกล้ามเนื้อสำหรับกัด กล้ามเนื้อใช้ในการเปิดปากและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการปิดปากจะหดตัวพร้อมกัน เป็นอุปสรรคในการออกเสียงหรือการบดเคี้ยว

•ปรากฏการณ์กลับไปกลับมา

อาการของดิสโทเนียสามารถปรากฏทันทีหรือหายไปในทันที เมื่อมีการกระทำบางสิ่งบางอย่าง กรณีที่อาการเกิดขึ้นได้ไม่นาน อาจรักษาให้หายขาดได้โดยฉับพลันระหว่างการรักษา

•อาการสั่น

อาการสั่นเกิดกับบางส่วนของร่างกายหรือทั่วทั้งตัวโดยไม่ได้บังคับ เป็นการเคลื่อนไหวกลับไปมาซ้ำๆอย่างรวดเร็วและมีลักษณะแน่นอน การสั่นในระหว่างอยู่นิ่งบริเวณศีรษะอาจพบที่ริมฝีปาก ลิ้น และขากรรไกรล่าง ดิสโทเนียเชิงกรรมพันธุ์อาจแสดงเฉพาะอาการสั่นเท่านั้น

หากไม่มีลักษณะของดิสโทเนียดังกล่าวข้างต้น ผู้ป่วยอาจมีการเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมที่เกิดจากอาการทางจิต (psychogenic) การเคลื่อนไหวที่ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (มีการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบ การกระจายตัว ความเร็ว) การที่อาการบรรเทาลงเองตามธรรมชาติหรือการกลับมาเป็นใหม่ เป็นลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมที่เกิดจากอาการทางจิต

3. ดิสคีเนเซีย (dyskinesia)

Dyskinesia (dyskinesia; dys: ผิดปกติ, kinesia:การเคลื่อนไหว)หมายถึงการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ซึ่งต่างจากดิสโทเนียที่แสดงอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ดิสคีเนเซียบริเวณปากหรือลิ้นจะแสดงอาการที่ลิ้น ริมฝีปาก ขากรรไกรล่าง เป็นการเลีย หรือการเคี้ยวบางสิ่งบางอย่างนอกเหนือการควบคุมซ้ำแล้วซ้ำอีก พบได้ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่ใช้ยาทางจิตเวชเป็นเวลานาน ลิ้นหรือริมฝีปากที่เคลื่อนไหวซ้ำๆจากอาการดิสคิเนเซีย อาจกระทบกับฟันจนเป็นแผลได้ (รูปที่ 6) (ดิสคีเนเซีย)

รูปที่ 6. กรณีตัวอย่างของการที่ริมฝีปากล่างเคลื่อนไหวขูดกับฟันหน้าบริเวณขากรรไกรล่างจนถูกเจาะเป็นรู

Video 3. Oral dyskinesia

4. โรคกัดฟัน (bruxism)

โรคกัดฟันเป็นชื่อเรียก การสบฟันอย่างแรงที่เกิดขึ้นนอกเหนือการควบคุมจนเป็นนิสัย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างนอน หรือตั้งสมาธิทำงานที่ละเอียด หรือในขณะที่ตื่นเต้น ก่อนให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อสำหรับกัด หรือกล้ามเนื้อส่วนข้างศีรษะ (จากแก้มถึงขมับ ตลอดบริเวณข้างศีรษะ) ขณะตื่นนอนตอนเช้า และอาการฟันสึกเนื่องจากฟันเสียดสีกัน การกัดฟันที่มีอาการรุนแรงและเป็นในระยะเวลานานอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อสำหรับกัดโต, โรคกล้ามเนื้อยืดตัวเกิน (coronoid), โรคเส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อกลุ่มบดเคี้ยว-พังผืดเจริญเติบโตผิดปกติจนไม่สามารถเปิดปากได้ (โรคกัดฟัน)

III. การตรวจวินิจฉัยดิสโทเนียในช่องปากและขากรรไกร

เราทำการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยอาศัยบันทึกประวัติทางการแพทย์ การสอบถามอาการ การตรวจและสัมผัสกล้ามเนื้อว่ามีอาการของดิสโทเนียที่กล่าวข้างต้นหรือไม่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (electromyography: EMG) ในบางกรณีอาจใช้การเอ็กซเรย์ CT MRIและการเจาะเลือดตรวจ การตรวจวินิจฉัยจำเป็นที่จะต้องแยกโรคข้อต่อขากรรไกร โรคกัดฟัน ดิสคิเนเซีย โรคปวดกล้ามเนื้อ โรคกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวผิดปกติอันเนื่องมาจากสาเหตุทางจิต และโรคเส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อกลุ่มบดเคี้ยว-พังผืดเจริญเติบโตผิดปกติออกจากกัน

รูปที่ 7. กล้ามเนื้อที่อาจเกิดการเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุม นอกจากนี้ยังอาจมีการหดตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการแสดงความรู้สึกบริเวณใบหน้า กล้ามเนื้อลิ้นขากรรไกรล่าง กล้ามเนื้อเพดานปาก

1: กล้ามเนื้อกระดูกแก้มzygomaticus, 2: กล้ามเนื้อรอบปากorbicularisoris, 3: กล้ามขากรรไกรล่างmentalis, 4: กล้ามเนื้อสำหรับกัดmasseter, 5: กล้ามเนื้อขมับtemporalis, 6: กลุ่มcoronoid, 7: กล้ามเนื้อขากรรไกรdigastricหลัง, 8: กล้ามเนื้อขากรรไกรdigastricหน้า, 9: กล้ามเนื้อแก้มbuccinators, 10: กล้ามเนื้อคอส่วนนอกsternocleidomastoid, 11: กล้ามเนื้อtrapezius, 12: กล้ามเนื้อplatysma, 13: กล้ามเนื้อpterygoid ด้านใน, 14: กล้ามเนื้อpterygoidด้านนอก

1. วิธีการตรวจเช็คดิสโทเนียในช่องปากและขากรรไกรด้วยตนเอง

หากกล้ามเนื้อบริเวณปากหรือขากรรไกรออกแรงหรือเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุม อาจมีสาเหตุจากดิสโทเนีย กรุณาตอบคำถามต่อไปนี้


1.( ) กล้ามเนื้อบริเวณปากหรือขากรรไกรออกแรงเองนอกเหนือการควบคุม

2.( ) บริเวณและทิศทางที่ออกแรงเหมือนเดิมเสมอ (ปิดปาก เปิดปาก ลิ้นยื่นออกมา)

3.( ) อาการจะปรากฏเฉพาะในการเคลื่อนไหวที่เฉพาะเจาะจง (พูด รับประทานอาหาร เปิดปาก ฯลฯ).

4.( ) เมื่ออะไรบางอย่าง (หมากฝรั่ง ลูกอม ฟันยาง ฯลฯ) อยู่ในปาก อาการจะดีขึ้น

5.( ) อาการไม่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่หลับ.

6.( ) ไม่มีอาการหรืออาการน้อยขณะตื่นตอนเช้า หลังจากนั้นจะค่อยๆเริ่มมีอาการ

7.( ) ขณะนี้กำลังใช้ยาทางจิตเวช หรือเคยมีประวัติการใช้ยาทางจิตเวช

8.( ) ความรุนแรงของอาการขึ้นกับความตึงเครียดหรือการพักผ่อน.

9.( ) อาการเกิดขึ้นหลังการรักษาทางทันตกรรม การใส่ฟันเทียม การบาดเจ็บที่ฟันหรือขากรรไกร

10. ( ) คุณได้รับการรักษาดิสโทเนียแบบอื่นๆ (ดิสโนเนียบริเวณคอ spasmodic torticollis, ตากระตุก blepharospasm, มือสั่นขณะเขียน ฯลฯ).


