ไก่พื้นเมือง

ความสำคัญของไก่พื้นเมือง

ปัจจุบันประชาชนนิยมรับประทานไก่พื้นเมืองกันมาก แม้ว่าประชาชนจะนิยมเลี้ยงกันอยู่ทั่วไปก็ตาม แต่ไก่พื้นเมือง ก็ยัง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด หรือประชาชนผู้รับประมาณเนื้อไก่พื้นเมือง ทั้งนี้เพราะผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองในชนบทโดยทั่วไป ใช้วิธีการเลี้ยงแบบปล่อยให้ไก่พื้นเมืองหากินเองตามธรรมชาติ และเลี้ยงเป็นจำนวนน้อย จะให้อาหารบ้างเป็นบางครั้งคราว จึงทำให้ไก่พื้นเมืองเจริญเติบโตช้าและเป็นโรคตายจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ไก่พื้นเมืองมีลักษณะเด่น คือ เลี้ยงง่าย มีความต้านทานโรคสูง เนื้อเป็นที่นิยมรับประทาน เพราะมีรสชาติดีดังนั้น หากผู้ที่เลี้ยงไกพื้นเมืองมีการศึกษาวิธีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ให้เข้าใจ พร้อมทั้งมีการดูแลป้องกันรักษาการเกิดโรคต่างๆ ก็จะทำให้ผลผลิตไก่พื้นเมืองดีขึ้น สามารถจำหน่ายได้ราคาดี เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอีกทางหนึ่งด้วย หากมองให้กว้างๆออกไปอีกไก่พื้นเมืองจะช่วยให้ธรรมชาติมีความสมดุลในระบบไร่นา คือ จะช่วยจิกกินแมลงที่ทำลายต้นพืชบางอย่างการ

ต้นกำเนิดไก่พื้นเมือง

ไก่พื้นเมืองตามประวัติศาสตร์ มีรายงานไว้เป็นไก่ที่มีต้นกำเนิดมาจากไก่ป่าในแถวทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย และจีนตอนใต้ ซึ่งมนุษย์ได้นำมาเป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน หลังจากที่มนุษย์นำไก่มาเลี้ยง ไก่และมนุษย์ดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ไก่อาศัยการเลี้ยงดูและการป้องกันอันตรายจากมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์อาศัยไก่และไข่เป็นอาหาร เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เรียกว่าเป็นขบวนการวิวัฒนาการของสัตว์และมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง การวิวัฒนาการของไก่เป็นไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์เจ้าของซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ บางปีเกิดภัยธรรมชาติรุนแรง สัตว์เลี้ยงตายลง หรือมีโรคระบาดรุนแรง ไก่จะตายมากแต่ไม่ตายหมด จะมีเหลือให้ขยายพันธุ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะเหลือต่ำ 10 % ซึ่ง จำนวนนี้จะขยายพันธ์เพิ่มจำนวน ตัวที่แข็งแรงทนทานเท่านั้นจึงจะอยู่รอดเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติ จนเป็นไก่พื้นเมืองสืบทอดมาให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุกวันนี้ จึงเป็นมรดกวัฒนธรรมจนเป็นไก่พื้นเมืองสืบทอดมาให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุก วันนี้ และเป็นมรดกวัฒนธรรมและเทคโนโลยีชีวภาพที่หลากหลายเป็นทรัพย์สินภูมิปัญญา ของชาวบ้านโดยแท้ ชาวบ้านจดจำและเข้าใจการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและไก่พื้นเมืองควบคู่กันตลอด มา ส่วนใหญ่แล้วคนจะอาศัยไก่มากกว่าไก่อาศัยคน คือ ไก่สามารถคุ้นเขี่ยหากินเองได้ตามธรรมชาติ ส่วนคนเมื่อไม่มีอาหารและไม่มีเงินใช้เล็กๆ น้อยๆ ก็จะต้องอาศัยไก่เป็นผู้ให้

ดังนั้นไก่พื้นเมืองจึงเป็นไก่ที่วัฒนาการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพันธุ์มาโดยอาศัยพื้นฐานของธรรมชาติเป็นหลัก จึงทำให้ไก่พื้นเมืองมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะมีจุดเด่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น ความต้านทานโรคและแมลง สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูของเกษตรกรในชนบทโดยเฉพาะรายย่อย จึงเหมาะที่จะทำการอนุรักษ์ และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เช่น ความต้านทานโรคและแมลง สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูของเกษตรกรในชนบทโดยเฉพาะรายย่อย จึงเหมาะที่จะทำการอนุรักษ์และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

