เรื่อง การตรวจสอบระบบความพร้อมการสร้างอาชีพให้มั่นคง

ใบความรู้ เรื่อง ความหมายและลักษณะองค์ประกอบในขอบข่ายอาชีพ

องค์ประกอบในระบบอาชีพ

จากแผนภูมิความสัมพันธ์องค์ประกอบภายในระบบอาชีพ มีองค์ประกอบที่สำคัญและส่งผลกระทบความมั่นคงของอาชีพ 4 องค์ประกอบด้วยกันคือ (1) ทุน (2) ผลผลิต (3) ลูกค้า และ (4) การเรียนรู้พัฒนาตนเองของสถานประกอบการ

ทุน

ในการประกอบอาชีพ การจัดการทุนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทุนจะต้องผันแปรสำคัญต่อความมั่นคงของอาชีพ ทุนมีหลายประเภทที่ผู้ประกอบอาชีพจะนำเข้ บูรณาการใช้ลงทุนประกอบการ เช่น

1. เงินทุน ได้มาจากการออม จากการสะสมทุน จากการกู้ยืมสถาบันการเงิน

2. ทุนที่ดิน เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ เป็นฐานการผลิตที่จะต้องมีการจัดการให้การใช้ที่ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ทุนทางสิ่งแวดล้อม เช่น การเกษตรอินทรีย์ ตั้งบนพื้นที่ป่าเขาโดยล้อม ทำให้ได้ความชื้นและปุ๋ยธรรมชาติมาตาม ลมและไหลมากับน้ำฝน ทำให้ลดต้นทุนเกี่ยวกับปุ๋ยหมักและจุลินทรีย์ลงได้

ผลผลิต

เป็นตัวเป้าหมายการประกอบอาชีพที่จะต้องมีมาตรฐาน ข้อกำหนดในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในรูปลายลักษณ์อักษร ในรูปของค่านิยมที่ยอมรับกันทั่วไปที่ผู้ผลิตจะต้องทำให้ได้ตามมาตรฐานในการจัดการให้เกิดผลผลิตมีองค์ประกอบร่วมอยู่หลายประการ เช่น

1. คุณภาพผลผลิต ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ค่านิยมของลูกค้า

2. กระบวนการผลิต ต้องสามารถลดต้นทุนได้

3. การจัดการผลผลิตส่งมอบให้ลูกค้าในสภาพที่มีคุณภาพให้มากที่สุด

4. ความปลอดภัยของผลผลิต

ลูกค้า

เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเพราะถ้าไม่มีลูกค้าก็จะไม่เกิดการหมุนเวียนทางรายได้ รูปแบบเศรษฐกิจจะเป็นการทำเพื่ออยู่เพื่อกิน แบ่งปันกันในชุมชน ประเทศชาติคงไม่มีรายได้มาพัฒนาประเทศ การประกอบอาชีพจึงให้ความสำคัญกับลูกค้าที่จะต้องสร้างความผูกพันภักดีต่อกันและขยายวงกว้างออกไป ทำให้ผลผลิตจำหน่ายได้ปริมาณสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคง ยั่งยืนของอาชีพส่วนบุคคลและสังคมประเทศชาติ

การพัฒนาตนเอง

การประกอบอาชีพธุรกิจ ผู้ประกอบอาชีพจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์สภาพการผลิต การตลาด การลงทุน ค่านิยม นวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้สามารถจัดการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพให้เติบโตขึ้นไม่ให้อาชีพตกต่ำและตายลง

ตัวอย่างที่ อาชีพเขียนป้ายประกาศถ้าพัฒนาตนเองไม่ใช้คอมพิวเตอร์และอิงค์เจทก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่ถ้าหากไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้อาชีพเขียนป้ายประกาศก็จะตายลงทั้งหมดแล้ว

ตัวอย่างที่ ร้านโชห่วยที่เรียนรู้พัฒนาตนเอง วิจัยระบุสินค้าจำเป็นของคนในชุมชน ต้องใช้ประจำและจำนวนมาก แล้วจัดร้านใหม่บรรจุสินค้าที่จำเป็น ทำให้ร้านค้าไม่รกรุงรัง ถ้าหากราคาขายที่เป็นจริงไม่เอาเปรียบ คนในชุมชนก็เต็มใจซื้อไม่เสียเวลาไปศูนย์การค้าที่ต้องมีการเดินทาง ร้านโชห่วยที่ไม่เรียนรู้พัฒนาตนเอง จึงตายไปจากท้องถิ่น