หากคุณมีอาการ 2-3ข้อ คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นเป็นดิสโทเนียบริเวณช่องปากและขากรรไกร

หากคุณมีอาการ 4-5ข้อ คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นดิสโทเนียบริเวณช่องปากและขากรรไกรสูง

หากคุณมีอาการมากกว่า 6 คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นดิสโทเนียบริเวณช่องปากและขากรรไกรสูงมาก

2. ติดต่อสอบถาม

หากท่านมีความประสงค์ที่จะขอรับคำวินิจฉัยหรือเข้ารับการรักษา กรุณากรอกข้อมูลรายละเอียดในแบบสอบถามด้านล่าง และอีเมล์ไปยังดร. คาซึยะ โยชิดะ (yoshida.kazuya.ut@mail.hosp.go.jp) หรือแฟ็กซ์ไปที่ +81-75-761-4325 หรือส่งทางไปรษณีย์ (แผนกศัลยกรรม ฟันและช่องปาก ศูนย์การแพทย์เกียวโต 1-1 Mukaihata-cho, Fukakusa, Fushimiku, Kyoto 612-8555 Japan) โปรดทราบว่าเราอาจใช้เวลาในการตอบนาน หากมีการสอบถามข้อมูลจากผู้ป่วยเข้ามามาก เราการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตามหากเกิดเหตุที่ไม่ได้คาดคิด เราไม่สามารถรับรองอย่างสมบูรณ์ได้ว่าจะไม่มีเกิดการสูญหายหรือการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์ส่วนบุคคลของตัวข้าพเจ้าเอง (ดร. คาซึยะ โยชิดะ) ไม่สามารถตอบคำถามหรือให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลทางการแพทย์ ของแพทย์ในแผนกอื่น ๆ ของ ศูนย์การแพทย์เกียวโตที่ข้าพเจ้าสังกัดอยู่ กรุณาทำความเข้าใจให้ถูกต้องมา ณ ที่นี้

3. การส่งภาพถ่ายและวิดีโอ

เพื่อผลการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอน ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ศูนย์การแพทย์ของเราโดยตรง แต่ในกรณีผู้ป่วยที่อยู่ไกลสามารถส่งวีดีโอที่บันทึกอาการเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมมาทางไปรษณีย์ หรือใช้ส่งมาทางเมล์เช่น Hightail. เราการจัดการภาพถ่ายและวีดีโออย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตามหากเกิดเหตุที่ไม่ได้คาดคิด เราไม่สามารถรับรองอย่างสมบูรณ์ได้ว่าจะไม่มีเกิดการสูญหายหรือการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต ภาพและข้อมูลวิดีโอที่ได้รับจะถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ที่ป้องกันด้วยรหัสผ่าน ห้องที่ใช้เก็บคอมพิวเตอร์จะถูกล็อกกุญแจในขณะที่ไม่มีคนอยู่ เพื่อป้องกันโจรกรรม ภาพที่สามารถนำไปใช้จำแนกตัวบุคคลได้จะถูกตัดต่อเพื่อมิให้จำแนกตัวบุคคลได้และข้อมูลจะถูกทำลายทิ้งเมื่อถึงเวลาที่กำหนด

4. การตรวจวินิจฉัยโรคทางไกล

ความเป็นไปได้ที่จะวินิจฉัยว่าเป็นดิสโทเนียหรือไม่โดยใช้รูปถ่าย แบบสอบถาม และการสื่อสารด้วยภาพมีสูง

หากเป็นอาการหลักๆของดิสโทเนีย อนึ่ง สำหรับผลการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอนจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจรักษาที่แผนกของเรา

เพื่อที่จะตรวจกล้ามเนื้อ ตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ สำหรับบางอาการอาจต้องใช้การเอกซ์เรย์ CT หรือ MRI ในการตรวจวินิจฉัย

นอกจากนี้อาจมีการตรวจในแผนกประสาท แผนกจิตเวช และแผนกศัลยกรรมสมอง

โปรดทราบว่าเราไม่สามารถรับผิดชอบต่อคำปรึกษาหรือการตรวจวินิจฉัยระยะไกลโดยอาศัยรูปถ่ายและแบบสอบถามแต่เพียงอย่างเดียว

5. การนัดหมายเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยครั้งแรก

หากท่านมีประวัติได้รับการรักษามาก่อน กรุณาให้แพทย์หลักของท่านเขียนจดหมายแนะนำตัว

และแจ้งให้แพทย์ของคุณกรอกแบบฟอร์มคำขอเข้ารับการตรวจ

ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานประสานงานการแพทย์ระดับภูมิภาค (Regional Medical Liaison Office) และ

แฟ็กซ์มาที่ศูนย์การแพทย์ของเราเพื่อที่จะทำการนัดหมายอย่างแน่นอน หากไม่สามารถนัดหมายแพทย์ได้

ท่านจะไม่สามารถขอรับการตรวจวินิจฉัยครั้งแรกได้ แผนกของเราทำการผ่าตัดในวันศุกร์ กรุณามาที่ศูนย์เพื่อติดต่อเพื่อขอนัดแพทย์

ในวันจันทร์ถึงพฤหัสบดี ภายในเวลา 10.30 น. หากท่านต้องเดินทางไกล กรุณาติดต่อ ดร. คาซึยะ โยชิดะ (yoshida.kazuya.ut@mail.hosp.go.jp) ล่วงหน้า เพื่อที่จะขอนัดเข้ารับการตรวจวินิจฉัยครั้งแรกในตอนบ่ายได้คุณ

หรือขอรับการรักษาในโรงพยาบาลหลังจากนัดแพทย์เรียบร้อยแล้ว อนึ่งอาจมีกรณีที่ไม่สามารถจัดหาห้องให้ตามที่ท่านต้องการ ได้

(ห้องขนาดใหญ่ ห้องส่วนตัว ห้องส่วนตัวพิเศษ ฯลฯ) เนื่องจากสภาพของตึกผู้ป่วย

นอกจากนี้อาจมีวันหยุดเนื่องจากการประชุมวิชาการนอกสถานที่ กรุณาตรวจสอบตารางเวลา (schedule) ของข้าพเจ้า ก่อนมาที่โรงพยาบาล

หรือโทรศัพท์ติดต่อไปยังแผนกผู้ป่วยนอก (+81 075-641-9161 ต่อ 3141) นอกจากนี้หากคุณกำลังใช้ยาใดๆอยู่

กรุณานำบัตรบันทึกการจ่ายยาหรือ ใบสั่งยาจากแพทย์มาด้วย

•การเดินทางไปศูนย์การแพทย์เกียวโต (Kyoto Medical Center)

โดยรถไฟสายเคฮัง Keihan:

เดิน 8 นาทีจากสถานีฟุจิโมริ Fujinomori

โดยรถไฟสายคินเท็ตสึ Kintetsu:

ลงรถไฟชินกังเซ็น JR Tokaido Shinkansen หรือJRสายโทไคโด ที่สถานีเกียวโต เปลี่ยนเป็นรถไฟสายคินเท็ตสึ และเปลี่ยนเป็นรถไฟสายเคฮัง Keihan ที่สถานีทัมบะบะชิ Tambabashi ลงที่สถานีฟุจิโนะโมะริ Fujinomori เดิน 8 นาที

โดยรถไฟเจอาร์ JR:

ขึ้นรถไฟJRสายนารา จากสถานีเกียวโตลงที่สถานีฟุจิโนะโมะริ Fujinomori เดิน 12 นาทีจากสถานีเจอาร์

หรือขึ้นรถไฟJRสายนารา จากสถานีเกียวโตลงที่สถานีโทฟุคุจิ Tofukuji และเปลี่ยนรถไฟเป็นสายเคฮัง Keihan

ลงที่สถานีฟุจิ โนะโมะริ Fujinomori เดิน 8 นาที

โดยรถยนต์:

ลงทางด่วนเมชิน Meishin ที่ทางออกเกียวโตมินามิ ใช้เวลา 7 นาที

(ที่จอดรถมีจำกัด กรุณาใช้การเดินทางด้วยวิธีสาธารณะหรือรถประจำทางให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้)

วิธีไปศูนย์การแพทย์เกียวโต (Access to Kyoto Medical Center)

ตารางเวลารถประจำทาง (Bus service timetable)

