ลักษณะอาการกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมและความผิดปกติอื่น ๆ

เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณรอบช่องปากและขากรรไกรเกิดอาการบิดเกร็งและเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมเนื่องด้วยสาเหตุบางประการ อาจก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตได้มากมาย เช่น ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ (masticatory disturbance) เปิดปากไม่ได้ (trismus) กราม ปาก ลิ้น ริมฝีปากเคลื่อนไหวเองนอกเหนือการควบคุม (involuntary movement) มีอาการสั่นเกร็ง ปวดกล้ามเนิ้อ ปิดปากไม่ได้ (trismus) กรามค้าง (jaw deviation) กลืนอาหารลำบาก (dysphagia) หรือ มีปัญหาในการพูด (dysarthria) กลุ่มอาการเหล่านี้พบเห็นได้ในผู้ป่วยโรคดิสโทเนียในช่องปากและ/หรือขากรรไกร (oromandibular dystoria)โรคข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joints disorders) โรคดิสคีเนเซีย, อาการนอนกัดฟัน (bruxism), โรคปวดกล้ามเนื้อ (fibromyalgia), โรคกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวผิดปกติอันเนื่องมาจากสาเหตุทางจิต (psychogenic movement disorder) และโรคเส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อกลุ่มบดเคี้ยว-พังผืดเจริญเติบโตผิดปกติ (masticatory muscle tendon-aponeurosis hyperplasia) เป็นต้น อาจพบอาการเพียงอย่างเดียวจากกลุ่มอาการเหล่านี้ หรือพบว่ามีความผิดปกติแทรกซ้อนสองอาการขึ้นไปพร้อมกันก็ได้ กล้ามเนื้อบริเวณรอบช่องปากและขากรรไกรนี้เกิดภาวะเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมได้หลากหลายรูปแบบ ในปัจจุบัน ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งยังไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรับการบำบัดรักษาอย่างเหมาะสม จนเป็นเหตุให้มีอาการทรุดหนักลง ยกตัวอย่างเช่น กรณีของผู้ป่วยซึ่งมีอาการปิดปากไม่ได้อันเป็นลักษณะที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยดิสโทเนียในช่องปาก ซึ่งข้าพเจ้าเคยรักษามานั้น กว่า 80 % จะเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคกับทันตแพทย์หรือกับศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคในช่องปากก่อนเป็นแห่งแรก และได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อต่อขากรรไกร อาการนอนกัดฟัน หรือ ข้อต่อขากรรไกรแข็งเกร็ง (temporomandibular joint ankylosis) แต่ไม่มีแม้แต่รายเดียวที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นดิสโทเนียในช่องปาก เนื่องจากไม่มีการสอนเกี่ยวกับเกี่ยวกับอาการกล้ามเนื้อบิดเกร็งหรือเคลื่อนไหวนอกเหนือการควบคุมอื่น ๆในหลักสูตรทันตแพทย์ นอกเหนือไปจากอาการนอนกัดฟันและดิสคีเนเซีย สาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของดิสโทเนียทันต์แพทย์เองด้วย

Home