6.2 การจัดทำแผนธุรกิจ

เรื่องที่ 2 การจัดทำแผนธุรกิจ

ใบความรู้เรื่อง การประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับประสบการณ์ตนเอง จัดทำ กรอบความคิดแผนธุรกิจที่เหมาะสมกับตนเอง

โครงสร้างแผนธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

การทำธุรกิจ หมายถึง การงานประจำเกี่ยวกับการทำมาหากิน ค้าขายแลกเปลี่ยน จากความหมายดังกล่าว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ ระบุพัฒนาการของการทำมาหากินไว้เป็นระดับ ตั้งแต่ (1) ทำให้พออยู่พอกิน (2) ทำให้อยู่ดีมีสุข และเข้าสู่ (3) ความมั่งมีศรีสุข การทำมาหากิน ค้าขาย แลกเปลี่ยนหรือที่เรียกว่า ธุรกิจนั้น จำเป็นที่จะต้องมีแผนในทุกระดับ เช่น

1.1 แผนธุรกิจเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกิน เป็นการทำธุรกิจเพื่อนำพาชีวิตครอบครัวให้รอดพ้นจากความขาดแคลนและอดอยากสู้ชีวิตให้อยู่ได้ร่วมกันของคนในชุมชน

1.2 แผนธุรกิจเศรษฐกิจพอเพียงระดับอยู่ดีมีสุข เป็นการทำธุรกิจหารายได้ที่ใช้ความเอื้ออาทรของสังคมเป็นฐานในการขับเคลื่อนมีลักษณะในการสร้างทางธุรกิจดังนี้

1.3 แผนธุรกิจเศรษฐกิจพอเพียงระดับมั่งมีศรีสุข เป็นธุรกิจที่ต้องมีความเฉพาะตัวตรงกับความต้องการของลูกค้า ต้องเชื่อมโยงกับสถาบันทางการเงิน ต้องสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ต้องเทียบเคียงแข่งดีกับธุรกิจประเภทเดียวกันเพื่อยกระดับคุณภาพผลผลิต ขยายตลาดและส่วนแบ่งตลาดให้มีรายได้พอเพียงกับการดำรงและขยายธุรกิจออกไปอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อเนื่องไป ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างของแผนธุรกิจดังนี้

จากโครงสร้างแผนธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 3 ระดับ ตั้งแต่ทำเพื่อให้พอเพียงกับการดำรงชีวิตให้อยู่รอดไม่อดอยาก ไปสู่การยกระดับความคิดการกระทำใช้ชีวิตอยู่ดีมีสุข ซึ่งจะต้องมีรายได้ เพื่อมาพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และการส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษา และระดับสุดท้ายที่คนส่วนใหญ่ควรจะก้าวไปให้ถึงความมั่งมีศรีสุขที่สัมพันธ์กับสภาพเป็นจริงของตนเอง ซึ่งจะต้องเรียนรู้ระบบธุรกิจที่มีความซับซ้อนขึ้นไป

การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง และประสบการณ์ตนเองจัดทำกรอบความคิดแผนธุรกิจ

การจัดทำแผนธุรกิจในการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการเรียนรู้เพื่อการขยายอาชีพให้เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมั่งมีศรีสุขที่มีแผนงานโครงการขยายอาชีพ สร้างรายได้พอเพียงไปสู่ความมั่นคงได้ มีกรอบแนวคิดตามหลักความมีเหตุผล ความพอดี มีภูมิคุ้มกัน ความรอบรู้ และคุณธรรมดังนี้

2.1 กรอบแนวคิดในการใช้หลักความมีเหตุผล

เป็นการประยุกต์ความมีเหตุผลที่จะทำให้การขยายอาชีพประสบผลสำเร็จ ต้องการองค์ประกอบในการขยายอาชีพมาวิเคราะห์ด้วยตัวแปรด้านตนเอง สังคม วิชาการ มาหาเหตุผลให้กับตนเอง ดังนี้

2.2 กรอบแนวคิดในการใช้หลักความพอดี

เป็นการนำผลการคิดวิเคราะห์เหตุผลที่จะนำไปสู่ความสำเร็จมาคิดสังเคราะห์ กำหนดแผนทิศทางธุรกิจให้มีความถูกต้องพอดีกับสภาพที่เป็นจริงของตนเอง สังคม และวิชาการ โดยมีกรอบแนวคิดของการกำหนดทิศทางธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กรอบแนวคิดในการใช้หลักภูมิคุ้มกัน

