วิธีการรักษาโดยฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อบล็อคการทำงานของกล้ามเนื้อ (MAB)

วิธี MAB เป็นการฉีดยาชาเฉพาะที่ (0.5% ลิโดไคน์ lidocaine: ไซโลไคน์ บริษัทแอสตราเซเนกา) เพื่อที่จะ ลดประสิทธิภาพของ afferents ที่ปรับความตึงเครียดของกล้ามเนื้อโดยให้น้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อคลางความตึงเครียดลง (บทความอ้างอิง 13, 14, 17, 18, 20-22, 26) การลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อจะทำให้อาการที่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อทำงานมากเกินไปเช่น อุปสรรคในการเปิดปาก อาการปวด อุปสรรคในการออกเสียง อุปสรรคในการบดเคี้ยว ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการฉีดbotulinum toxinแล้ว วิธีนี้เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และไม่ทำให้เกิดความอ่อนแอของกล้ามเนื้อมากจนเกินไป นอกจากนี้ยังเป็นวิธีรักษาเพียงอย่างเดียวสำหรับผู้ที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้าน botulinum toxin การรักษาทำอาทิตย์ละ1-2ครั้ง หลังจากทำการรักษาประมาณ 10 ครั้ง จะทำการสังเกตผล กรณีตัวอย่างที่เห็นผลของการรักษา อาการจะดีขึ้นทันทีหลังจากเริ่มทำการรักษา แต่ระยะเวลาที่ออกฤทธิ์จะสั้น ตัวอย่างที่ได้ผลจะค่อยๆออกฤทธิ์ในระยะเวลาที่นานขึ้น กลไกของการรักษาด้วยวิธีนี้ คือการบล็อกประสาทที่กระจายตัวอยู่บริเวณมัดกล้ามเนื้อและทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียด จะให้ผลดีมากกับกล้ามเนื้อที่ใช้ในการปิดปากซึ่งมีมัดกล้ามเนื้อมาก (กล้ามเนื้อสำหรับกัด กล้ามเนื้อขมับ กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านใน) แต่จะไม่ค่อยให้ผลกับกล้ามเนื้อที่ไม่มีมัดกล้ามเนื้อหรือมีมัดกล้ามเนื้อน้อย เช่นกล้ามเนื้อที่ใช้แสดงความรู้สึก หรือกล้ามเนื้อขากรรไกรdigastric (บทความอ้างอิง 17, 19)

•การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (EMG)

ในการตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็ง เราจะใช้ขั้วไฟฟ้าชนิดแผ่นคล้ายเทปสำหรับกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณผิวของหน้า เช่นกล้ามเนื้อสำหรับกัด หรือกล้ามเนื้อขมับ และใช้ขั้วไฟฟ้าชนิดเข็มที่มีขนาดเล็กกว่าเข็มฉีดยาสำหรับกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกลงไปเช่น กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านนอก, กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านใน, กล้ามเนื้อลิ้น การใช้ขั้วไฟฟ้าชนิดแผ่นไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดแต่การใช้ขั้วไฟฟ้าชนิดเข็มจะเจ็บเล็กน้อย กล้ามเนื้อที่ฉีดรักษาส่วนใหญ่ คือ กล้ามเนื้อสำหรับกัด กล้ามเนื้อขมับ กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านนอก กล้ามเนื้อ pterygoid ด้านใน กล้ามเนื้อลิ้น กล้ามเนื้อคอส่วนนอกsternocleidomastoid เป็นต้น (รูปที่ 7) เราจะตัดสินว่าจะฉีดกล้ามเนื้อหรือไม่โดยพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยแต่ละรายและคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ ก่อนจะทำการรักษาเราจะบันทึก การประเมินผลด้วยตนเองของปริมาณการเปิดปาก แรงในการกัด และความเจ็บปวด

•การฉีดยา

การฉีดยาชาเฉพาะที่จะใช้ยาประมาณ 2-10 มล. โดยจะดูให้แน่ใจว่าปลายเข็มฉีดยาอยู่ภายในกล้ามเนื้อที่กำลังแข็งเกร็งผ่านทางเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ ขณะฉีดยาจะเจ็บเล็กน้อย จากนั้นจะดูผลและระยะเวลาที่ออกฤทธิ์พร้อมกับเติมเอทานอลลงไปในยาชาเฉพาะที่เล็กน้อย ผลของการฉีดแตกต่างกันค่อนข้างมากแล้วแต่ผู้ป่วย จึงใช้ปริมาณน้อยในตอนแรก

•การติดตามดูผล

การฉีดรักษาจะให้ผลทันทีหลังจากฉีด แต่ระยะเวลาออกฤทธิ์ในตอนแรกจะสั้น หลังจากฉีดรักษาซ้ำหลายครั้ง ผลการออกฤทธิ์จะดีขึ้น ในครั้งแรกจะฉีดกล้ามเนื้อประมาณ1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ หลังจากฉีดรวมเกิน10 ครั้งจะฉีดรักษาอาทิตย์ละครั้ง หรือเดือนละครั้ง ระยะเวลาในการออกฤทธิ์โดยทั่วไปอย่างน้อยจะนานถึง3-4เดือน และหมดฤทธิ์ยา แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจออกฤทธิ์ต่อไปได้เรื่อยๆ หลังจากการรักษาเราจะทำการวัดปริมาณการเปิดปาก และแรงในการกัด เพื่อประเมินผลการรักษา บางครั้งอาจต้องฉีดยาซ้ำขึ้นอยู่กับขั้นตอน

รูปที่ 7. กล้ามเนื้อที่อาจเกิดการเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุม นอกจากนี้ยังอาจมีการหดตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการแสดงความรู้สึกบริเวณใบหน้า กล้ามเนื้อลิ้นขากรรไกรล่าง กล้ามเนื้อเพดานปาก

1: กล้ามเนื้อกระดูกแก้มzygomaticus, 2: กล้ามเนื้อรอบปากorbicularisoris, 3: กล้ามขากรรไกรล่างmentalis, 4: กล้ามเนื้อสำหรับกัดmasseter, 5: กล้ามเนื้อขมับtemporalis, 6: กลุ่มcoronoid, 7: กล้ามเนื้อขากรรไกรdigastricหลัง, 8: กล้ามเนื้อขากรรไกรdigastricหน้า, 9: กล้ามเนื้อแก้มbuccinators, 10: กล้ามเนื้อคอส่วนนอกsternocleidomastoid, 11: กล้ามเนื้อtrapezius, 12: กล้ามเนื้อplatysma, 13: กล้ามเนื้อpterygoid ด้านใน, 14: กล้ามเนื้อpterygoidด้านนอก

Home