Google Maps

รูปที่ 8. แผนที่เส้นทางไปศูนย์การแพทย์เกียวโต

6. แบบสอบถามเพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคดิสโทเนียในช่องปากและขากรรไกร

กรุณากรอก หรือทำเครื่องหมายในข้อที่ตรงกับอาการของท่านในแบบสอบถามดังต่อไปนี้ ท่านสามารถทำเครื่องหมายได้มากกว่าหนึ่งเครื่องหมาย ถ้าไม่มีเนื้อหาที่ตรงกับอาการกรุณากรอกข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงลงในช่อง “อื่นๆ”


ชื่อ สกุล :___________________________

เพศ: ชาย ( ), หญิง ( )

วันเดือนปีเกิด: วันที่ ( ) เดือน ( ) ปี ( )

ที่อยู่: ___________________________

โทรศัพท์: ___________________________

โทรสาร: ___________________________

E-mail: ___________________________


1. อาการของท่านเป็นอย่างไร

กัดฟันแน่น ( ), ปากเปิดเอง ( ), ปากขยับไปด้านข้างหรือด้านหน้า ( ), ลิ้นยื่นออกมา ( ), กล้ามเนื้อรอบปากออกแรงเอง ( ), ลิ้นเคลื่อนไหวเอง ( ), ริมฝีปากเคลื่อนไหวเอง ( ),

อื่น ๆ กรุณากรอกอาการโดยละเอียด ( )

2. สิ่งที่เป็นปัญหาของท่าน

รับประทานอาหารได้ยาก ( ), พูดคุยได้ยาก ( ), เปิดปากได้ยาก ( ), ปวด ( ), กลืนได้ยาก ( ), รู้สึกแปลกๆ ( ),

อื่น ๆ กรุณากรอกอาการโดยละเอียด ( )

3. ท่านเริ่มเป็นอาการนี้ตั้งแต่เมื่อไร

วันที่ ( ) เดือน ( ) ปี ( )

4. มีสิ่งที่เริ่มทำให้เกิดอาการหรือไม่

ไม่มี ( ), มี ( )

ถ้ามี สิ่งนั้นคือ การรักษาทันตกรรม ( ), การได้รับบาดเจ็บที่ปากหรือขากรรไกร ( ), การใช้ยา ( ),

อื่น ๆ กรุณากรอกอาการโดยละเอียด ( )

5 . อาการเป็นที่ส่วนใด

ปาก ( ), ขากรรไกรล่าง ( ), ขากรรไกรบน ( ), ลิ้น ( ), ริมฝีปาก ( ), แก้ม ( ), คอ ( ), เปลือกตา ( ),

อื่น ๆ กรุณากรอกอาการโดยละเอียด ( )

6. อาการเกิดขึ้นในขณะใด

ขณะพูด ( ), ขณะรับประทานอาหาร ( ), ขณะเปิดปาก ( ), ขณะกลืน ( ), ทุกขณะ ( ),

อื่น ๆ กรุณากรอกอาการโดยละเอียด ( )

7. มีวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการอย่างชั่วคราวหรือไม่

ไม่มี ( ), มี ( ), มีขึ้นอยู่กับเวลา ( ),

ถ้ามี วิธีนั้นคือ ใส่บางสิ่งบางอย่างเข้าไปในปาก ( ), ใช้มือหรือนิ้วมือสัมผัส ( ), ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากาก ( ),

อื่น ๆ กรุณากรอกอาการโดยละเอียด ( )

8. มีอาการขณะนอนหลับหรือไม่

ไม่มี ( ), มี ( ), ไม่แน่ใจ ( ),

อื่น ๆ กรุณากรอกอาการโดยละเอียด ( )

9. อาการมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาหรือไม่

ไม่มี ( ), มี ( ), แตกต่างบ้างแล้วแต่วัน ( ),

หากมี อาการเป็นอย่างไร ไม่มีอาการในขณะตื่นนอน ( ), อาการเป็นมากขึ้นเมื่อถึงตอนกลางวันและตอนเย็น ( ),

อื่น ๆ กรุณากรอกอาการโดยละเอียด ( )

10 . ท่านใช้หรือเคยใช้ยาทางจิตเวชหรือไม่

ไม่เคย ( ), เคยหรือใช้อยู่ ( ),

ถ้าเคยหรือใช้อยู่ ใช้มาเป็นเวลา ( ) ปี, ( ​ ) เดือน, ( )

ใช้ยาอะไร ( )

11. ท่านเคยรับการรักษาดิสโทเนียแบบอื่น หรือการรักษาอาการกล้ามเนื้อตึงเครียดอื่นหรือไม่

ไม่เคย ( ), เคย ( ),

ถ้าเคย กรุณาบอกชนิดอาการ: ดิสโทเนียบริเวณคอ ( ), เปลือกตากระตุก (ดิสโทเนียรอบบริเวณตา) ( ), มือสั่นขณะเขียน (ดิสโทเนียที่มือ) ( ), กล้ามเนื้อกระตุกบริเวณหน้าข้างเดียว (อาการตึงที่หน้าครึ่งซีก) ( ),

อื่น ๆ กรุณากรอกอาการโดยละเอียด ( )

12. ท่านเคยรับการรักษาที่แผนกใดมาก่อนหรือไม่

ไม่เคย ( ) เคย ( )

ถ้าเคย เคยรักษาที่แผนก ประสาทวิทยา ( ), ทันตกรรม ( ), ศัลยกรรมในช่องปาก ( ), ศัลยกรรมสมอง ( ),

หูคอจมูก ( ), จิตเวช ( ), การฝังเข็ม ( )

อื่น ๆ ( )

13. ท่านเคยเข้ารับการตรวจหรือไม่

ไม่เคย ( ) เคย ( )

ถ้าเคย ตรวจด้วย MRI ( ), CT ( ), ตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (EMG) ( ), เอ็กซ์เรย์ ( ),

ตรวจเลือด ( ), การทดสอบทางพันธุกรรม ( ),

อื่น ๆ ( )

14. คุณได้รับการรักษาหรือไม่

ไม่เคย ( ), เคย ( )

ถ้าเคย เป็นการรักษาด้วย ยารับประทาน ( ), การฉีดboulinum toxin (Botox) ( ), การฝังเข็ม ( ), การกระตุ้นแม่เหล็ก ( ), การผ่าตัด ( ),

อื่น ๆ ( )

15 . ท่านมีโรคอื่นที่รักษาอยู่ในขณะนี้หรือไม่

ไม่มี ( ), มี ( ),

ถ้ามี เป็นโรคใน แผนกประสาท ( ), แผนกจิตเวช ( ), แผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ ( ),

แผนกจิตเวชภายใน (Psychosomatic) ( ), แผนกศัลยกรรม ( ), แผนกอายุรเวช ( ),

อื่น ๆ ( )

16. อื่น ๆ หากมีคำถามใดๆ กรุณากรอกลงในช่องนี้

( )

กรุณากรอกแบบสอบถามข้างต้นและแนบข้อมูลกับอีเมล์ส่งมาที่ ดร.คาซึยะ โยชิดะ (yoshida.kazuya.ut@mail.hosp.go.jp) หรือแฟ็กซ์ไปยัง +81-75-761-4325) ท่านสามารถพิมพ์ลงในกระดาษและส่งมาทางไปรษณีย์ได้ที่ (แผนกศัลยกรรม ฟันและช่องปาก ศูนย์การแพทย์เกียวโต 1-1 Mukaihata-cho, Fukakusa, Fushimiku, Kyoto 612-8555 Japan) ข้อมูลข้างต้นจะถูกนำมาใช้เพื่อการตรวจวินิจฉัยเท่านั้น เราการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตามหากเกิดเหตุที่ไม่ได้คาดคิด เราไม่สามารถรับรองอย่างสมบูรณ์ได้ว่าจะไม่มีเกิดการสูญหายหรือการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต โปรดทราบว่าเราอาจใช้เวลาในการตอบนาน หากมีการสอบถามข้อมูลจากผู้ป่วยเข้ามามาก

IV. การรักษาของ ช่องปากและใบหน้าขากรรไกรดิสโทเนีย

การรักษาครั้งแรกสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการน้อยจะให้ยารับประทาน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้น แต่ไม่มียาที่เจาะจงเฉพาะสำหรับดิสโทเนีย จะต้องใช้ยาร่วมกัน2-3ชนิด โดยเริ่มให้ปริมาณแต่น้อยเพื่อสังเกตดูผลและค่อยๆเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุจะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาได้ง่าย จึงต้องค่อยๆเพิ่มปริมาณยาทีละน้อย ถ้าอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น จะใช้ยาชาฉีดบริเวณกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็ง (วิธีเอ็มเอบี MAB: muscle afferent block) (บทความอ้างอิง13, 14, 17, 18, 20-22, 26) หรือใช้การฉีดพิษ botulinum toxin (การฉีดโบท็อกซ์Botox) (บทความอ้างอิง 22, 24, 26).

1 . วิธีการรักษาโดยฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อบล็อคการทำงานของกล้ามเนื้อ (MAB)

วิธี MAB เป็นการฉีดยาชาเฉพาะที่ (0.5% ลิโดไคน์ lidocaine: ไซโลไคน์ บริษัทแอสตราเซเนกา) เพื่อที่จะ ลดประสิทธิภาพของ afferents ที่ปรับความตึงเครียดของกล้ามเนื้อโดยให้น้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อคลางความตึงเครียดลง (บทความอ้างอิง 13, 14, 17, 18, 20-22, 26) การลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อจะทำให้อาการที่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อทำงานมากเกินไปเช่น อุปสรรคในการเปิดปาก อาการปวด อุปสรรคในการออกเสียง อุปสรรคในการบดเคี้ยว ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการฉีดbotulinum toxinแล้ว วิธีนี้เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และไม่ทำให้เกิดความอ่อนแอของกล้ามเนื้อมากจนเกินไป นอกจากนี้ยังเป็นวิธีรักษาเพียงอย่างเดียวสำหรับผู้ที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้าน botulinum toxin การรักษาทำอาทิตย์ละ1-2ครั้ง หลังจากทำการรักษาประมาณ 10 ครั้ง จะทำการสังเกตผล กรณีตัวอย่างที่เห็นผลของการรักษา อาการจะดีขึ้นทันทีหลังจากเริ่มทำการรักษา แต่ระยะเวลาที่ออกฤทธิ์จะสั้น ตัวอย่างที่ได้ผลจะค่อยๆออกฤทธิ์ในระยะเวลาที่นานขึ้น กลไกของการรักษาด้วยวิธีนี้ คือการบล็อกประสาทที่กระจายตัวอยู่บริเวณมัดกล้ามเนื้อและทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียด จะให้ผลดีมากกับกล้ามเนื้อที่ใช้ในการปิดปากซึ่งมีมัดกล้ามเนื้อมาก (กล้ามเนื้อสำหรับกัด กล้ามเนื้อขมับ กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านใน) แต่จะไม่ค่อยให้ผลกับกล้ามเนื้อที่ไม่มีมัดกล้ามเนื้อหรือมีมัดกล้ามเนื้อน้อย เช่นกล้ามเนื้อที่ใช้แสดงความรู้สึก หรือกล้ามเนื้อขากรรไกรdigastric (บทความอ้างอิง 17, 19)

•การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (EMG)

ในการตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็ง เราจะใช้ขั้วไฟฟ้าชนิดแผ่นคล้ายเทปสำหรับกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณผิวของหน้า เช่นกล้ามเนื้อสำหรับกัด หรือกล้ามเนื้อขมับ และใช้ขั้วไฟฟ้าชนิดเข็มที่มีขนาดเล็กกว่าเข็มฉีดยาสำหรับกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกลงไปเช่น กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านนอก, กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านใน, กล้ามเนื้อลิ้น การใช้ขั้วไฟฟ้าชนิดแผ่นไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดแต่การใช้ขั้วไฟฟ้าชนิดเข็มจะเจ็บเล็กน้อย กล้ามเนื้อที่ฉีดรักษาส่วนใหญ่ คือ กล้ามเนื้อสำหรับกัด กล้ามเนื้อขมับ กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านนอก กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านใน กล้ามเนื้อลิ้น กล้ามเนื้อคอส่วนนอกsternocleidomastoid เป็นต้น (รูปที่ 7) เราจะตัดสินว่าจะฉีดกล้ามเนื้อหรือไม่โดยพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยแต่ละรายและคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ ก่อนจะทำการรักษาเราจะบันทึก การประเมินผลด้วยตนเองของปริมาณการเปิดปาก แรงในการกัด และความเจ็บปวด

•การฉีดยา

การฉีดยาชาเฉพาะที่จะใช้ยาประมาณ 2-10 มล. โดยจะดูให้แน่ใจว่าปลายเข็มฉีดยาอยู่ภายในกล้ามเนื้อที่กำลังแข็งเกร็งผ่านทางเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ ขณะฉีดยาจะเจ็บเล็กน้อย จากนั้นจะดูผลและระยะเวลาที่ออกฤทธิ์พร้อมกับเติมเอทานอลลงไปในยาชาเฉพาะที่เล็กน้อย ผลของการฉีดแตกต่างกันค่อนข้างมากแล้วแต่ผู้ป่วย จึงใช้ปริมาณน้อยในตอนแรก

•การติดตามดูผล

การฉีดรักษาจะให้ผลทันทีหลังจากฉีด แต่ระยะเวลาออกฤทธิ์ในตอนแรกจะสั้น หลังจากฉีดรักษาซ้ำหลายครั้ง ผลการออกฤทธิ์จะดีขึ้น ในครั้งแรกจะฉีดกล้ามเนื้อประมาณ1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ หลังจากฉีดรวมเกิน10 ครั้งจะฉีดรักษาอาทิตย์ละครั้ง หรือเดือนละครั้ง ระยะเวลาในการออกฤทธิ์โดยทั่วไปอย่างน้อยจะนานถึง3-4เดือน และหมดฤทธิ์ยา แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจออกฤทธิ์ต่อไปได้เรื่อยๆ หลังจากการรักษาเราจะทำการวัดปริมาณการเปิดปาก และแรงในการกัด เพื่อประเมินผลการรักษา บางครั้งอาจต้องฉีดยาซ้ำขึ้นอยู่กับขั้นตอน

2. วิธีการรักษาโดยฉีด botulinum toxin (โบท็อกซ์)

Botulinum toxin ทำให้กล้ามเนื้อที่แข็งเกร็ง ผ่อนคลายลง โดยจะออกผลในตำแหน่งที่เส้นประสาทสัมผัสกับกล้ามเนื้อ (presynaptic) (บทความอ้างอิง 22, 24, 26) การฉีดยาที่ทำจากbotulinum toxin ชนิดA (โบท็อกซ์ Botox บริษัท กรักโซ สมิสคไลน์) เป็นการรักษามาตรฐานของ ดิสโทเนียเฉพาะที่ เช่นเปลือกตาหรือคอ (ดิสโทเนียเปลือกตา ดิสโทเนียบริเวณคอ) ซึ่งได้รับการยอมรับมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก วิธีนี้ช่วยแก้ไขอาการอุปสรรคในการเปิดปาก ความเจ็บปวด อุปสรรคในการออกเสียง อุปสรรคในการบดเคี้ยว โดยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งจนไม่สามารถใช้วิธีรักษาแบบธรรมดาได้ ในปัจจุบันที่ประเทศญี่ปุ่น ยาที่ทำจากbotulinum toxinสามารถใช้กับ ดิสโทเนียเปลือกตา ดิสโทเนียบริเวณคอ ดิสโทเนียที่หน้าซีกเดียวได้ การรักษาด้วยการฉีด botulinumtoxinในกล้ามเนื้อบางส่วนอาจไม่สามารถใช้ประกันสุขภาพและมีค่าใช้จ่ายสูง

•การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (EMG)

เราจะทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อในลักษณะเดียวกันกับที่อธิบายไว้ในการรักษาด้วยวิธี MAB กล้ามเนื้อที่ฉีดรักษาส่วนใหญ่ คือ กล้ามเนื้อสำหรับกัด กล้ามเนื้อขมับ กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านนอก กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านใน กล้ามเนื้อลิ้น กล้ามเนื้อคอส่วนนอกsternocleidomastoid เป็นต้น (รูปที่ 7) เราจะตัดสินว่าจะฉีดกล้ามเนื้อหรือไม่โดยพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยแต่ละรายและคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ ก่อนจะทำการรักษาเราจะบันทึก การประเมินผลด้วยตนเองของปริมาณการเปิดปาก แรงในการกัด และความเจ็บปวด

•การฉีดยา

การฉีดจะใช้โบท็อกซ์ที่ละลายด้วยน้ำเกลือแบ่งฉีดในปริมาณที่เหมาะสมในหลายตำแหน่งโดยจะดูให้แน่ใจว่าปลายเข็มฉีดยาอยู่ภายในกล้ามเนื้อที่กำลังแข็งเกร็งผ่านทางเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ ขณะฉีดยาจะเจ็บเล็กน้อย ผลของการฉีดแตกต่างกันค่อนข้างมากแล้วแต่ผู้ป่วย จึงใช้ปริมาณน้อยในตอนแรก

•การติดตามดูผล

ยาจะออกฤทธิ์หลังจากฉีดแล้ว 2-3วัน โดยฤทธิ์ของยาจะคงอยู่อย่างน้อย 3-4 เดือน หลังจากนั้นจะหมดฤทธิ์ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีฤทธิ์ต่อไปเรื่อยๆ หลังจากการรักษาเราจะทำการวัดปริมาณการเปิดปาก และแรงในการกัด เพื่อประเมินผลการรักษา บางครั้งอาจต้องฉีดยาซ้ำขึ้นอยู่กับขั้นตอน

Video 4. Jaw closing dystonia before and after botulinum therapy

Video 5. Tongue protrusion dystonia before and after botulinum therapy

3. วิธีการผ่าตัดศัลยกรรมในช่องปาก

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการดิสโทเนียปิดปาก หรืออาการกัดฟันซึ่งกล้ามเนื้อที่ใช้ในการปิดปาก (กล้ามเนื้อสำหรับกัด กล้ามเนื้อขมับ) แข็งเกร็งอย่างยิ่งเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่อาการกล้ามเนื้อสำหรับกัดโต โรคกล้ามเนื้อยืดตัวเกิน (รูปที่ 9) ซึ่งกล้ามเนื้อกลุ่มบดเคี้ยวเจริญเติบโตผิดปกติ ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดศัลกรรมภายในช่องปาก เช่นการผ่าเอากล้ามเนื้อที่โตเกินไปออก (coronoidotomy) (รูปที่ 10) โดยต้องวางยาชาทั้งตัว (บทความอ้างอิง 22, 25, 26) การผ่าตัดทั้งหมดจะทำในปากจึงไม่เกิดรอยแผลเป็นบนใบหน้า การผ่าตัดจะใช้เวลา 1.5-2ชั่วโมง แต่หลังการผ่าตัด มีความจำเป็นที่จะต้องฝึกเปิดปาก ผู้ป่วยจึงยังคงต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลประมาณสองสัปดาห์.

a

b

c

d

รูปที่ 9. กรณีตัวอย่างของโรคกล้ามเนื้อยืดตัวเกิน กล้ามเนื้อสองข้างยืดตัวมากเกิน ทำให้มุมขากรรไกรล่างทั้งสองข้างขยายใหญ่ขึ้น (ลูกศรชี้) (a) กล้ามเนื้อที่ยืดออกมาจะชนกับกระดูกโหนกแก้มในขณะเปิดปาก ทำให้สามารถเปิดปากได้กว้างที่สุดเพียง 17 มม.เท่านั้น (b) หลังจากการผ่าเอากล้ามเนื้อที่โตเกินไปออก (c) สามารถเปิดปากได้กว้างกว่า 40 มม. (d)

a

b

รูปที่ 10. ผู้ป่วยรายนี้ไม่สามารถเปิดปากได้เลย เนื่องจากเป็นดิสโทเนียปากปิด กล้ามเนื้อสำหรับกัดจะหดตัวนอกเหนือการควบคุม (a) หลังจากการผ่าเอากล้ามเนื้อที่โตเกินไปออกผู้ป่วยสามารถเปิดปากได้กว้างกว่า 50 มม. (b)

Video 6. Jaw closing dystonia before and after coronoidotomy

4. วิธีการรักษาแบบอื่น ๆ

สำหรับอาการกล้ามเนื้อกระตุกของเปลือกตา ดิสโทเนียบริเวณคอ กล้ามเนื้อกระตุกบริเวณหน้าข้างเดียวนั้น มีวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดศัลกรรมสมองเชิงกลไก เช่นการผ่าตัดศัลยกรรมประสาทสมอง (stereotactic) หรือการกระตุ้นสมองส่วนลึก การกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็กผ่านกระโหลกศีรษะ การฝังเข็มและการรักษาทางจิตเวช แต่ยังไม่มีข้อมูลในระดับที่เชื่อถือได้สำหรับการรักษาดิสโทเนียในช่องปากและขากรรไกร

5. การรักษาภาวะกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมแบบอื่น ๆ

การรักษาดิสคีเนเซียซึ่งมีอาการเลียปากหรือริมฝีปาก ทำได้โดยการให้ยารับประทานเป็นหลัก (บทความอ้างอิง 14 หนังสืออ้างอิง 1) การจ่ายยาจะค่อยๆเพิ่มปริมาณจากปริมาณน้อยและตรวจดูผลการออกฤทธิ์จึงใช้เวลาหลายเดือน ในกรณีที่ดิสคีเนเซียทำให้ริมฝีปากหรือลิ้นต้องกระทบกับฟันจนเกิดเป็นแผล อาจใช้การรักษาทางทันตกรรมเช่นการถอนฟันหรือการใส่ฟันยาง สำหรับโรคกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวผิดปกติอันเนื่องมาจากสาเหตุทางจิต จำเป็นต้องให้การรักษาเชิงจิตเวชภายใน หรือการบำบัดทางจิตเวช สำหรับโรคกัดฟันโดยทั่วไปจะรักษาโดยการใช้สปรินท์ (ฟันยาง) หรือให้ยารับประทาน แต่สำหรับผู้ป่วยที่วิธีเหล่านี้ไม่ได้ผล แผนกของเราสามารถให้การรักษาโดยการฉีด botulinum toxinได้

Video 7. Oral dyskinesia before and after pharmacotherapy

Video 8. Oral dyskinesia before and after denture adjustment

6. โรงพยาบาลที่สามารถเข้ารับการรักษาดิสโทเนียได้

แม้ภาควิชาประสาทวิทยา จำนวนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมก็ยังมีอยู่จำกัด แพทย์ที่สามารถตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาดิสโทเนียได้มีจำนวนน้อยมาก ด้านล่างนี้เป็นรายชื่อโรงพยาบาลที่ทำการรักษาดิสโทเนียที่มีขอบเขตเช่นอาการกล้ามเนื้อกระตุกของเปลือกตา หรือดิสโทเนียบริเวณคอ ไม่มีโรงพยาบาลใดที่ให้การรักษาดิสโทเนียบริเวณช่องปากและขากรรไกรได้อย่างเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ แพทย์ในแผนกประสาทภายในสามารถตรวจวินิจฉัยว่าเป็นดิสโทเนียบริเวณช่องปากและขากรรไกรหรือไม่ แต่มีจำนวนมากที่ไม่สามารถระบุได้ว่ากล้ามเนื้อของปากและขากรรไกรบริเวณไหนมีความผิดปกติ หรือไม่สามารถให้การรักษาโดยการฉีดโบท็อกซ์ที่บริเวณกล้ามเนื้อที่หดตัวผิดปกติได้อย่างแม่นยำ การรักษาโดยการให้ยารับประทานสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนนั้นเป็นตัวยาเดียวกันจึงขอแนะนำให้ผู้ที่ไม่สามารถเข้าตรวจที่แผนกของเรา เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลใกล้บ้านต่อไปนี้