พันธุ์ไก่พื้นเมือง

ไก่ถูกจัดอยู่ในสัตว์ปีกจำพวกนก แต่เดิมนั้นเป็นไก่ป่า (Red Jungle fowl) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว ไก่พื้นเมืองของไทยมีการเลี้ยงกระจายอยู่ทั่วไปตามหมู่บ้านของเกษตรกร ซึ่งจำแนกตามลักษณะ ภายนอกและสีขน แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม

ไก่พื้นเมืองในชนบทหมู่บ้านต่างๆ มีหลากหลายพันธุ์ เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง และไก่ชน โดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้ว ไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านจะเป็นสายพันธุ์ไก่ชน สังเกตได้จากแม่ไก่จะมีขนสีดำ หน้าดำและแข้งดำ หงอนหิน แต่จะมีพันธุ์บางส่วนที่มีสีเทา สีทอง แต่หงอนก็ยังเป็นหงอนหิน ซึ่งก็เป็นลักษณะหงอนของไก่ชนอยู่ดี เหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ไก่ชน เพราะว่าไก่ชนจะมีรูปร่างใหญ่และยาว เจริญเติบโตได้ดีและแม่พันธุ์ก็ไข่ดก เนื่องมาจากนักผสมพันธุ์ไก่ชนได้คัดเลือกลักษณะดีเด่นไว้อย่างต่อเนื่องนับร้อยปีมาแล้ว เกษตรกรเพื่อนบ้านจะขอซื้อ ขอยืมหรือขอไปขยายพันธุ์แบบเป็นคนรู้จักมันคุ้นกันและกัน ก็ทำให้สายพันธุ์ศาสตร์ พบว่าไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลี้ยงปล่อยตามธรรมชาติการเจริญเติบโตในระยะอายุ 4 เดือนแรก เฉลี่ยใกล้เคียงกันมาก คือ เติบโตวันละประมาณ 9-10 กรัมเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าไก่พื้นเมืองเหล่านี้เป็นสายพันธุ์ไก่ชนจาก 17 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่การปรับปรุงพันธุ์ไม่ได้เน้นในด้านการชนเก่งแต่เน้นในด้ายการเจริญเติบโต และไข่ดกเพื่อให้สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว สำหรับไก่ชนไทยแท้สีขนแยกได้หลากหลายถึง 17 สีขน เช่น เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เหลืองเลา ประดู่เลา แสมดำ เป็นต้น

เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีประโยชน์ ดังนี้

1. ทำให้ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีอาหารที่ดีมีคุณภาพไว้รับประทานเนื้อไก่พื้นเมืองและไข่ไก่พื้นเมืองทำให้เด็กเจริญเติบโตเร็ว และช่วยบำรุงสมองให้มีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด

2. ทำให้ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเงินไปซื้อเนื้อไก่พื้นเมืองและไข่ไก่พื้นเมืองมารับประทาน สามารถเอาเงินนั้นเก็บไว้ซื้อสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นและหากผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองเลี้ยงไว้จนเหลือรับประทานแล้วก็สามารถนำไก่พื้นเมืองไปขายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวด้วยอีกทางหนึ่ง

3. มูลไก่เป็นปุ๋ยคอกที่มีธาตุอาหารของพืชสูง มูลไก่เป็นผลพลอยได้อย่างหนึ่งของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เป็นปุ๋ยต้นไม้ต่าง ๆ ได้ดี และเป็นอาหารเลี้ยงปลาก็ได้ เนื่องจากมูลไก่พื้นเมืองมีธาตุอาหารมากมาทั้งไนโตรเจน โปรตีน แคลเซียม และฟอสฟอรัส

4. ไก่พื้นเมืองสามารถเลี้ยงเป็นอาชีพได้ เนื่องจากไก่พื้นเมืองขายได้ราคาดีมากทั้งตัวผู้และตัวเมีย หรือสามารถเลี้ยงเป็นงานอดิเรกก็ได้ ซึ่งก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มพูนยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

5. ไก่พื้นเมืองเลี้ยงง่ายและมีความต่างทานโรคสูง สามารถปล่อยให้หากินอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเลี้ยงดูเหมือนไก่พันธุ์อื่น ๆ

6. การเลี้ยงไก่พื้นเมืองสามารถช่วยแก้ความเครียด ความหงุดหงิดได้ เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ได้เป็นอย่างดี และเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์