เป็นการประยุกต์หลักภูมิคุ้มกันของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาวิเคราะห์กลยุทธ์ของแต่ละพันธกิจออกมาเป็นแผนกลยุทธ์ที่ถูกต้อง ธุรกิจมีความปลอดภัย โดยมีกรอบแนวคิดดังนี้

กรอบแนวคิดในการใช้ความรอบรู้

เป็นการประยุกต์หลักแห่งความรอบรู้ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการจัดการของอาชีพ ด้วยว่าเกณฑ์องค์ประกอบในระบบการบริหารจัดการคุณภาพกับแผนงานด้านต่างๆ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับความรู้อะไรที่เราจะต้องแสวงหาความรู้ให้เกิดความรอบรู้พอเพียงที่จะใช้ขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จโดยมีกรอบดังนี้

กรอบแนวคิดในการใช้คุณธรรม

เป็นการประยุกต์หลักแห่งคุณธรรมที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับการดำเนินธุรกิจที่ประกอบด้วยความขยันขันแข็ง ความประหยัดใช้ทรัพยากร ความซื่อสัตย์ต่อการดำเนินงาน และความอดทนต่อการควบคุมประคับประคองธุรกิจ โดยมีกรอบแนวคิดดังนี้

สรุป

การดำเนินการธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ระดับทำให้พออยู่พอกินพ้นความอดอยาก แบ่งปันผู้ที่ยังอดอยากได้ก้าวไปสู่การสร้างความอยู่ดีมีสุขที่จะต้องเพิ่มผลผลิต สร้างรายได้ให้พอเพียงกับการดำรงและพัฒนาคุณภาพชีวิต และเก็บออมสร้างทุนเพื่อก้าวย่างไปสู่ความมั่งมีศรีสุขที่สามารถขยายธุรกิจออกไปสู่ตลาดการแข่งขัน สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนของตนเอง เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชองชุมชน

การดำเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หากพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับขั้นตอนทางธุรกิจจะสรุปได้ว่า

1. การเริ่มต้นธุรกิจจะต้องเริ่มต้นที่ความมีเหตุมีผล ซึ่งเป็นเรื่องของข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ที่ผู้ทำธุรกิจจะต้องศึกษาความต้องการ แสวงหาความเข้าใจจนบอกได้ว่าจะทำอะไร เพราะอย่างไร

2. เมื่อรู้ว่าทำอะไร อย่างไร ก็จะต้องกำหนดความพอดีของภารกิจที่จะทำแต่ให้สัมพันธ์กับสภาพชีวิต ทุนต่างๆ ที่มีอยู่ไม่ทำอะไรเกินเลยจนสร้างความเดือนร้อนสู่ความล้มเหลวให้กับตนเอง

3. เมื่อรู้ว่าทำอะไรแค่ไหน จะต้องทำอย่างมีภูมิคุ้มกันให้ปลอดภัยไม่ล้มเหลว ด้วยการวางเป้าหมายการดำเนินงานและความคาดหวังต่างๆ ในรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคต่างๆ และทบทวนตรวจสอบความอยาก ความติดยึดในตัวเราให้ถ่องแท้

4. เมื่อกำหนดเป้าหมายความคาดหวังต่างๆ ของธุรกิจที่คาดว่ามีความปลอดภัยไม่ล้มเหลวชัดเจนแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการปฏิบัติการในธุรกิจ จะต้องทำแผนปฏิบัติการเข้าสู่การปฏิบัติจริง ขั้นตอนนี้จะต้องใช้องค์ความรู้ต่างๆ ในรูปของสหวิทยาการ ผู้ประกอบอาชีพจะต้องมีความรอบรู้ด้วยการแสวงหาความรู้ ทดลองตรวจสอบความรู้อย่างกระจ่างทุกด้านที่จะนำเข้ามาใช้ดำเนินการ

5. การดำเนินปฏิบัติการสู่ความสำเร็จให้ผู้ประกอบการจะต้องยืนอยู่บนฐานคุณธรรมที่เริ่มจากความขยัน ความประหยัด ความซื่อสัตย์และความอดทน