•ลิงก์(โรงพยาบาล)

ฮอกไกโด (Hokkaido)

โรงพยาบาลที่ระลึก นะคะมุระ (Nakamuta Memorial Hospital)

ศูนย์การแพทย์ฮอกไกโด (Hokkaido Medical Center)

คันโต (Kanto)

โรงพยาบาลศูนย์วิจัยการแพทย์ จิตวิทยา ประสาทวิทยาแห่งชาติ (National Center Hospital, National Center of Neurology and Psychiatry)

โรงพยาบาล เมืองคะวะซะกิ ทะมะ (Kawasaki Municipal Tama Hospital)

โรงพยาบาล คันโต โรไซ (Kanto Rosai Hospital)

โรงพยาบาลจุนเท็นโด (Juntendo University Hospital)

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเซนต์มาเรียนา (St. Marianna University School of Medicine Hospital)

ศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยเทเคียว (Teikyo University Medical Center)

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตเกียว (Tokyo Medical University Hospital)

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์สตรี (Tokyo Women's Medical University Hospital)

โรงพยาบาลอาโอยามะ มหาวิทยาลัยแพทย์สตรี (Aoyama Hospital Tokyo Women's Medical University)

โรงพยาบาลประสาทนครโตเกียว (Tokyo Metropolitan Neurological Hospital)

ศูนย์การแพทย์ โอฮะชิ มหาวิทยาลัยโทโฮ (Toho University Ohashi Medical Center)

ชินเอ็ตสึ (Shin-Etsu)

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยชินชู (Shinsyu University Hospital)

คันไซ (Kansai)

โรงพยาบาลรวมอิจินไค (Ijinkai Takeda General Hospital)

โรงพยาบาลชินโค (Shinko Hospital)

คลินิกประจำมหาวิทยาลัยแพทย์คันไซ (Kansai University of Health Sciences, Attached Clinic)

โรงพยาบาลซะคะคิฮะระฮะคุโฮ (Sakakibara Hakuho Hospital)

ศูนย์การแพทย์เกียวโต (Kyoto Medical Center)

ชิโคะคุ (Shikoku)

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโทะคุชิมะ (Tokushima University Hospital)

คิวชู (Kyusyu)

โรงพยาบาลไคซึกะ (Kaizuka Hospital)

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอาชีวะและสิ่งแวดล้อม (University of Occupational and Environmental Health)

7. การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

เมื่อวินิจฉัยแล้วพบว่าเป็นดิสโทเนีย วิธีการรักษาจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับอาการและระดับของอาการ ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย จะได้รับการรักษาด้วยการรับประทานยาหรือได้รับการรักษาด้วย วิธีMAB การรักษาด้วยการรับประทานยากินหรือ วิธีMAB ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกระยะ1-2สัปดาห์ รวมเป็นเวลาหลายเดือน ในกรณีที่รักษาด้วย botulinum toxin หากเป็นการรักษากล้ามเนื้อที่ใช้ในการปิดปาก (masseter, temporalis และ medial pterygoid muscle) สามารถรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ แต่ในกรณีของการรักษาโดยการฉีดเข้าไปใน กล้ามเนื้อเพดานปากหรือลิ้น อาจทำให้เกิดอาการกลืนอาหารลำบากภายหลังการรักษา (แม้ว่าแผนกของเราไม่เคยมีกรณีดังกล่าว) เพื่อความปลอดภัย เราแนะนำให้รับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลาสั้น ๆ สำหรับท่านที่อยู่ไกลไม่สะดวกในการรักษาแบบผู้ป่วยนอก สามารถรับการรักษาโดยการฉีด botulinum toxin หรือการผ่าตัดในโรงพยาบาลระยะสั้นได้ การรักษาโดยการฉีด botulinum toxin ใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน การผ่าตัด coronoidotomy ต้อง เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลาประมาณสองสัปดาห์ ประกันสุขภาพแห่งชาติของญี่ปุ่นครอบคลุมถึงค่ายาสำหรับรับประทานและค่าผ่าตัด แต่ การรักษาโดยการฉีด botulinumtoxin อาจไม่สามารถใช้ประกันสุขภาพได้

เมื่อเร็ว ๆ นี้ การท่องเที่ยวทางการแพทย์ ได้รับความสนใจมากขึ้น (การท่องเที่ยวทางการแพทย์) การท่องเที่ยวทางการแพทย์ คือการที่ผู้ป่วยเข้ารับบริการทางการแพทย์ เช่นการตรวจและรับการรักษา ในพื้นที่หรือประเทศที่แตกต่างจากที่ที่ตนอาศัยอยู่ ภายหลังการรักษาอาการเกร็งนอกเหนือการควบคุมบริเวณปากหรือขากรรไกร ด้วย botulinum toxin ผู้เข้ารับการรักษาสามารถออกนอกสถานที่ชั่วคราวหรือท่องเที่ยวได้เกียวโต มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ทั้งที่เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง โบราณสถาน ร้านอาหารเก่าแก่ที่ได้ดาวจากหนังสือมิชลิน (รูปที่ 11) สามารถเพลิดเพลินได้กับบรรยากาศทั้งสี่ฤดูกาล เช่น ดอกซากุระ ในฤดูใบไม้ผลิ ใบ ใบไม้เปลี่ยนสีในฤดูใบไม้ร่วง, เทศกาลกิออง, เทศกาล Jidai Matsuri และ Daimonji. โรงพยาบาลของเราให้บริการห้อง ส่วนตัวพิเศษมีระดับเหมือนโรงแรมหรู (แนะนำการเข้ารักษาในโรงพยาบาล). การรักษาดิสโทเนียสามารถดำเนินไปได้พร้อมๆกับการท่องเที่ยวเกียวโต นอกจากนี้ท่านยังสามารถพัก ณ โรงแรมหรือเรียวกังที่ท่านต้องการ และเข้ารับการตรวจรักษาวิธี botulinum toxin แบบผู้ป่วยนอกได้เช่นกัน เรายินดีต้อนรับ ผู้ป่วย ดิสโทเนีย จากทั่วประเทศญี่ปุ่นและทั่วทุกมุม โลก

a

b

c

รูปที่11. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในเกียวโต. (a) วัดคิงคะคุจิ, (b) วัดคิโยะมิซุ, (c) ศาลเจ้า ฟุชิมิอินะริ

•ลิงก์ (การท่องเที่ยวในเกียวโต)

Kyoto City Tourism Association

Kyoto Travel Guide

Kyoto Prefecture's Web Site

Kyoto Prefecture Tourism Guide

japan-guide.com

World Heritage Map

JAPAN: the Official Guide

KYOTOdesign

V. งานวิจัย

เราได้ทำการบันทึกและวิจัยการทำงานและหน้าที่รวมถึงปฏิกริยาตอบสนองของกล้ามเนื้อสำหรับบดเคี้ยว (กล้ามเนื้อสำหรับกัด กล้ามเนื้อขมับ กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านนอกส่วนบนล่าง กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านใน)และ การทำงานของกล้ามเนื้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบดเคี้ยว (กล้ามเนื้อขากรรไกรdigastric กล้ามเนื้อลิ้นและ กล้ามเนื้อคอส่วนนอกsternocleidomastoid ฯลฯ) ขณะทำงานพร้อมกับการเคลื่อนที่ของขากรรไกรล่าง การเคลื่อนที่บริเวณจุดตัดของฟัน (incisal) และการเคลื่อนไหวบริเวณข้อต่อขากรรไกร (condylar) และตรวจสอบบทบาทของปฏิกิริยาในบทบาทการทำงานของกล้ามเนื้อเหล่านี้ (บทความอ้างอิง 1-12).

เราทำการวิจัยเชิงการรักษากับผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อสำหรับบดเคี้ยวมีการหดตัวผิดปกติ เช่นดิสโทเนียบริเวณช่องปากและขากรรไกร อาการเคลื่อนไหวผิดปกติเช่นดิสคีเนเซีย อาการกัดฟันอื่นๆ อาการกล้ามเนื้อสำหรับกัดโต โรคกล้ามเนื้อยืดตัวเกิน โรคเส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อกลุ่มบดเคี้ยว-พังผืดเจริญเติบโตผิดปกติ โรคข้อต่อขากรรไกร (บทความอ้างอิง 13-29) เราทำการวิจัยสรีรวิทยาเชิงไฟฟ้า (electrophysiology) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัญญาณสมอง (ศักย์ไฟฟ้าของสมองเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ การเปลี่ยนแปลงเชิงลบของเยื่อหุ้มสมอง ศักย์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำโดยประสาทสัมผัส) คลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อวัดที่ผิว คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อวัดด้วยเข็ม คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเหนี่ยวนำ) คลื่นแม่เหล็กสมอง (magnetoencephalography (MEG)) (สนามแม่เหล็กของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ สนามแม่เหล็กของสมองเหนี่ยวนำโดยประสาทสัมผัส) การวิเคราะห์จำแนกสเปกตรัมอินฟราเรดชนิดใกล้ และการใช้เครื่องมือวัดที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองอื่นๆ (บทความอ้างอิง 15, 16, 19, 21-27) เราทำการวิจัยเพื่อศึกษาว่าการรับรู้ผ่าน ขากรรไกรล่าง การบดเคี้ยว การเคลื่อนไหวของลิ้นหรือริมฝีปาก ลิ้น เหงือกและเพดานปาก ถูกปรับอย่างไรในประสาทส่วนกลาง และจะสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงของโรคในขอบเขตของช่องปากและขากรรไกรได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น (basal ganglia) ศักย์ไฟฟ้าของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ซึ่งเป็นกิจกรรมของเขตสั่งการเสริม (SMA) และการเตรียมตัวเคลื่อนที่ของปมประสาทในสมองใหญ่ จะมีค่าสูงไล่จาก การปิดปาก การเปิดปาก ด้านขวา ด้านซ้าย ตามลำดับ (เอกสารอ้างอิง 15, 16, 19) และมีการรายงานว่าจะมีค่าต่ำลงเมื่อเป็นดิสโทเนียปากและขากรรไกร (เอกสารอ้างอิง 19, 21) นอกจากนี้ พบว่ามีการตอบสนองกับเขตประสาทสัมผัสทุติยภูมิทั้งสองด้าน โดยใช้เครื่องวัดคลื่นแม่เหล็กสมอง บันทึกปฏิกิริยาจากการกระตุ้นกระดูกเพดานปากเป็นสนามแม่เหล็กสมองเชิงการรับรู้ของร่างกาย (เอกสารอ้างอิง 23) และยังมีการรายงานถึงการรับรู้ของลิ้นโดยใช้เครื่องวัดสัญญาณแม่เหล็กสมอง (เอกสารอ้างอิง 27, 29)

VI. บทความอ้างอิง

1. Yoshida K, Inoue H. EMG activity of the superior and inferior heads of the human lateral pterygoid muscles in internal deranged patients. Advanced Prosthodontics Worldwide, Proceedings of the World Congress on Prosthodontics, 258-259, 1991.

2. Yoshida K, Fukuda Y, et al. A method for inserting the EMG electrode into the superior head of the human lateral pterygoid muscle. Journal of Japan Prosthodontic Society, 36: 88-93, 1992.

3. Yoshida K. An electromyographic study on the superior head of the lateral pterygoid muscle during mastication from the standpoint of condylar movement. Journal of Japan Prosthodontic Society, 36: 110-120, 1992.

4. Yoshida K, Inoue H. An electromyographic study of the lateral pterygoid muscles during mastication in patients with internal derangement of TMJ. Journal of Japan Prosthodontic Society, 36: 1261-1272, 1992.

5. Yoshida K. Untersuchung zum Entlastungsreflex von Kaumuskeln während des Zerbeißens von Nahrung. Deutsche Zahnärztliche Zeitschrift, 48: 588-590, 1993.

6. Yoshida K. An electromyographic study on unloading reflex of the masticatory muscles. Journal of Japan Prosthodontic Society,37: 227-235, 1993.

7. Yoshida K. Elektromyographische Aktivität der Kaumuskeln während Kiefergelenkknacken.Schweizer Monatsschrift für Zahnmedizin, 105: 24-29, 1995.

8. Yoshida K. Elektromyographische Aktivität des M. pterygoideus lateralis bei Patienten mit Kiefergelenkknacken und Diskusverlagerung. Deutsche Zahnärztliche Zeitschrift, 50: 721-724, 1995.

9. Yoshida K. Kiefergelenkknacken und Diskusverlagerung aus der Sicht der Elektromyographie der Kaumuskeln. In: Siebert GK (ed): Atlas der Zahnärztlichen Funktionsdiagnostik, Carl Hanser, München, 44-50, 1996.

10. Yoshida K. Masticatory muscle responses associated with unloading of biting force during food crushing. Journal of Oral Rehabilitation, 25: 830-837, 1998.

11. Yoshida K. Koordination der Kaumuskeln während der Kaubewegung aus der Sicht der Kondylusbewegung bei Patienten mit Diskusdislokation. Deutsche Zahnärztliche Zeitschrift, 52: 816-820, 1998.

12. Yoshida K. Eigenschaften der Kaumuskelaktivität während verschiedenen Unterkieferbewegungen bei Patienten mit Diskusverlagerung ohne Reposition. Stomatologie, 96: 107-121, 1999.

13. Yoshida K, Kaji R, et al. Muscle afferent block for the treatment of oromandibular dystonia. Movement Disorders, 13: 699-705, 1998.

14. Yoshida K, Kaji R, et al. Muskelafferenzblockierung mittels lokaler Injektion von Lidocain bei Kaumuskelspasmus. Deutsche Zahnärztliche Zeitschrift, 53: 197-199, 1998.

15. Yoshida K, Kaji R, et al. Cortical potentials associated with voluntary mandibular movements. Journal of Dental Research, 79: 1514-1518, 2000.

16. Yoshida K, Kaji R, et al. Cortical distribution of Bereitschaftspotential and negative slope potential preceding mouth opening movements in human subjects. Archives of Oral Biology, 44: 183-190, 1999.

17. Yoshida K, Kaji R, et al. Muscle afferent block therapy for oromandibular dystonia. Japanese Journal of Oral and Maxillofacial Surgery, 46: 563-571, 2000.

18. Yoshida K, Kaji R, et al. Factors influencing the therapeutic effect of muscle afferent block for oromandibular dystonia: implications their distinct pathophysiology. International Journal of Oral and Maxillofacial Surgery, 31, 499-505, 2002.

19. Yoshida K, Kaji R, et al. Movement-related cortical potentials prior to jaw excursions in patients with oromandibular dystonia. Movement Disorders, 18, 94-100, 2003.

20. Yoshida K. Muskelafferentzblockierung in der Behandlung der oromandibulären Dystonie -Unterschiedliche Wirkung auf Kau- und Zungenmuskulatur-. Nervenarzt, 74: 516-522, 2003.

21. Yoshida K, Iizuka T. Jaw-deviation dystonia evaluated by movement-related cortical potentials and treated with muscle afferent block. Journal of Craniomandibular Practice, 21, 295-300, 2003.

22. Yoshida K. Temporomandibular joint disorders and sleep. Iizuka T, Inoue H (eds), Manual of Temporomandibular Joint Disorders. Nagasue, Kyoto, 186-193, 2004.

23. Yoshida K, Maezawa H, et al. Somatosensory evoked magnetic fields to air-puff stimulation on the soft palate. Neuroscience Research, 2006 55, 116-122, 2006.

24. Yoshida K, Iizuka T. Botulinum toxin treatment for upper airway collapse resulting from temporomandibular joint dislocation due to jaw-opening dystonia. Journal of Craniomandibular Practice, 24 217-222, 2006.