ใบความรู้ เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เชื่อว่า คนไทยสามารถพัฒนาศักยภาพการคิด การกระทำให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อสร้างเศรษฐกิจแก้ปัญหาความยากจนด้วยการสร้างลักษณะนิสัยประจำให้เป็นบุคคลที่จะทำอะไรต้องคิดหาเหตุผล คิดตัดสินใจระบบความพอดีสำหรับตนเองหรือชุมชน กำหนดแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันให้กับอาชีพที่จะทำ เรียนรู้ สร้างความรอบรู้ให้กระจ่างพึ่งพาตนเองได้ และมีคุณธรรม จริยธรรม ส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจของบุคคล สามารถสร้างความพอเพียงอยู่ดีมีสุข และก้าวถึงความมั่งมีศรีสุข ดำรงชีวิตอย่างพอเพียงเกื้อกูลสังคมได้

การเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ การคิด การกระทำ ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะมุ่งเน้นองค์ประกอบแห่งคุณค่า 5 ประการ คือ

1. การพัฒนาทักษะการคิดหาเหตุผล

2. การพัฒนาทักษะการคิดตัดสินใจระบุความพอดีสำหรับตนเองและชุมชน

3. การพัฒนาทักษะการคิดกำหนดแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเรื่องที่จะทำ

4. การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้และสรุปองค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำ

5. การพัฒนาเจตคติเพื่อการคิดการกระทำให้เกิดคุณค่าในคุณธรรมและจริยธรรม

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการนำองค์ประกอบแห่งคุณค่า 5 ประการไปบูรณาการกับเหตุการณ์สาระที่นำเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยการนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระบุลักษณะปฏิสัมพันธ์ที่น่าจะเกิดใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศในการตัดสินใจกำหนดแผนพัฒนาระดับต่าง ๆ

การวัดผลประเมินผล ความสำเร็จของการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรจะเป็นการประเมินตนเองเพื่อการพัฒนา เพราะผลสำเร็จของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน จึงเป็นการวัดผล ประเมินผล เพื่อบอกตนเองว่า ขณะนี้เราอยู่ตรงไหน แล้วเราพอหรือยัง มิใช่การตัดสินใจว่าเก่งกว่าใคร

ความหมายและลักษณะองค์ประกอบแห่งคุณค่า 5 ประการ

ความมีเหตุผล หมายถึง การที่เราจะทำอะไร เราจะต้องศึกษาว่าอะไรเป็นเหตุและลักษณะผลที่เกิดเป็นอย่างไรด้วยการจำแนกออกให้ได้ว่า ถ้าเราต้องการให้เกิดอะไร มีอะไรเป็นเหตุที่ทำให้เกิด

ความพอดี หมายถึง สิ่งที่เราจะทำมีความพอดีอยู่ตรงไหนที่เราสามารถเข้าถึงได้จริงอย่างไม่ทุกข์ยากเดือดร้อนมากนัก ซึ่งเป็นเรื่องของเอกตบุคคลดังตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ นางลอยตัดสินใจปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง เพื่อใช้ทำกล้วยตากบนพื้นที่ 3 ไร่ โดยมีข้อมูลในการระบุความพอดี ดังนี้

1. ต้องใช้แรงงานของตัวเองเพียงคนเดียว

2. มีความรู้ว่า กล้วยเมื่อปลูกแล้วจะใช้เวลา 12 เดือน จึงให้ผลผลิต ถ้าปลูกเดือนละ 100 ตารางวา เมื่อครบ 12 เดือน จะเต็มพื้นที่ 3 ไร่ มีผลผลิตออกมาในปริมาณพอดีกับการจัดการตากแห้งได้เป็นระยะ ๆ

3. ผลผลิตกล้วยตากอบแห้งจะมีปริมาณพอดีกับการจัดจำหน่ายด้วยตนเอง

ตัวอย่างที่ นายเข็ม ชายพิการเดินไม่ได้ แต่นั่งเคลื่อนที่ได้ ตัดสินใจปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 200 ตารางวา (ครึ่งไร่) โดยมีข้อมูลในการระบุความพอดี ดังนี้

