สิ่งเหนี่ยวนำและสาเหตุ

การเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุม (involuntary movement) หมายถึง การไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ หรือควบคุมได้เฉพาะบางส่วน อาการกล้ามเนื้อบิดเกร็งหรือเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมนั้นพบเห็นได้หลายลักษณะ เช่น ดิสคีเนเซีย ดิสโทเนีย กล้ามเนื้อกระตุก (tics) สั่น (tremor) กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างต่อเนื่อง (athetosis) เขม่น (myokymia) กระตุกในระยะเวลาสั้น ๆ (myoclonus) และโรคชักกระตุก (chorea) ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดอาการกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวโดยไม่ตั้งใจนี้แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าดิสโทเนียเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของเบซัลแกงเกลีย (basal ganglia) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว อาการเหล่านี้พบได้ในผู้ป่วยแผนกจิตเวชที่ใช้ยาต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และพบเห็นได้บ่อยในผู้ป่วยที่รับการรักษาทางทันตกรรม (ทำฟันปลอม ถอนฟัน) หรือผู้ป่วยที่ได้รับบาดแผลภายนอก แม้การรักษาทางทันตกรรมจะเป็นสิ่งเหนี่ยวนำให้เกิดอาการเหล่านี้ แต่ก็มิใช่สาเหตุโดยตรงของอาการ ผู้ป่วยที่มีอาการบิดเกร็งของกล้ามเนื้อนอกเหนือการควบคุมในช่องปากหรือขากรรไกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพยายามจะพูด มักมีอาชีพที่ต้องพูดเช่น รับโทรศัพท์ พนักงานต้อนรับ พนักงานขาย โฆษก พิธีกร ผู้ประกาศข่าว และครูอาจารย์ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย จึงเป็นไปได้ว่าการต้องพูดในสภาพที่มีความเครียดต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดดิสโทเนีย และอาจกล่าวได้ว่าอาการเหล่านี้เป็น “โรคดิสโทเนียที่เกิดจากลักษณะวิชาชีพ” จำพวกหนึ่ง ซึ่ง “โรคดิสโทเนียที่เกิดจากลักษณะวิชาชีพ” นั้นก็คือดิสโทเนียชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อแบบเดียวกันซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานเกินไประหว่างการประกอบอาชีพ จนเป็นเหตุให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก เช่น นักดนตรีหรือ ช่างฝีมือ

Home