25. Yoshida K. Coronoidotomy as treatment for trismus due to jaw-closing oromandibular dystonia. Movement Disorders, 21, 1028-1031, 2006.

26. Miyawaki S, Yoshida K. Involuntary movements in the orofacial region. Cyclopedia of Mouth and Teeth. Asakura, Tokyo, 282-296, 2008.

27. Maezawa H, Yoshida K, et al. Somatosensory evoked magnetic fields following the tongue stimulation using needle electrodes. Neuroscience Research, 62, 131-139, 2008.

28. Maezawa H, Matsuhashi M, Yoshida K, et al. The magnetic artifacts derived from dental metals in magnetoencephalography. Japanese Journal of Cognitive Neuroscience, 11: 258-267, 2010.

29. Maezawa H, Yoshida K, et al. Evaluation of tongue sensory disturbance by somatosensory evoked magnetic fields following tongue stimulation. Neuroscience Research, 71, 244-250, 2011.

30. Maezawa H, Tojyo I, Yoshida K, et al. Recovery of impaired somatosensory evoked fields induced by tongue stimulation after improvement of tongue sensory deficits. Journal of Oral and Maxillofacial Surgery. 74, 1473-1482, 2016.

31. Yoshida K. Surgical intervention for oromandibular dystonia-related limited mouth opening: long-term follow-up. Journal of Cranio Maxillofacial Surgery. 45, 56-62, 2017.

32. Yoshida K. How do I inject botulinum toxin into the lateral and medial pterygoid muscles? Movement Disorders Clinical Practice 4, 285, 2017 doi:10.1002/mdc3.12460

33. Yoshida K. Clinical and phenomenological characteristics of patients with task-specific lingual dystonia: possible association with occupation. Frontiers in Neurology. 8, 649, 2017 doi:10.3389/fneur.2017.00649

34. Yoshida K. Sensory trick splint as a multimodal therapy for oromandibular dystonia. J Prosthodont Res. 62, 239-244, 2018 doi:10.1016/j.jpor.2017.09.004

35. Yoshida K. Computer-aided design/computer-assisted manufacture-derived needle guide for injection of botulinum toxin into the lateral pterygoid muscle in patients with oromandibular dystonia. Journal of Oral & Facial Pain and Headache. 32, e13-e21, 2018 doi: 10.11607/ofph.1955

36. Yoshida K. Multilingual website and cyberconsultations for oromandibular dystonia. Neurology International. 10, 7536, 2018 doi: 10.4081/ni.2018.7536

37. Yoshida K. Botulinum neurotoxin injection for the treatment of recurrent temporomandibular joint dislocation with and without neurogenic muscular hypertrophy. Toxins. 10, 174; doi: 10.3390/toxins10050174

38. Yoshida K. Oromandibular dystonia screening questionnaire for differential diagnosis. Clinical Oral Investigation. 23, 405–411, 2019. doi: 10.1007/s00784-018-2449-3

39. Yoshida K. Botulinum neurotoxin therapy for lingual dystonia using an individualized injection method based on clinical features. Toxins. 11, 51, 2019. doi: 10.3390/toxins11010051

40. Yoshida K. Development and validation of a disease-specific oromandibular dystonia rating scale (OMDRS). Frontiers in Neurology. 11, 583177, 2020. doi: 10.3389/fneur.2020.583177

41. Yoshida K. Sphenopalatine ganglion block with botulinum neurotoxin for treating trigeminal neuralgia using CAD/CAM-derived injection guide. Journal of Oral & Facial Pain Headache. 34, 135–140, 2020. doi: 10.11607/ofph.2510

42. Yoshida K. Clinical characteristics of functional movement disorders in the stomatognathic system. Frontiers in Neurology. 11: 23, 2020. doi: 0.3389/fneur.2020.00123

43. Yoshida K. Mouth opening retaining appliance after coronoidotomy for the treatment of trismus: effects on pain during postoperative training and maximal extent of mouth opening. Clinics in Surgery. 5, 2737, 2020.

44. Yoshida K. Prevalence and incidence of oromandibular dystonia: an oral and maxillofacial surgery service-based study. Clinical Oral Investigation. 25, 5755-5764, 2021. doi: 10.1007/s00784-021-03878-9

45. Yoshida K. Effects of botulinum toxin type A on pain among trigeminal neuralgia, myofascial temporomandibular disorders, and oromandibular dystonia. Toxins. 13, 605, 2021. doi: 10.3390/toxins13090605

46. Yoshida K. Behandlungsstrategien bei oromandibulärer Dystonie. Fortschritte der Neurologie Psychiatrie. 89, 562-572, 2021. doi: 10.1055/a-1375-0669

47. Yoshida K. Is botulinum toxin therapy effective for bruxism? Anti-Aging Medicine. 13: 394-398, 2017.

48. Yoshida K. Clinical Application of Botulinum Neurotoxin for Diseases in the Stomatognathic System. Journal of Japanese Dental Society of Anesthesiology. 48, 33‒40, 2020.doi: https://doi.org/10.24569/jjdsa.48.2_33

49.Yoshida K. Oromandibular dystonia. Clinical Neuroscience. 38, 1118-1121, 2020.

บทความทางวิชาการข้างต้นนี้เป็นบทความเด่นของของข้าพเจ้าเกี่ยวกับการศึกษาการเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุม บทความอื่นๆมีลงอยู่ใน ResearchGate การวิจัยเกี่ยวกับโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับได้รับการรวบรวมไว้ในเว็บไซต์ Treatment and research of sleep apnea syndrome from clinical and neurophysiological aspects in the stomatognathic system. ท่านผู้ที่สนใจกรุณาอ้างอิงได้จากที่นี่

1. หนังสืออ้างอิง

1. Principles and Practice of Movement Disorders: Expert Consult. Fahn S, Jankovic J, Hallett M, Saunders, 2011.

2. Psychogenic Movement Disorders and Other Conversion disorders. Hallett M, Lang AE, Jankovic J, Fahn S, Cambridge University Press, 2011.

3. Movement Disorders: 100 Instructive Cases. Reich SG, CRC Press, 2008.

4. Manual of Botulinum Toxin Therapy. Truong D, Dressler D, Hallett M, Cambridge University Press, 2009.

2. ลิงก์ (เกี่ยวกับดิสโทเนีย)

•การประชุมวิชาการและหน่วยงานวิจัย

The Movement Disorder Society

American Academy of Neurology

World Federation of Neurology

International Federation of Neurology

National Institute of Neurological Disorders and Stroke

UCL Institute of Neurology

BCM Parkinson's Disease Center and Movement Disorders Clinic

Societas Neurologica Japonica

Japanese Society of Clinical Neurophysiology

Movement Disorder Society of Japan

•ชมรมผู้ป่วย

Dystonia Medical Research Foundation

WE MOVE

Bachmann-Strauss Dystonia & Parkinson Foundation

Benign Essential Blepharospasm Research Foundation (BEBRF)

National Spasmodic Torticollis Association (NSTA)

Spasmodic Torticollis/Dystonia, Inc.

The Dystonia Society

Action for Dystonia, Diagnosis, Education and Research (ADDER)

Dystonia Europa

Australian Spasmodic Torticollis Association

Blepharospasm Australia

Dystonia Ireland

Dystonian Friends Association

Deutsche Dystonie Gesellschaft e.V.

Bundesverband Torticollis e. V.

Österreichische Dystonie Gesellschaft

Schweizerische Dystonie-Gesellschaft

Association de Malades atteints de Dystonie (AMADYS)

Asociación de Lucha contra la Distonia en España (ALDE)

Associazione Italiana per la Ricerca sulla Distonia (ARD)

Associacao Brasileira dos Portadores de Distonias

Associação Portuguesa de Distonia

Nederlandse Vereniging van Dystoniepatiënten

Belgische Zelfhulpgroep voor Dystoniepatienten v.z.w.

Svensk Dystoniförening

Dansk Dystoniforening

Norsk Dystoniforening