1. ต้องการมีรายได้เพียงวันละ 300 บาท ใช้เลี้ยงตนเอง และคุณแม่

2. มีที่ดินของตนเอง 2 ไร่ อยู่ท่ามกลางพื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง มีบริษัทจัดจำหน่ายมารับ ซื้อถึงชุมชนทุกวัน

3. ถ้าเริ่มต้นใช้พื้นที่ 200 ตารางวาในการผลิตจะพอดีกับสภาพร่างกายทำได้สบาย ๆ

4. พื้นที่ 200 ตารางวาสามารถให้ผลผลิตได้วันละ 8 – 10 กิโลกรัม

5. หน่อไม้ฝรั่งราคากิโลกรัมละ 40 บาท วันหนึ่งจะมีรายได้ 300 – 400 บาท ค่อนข้างแน่นอน

6. การปฏิบัติการดูแลต้นหน่อไม้ฝรั่ง คนปกตินั่งทำ คนพิการจะต้องนั่งอยู่แล้ว การเคลื่อนตัวก็ใช้วิธีการถัดไป จึงเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมที่สุดขณะนี้

ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การกำหนดแนวทางการจัดการป้องกันความเสียหาย ได้แก่ การออมสะสมทุนเพื่อป้องกันสภาพคล่องทางการเงินและเป็นทุนขยายกิจกรรม เมื่อได้จังหวะเวลาที่สมควรมาถึง การสร้างศรัทธาให้ลูกค้ายอมรับไม่ทอดทิ้งเลิกซื้อขายกับเรา การสร้างคุณภาพผลผลิตให้ลูกค้าเชื่อถือได้ว่า ผลผลิตที่ซื้อมีคุณภาพแน่นอน การสร้างความรักภักดีต่อคนร่วมงานให้มีความรู้สึกว่า ทำงานอยู่กับเรามีชีวิตปลอดภัยมีอยู่มีกินแน่นอน

ความรอบรู้ หมายถึง เมื่อเราคิดหาเหตุหาผลว่าเราจะทำอะไรแล้วคิดตัดสินใจว่าควรทำเท่าไร จะพอดีกับสภาพที่เป็นจริงและเข้าถึงได้ ดังนั้น เมื่อตัดสินใจได้และทำจริงเราจำเป็นต้องเรียนรู้รายละเอียดต่าง ๆ แสวงหาความรู้ ตรวจสอบความรู้จนกระจ่างบูรณาการเข้ากับประสบการณ์ของตนเอง สรุปเป็นองค์ความรู้เพื่อใช้ดำเนินการจริงได้

คุณธรรม หมายถึง ความคิด เจตนาที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเป็นไปอย่างมีคุณค่า สอดคล้องกับศีลธรรม กฎระเบียบ ข้อกำหนด และไม่สร้างความเดือดร้อนแก่สังคม

สรุป

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องของความรู้สึก ความมุ่งมั่น การรู้ทันและเข้าใจในสิ่งที่จะทำคิดสร้างสรรค์และรับรู้โลกกว้าง เพื่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงในสังคม ชุมชนของงาน และก้าวเข้าสู่โลกแห่งการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระบบทุนนิยมได้อย่างมีสติปัญญา

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิเสธทุนนิยม แต่จะใช้พลังแห่งสติปัญญา พัฒนาตนเอง สังคม ชุมชน ร่วมกัน สร้างทุนนิยมใหม่ นำพาประเทศเข้าสู่ความเป็นมหาอำนาจแห่งสันติสุขที่มั่นคงยั่งยืน

ใบความรู้ เรื่อง การวิเคราะห์ตรวจสอบระบบความพร้อมในการสร้างอาชีพ

กรอบแนวคิด

แผนภูมิแสดงกรอบแนวคิดการวิเคราะห์ตรวจสอบระบบความพร้อมในการสร้างอาชีพ

จากแผนภูมิดังกล่าว จะเห็นว่า การวิเคราะห์ตรวจสอบระบบความพร้อมในการสร้างอาชีพมีภารกิจที่จะต้องทำ 2 ขั้นตอน คือ

1. การนำองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียงและองค์ประกอบการทำอาชีพมาวิเคราะห์โดยตารางสัมพันธ์สองทาง เพื่อคิดหาปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างองค์ประกอบ

2. นำปฏิสัมพันธ์ที่วิเคราะห์ได้มาตรวจสอบกับสภาพจริงว่า มีอะไรบ้างที่ยังไม่พร้อมแล้ว สรุปลักษณะความพร้อมและสิ่งที่จะต้องสร้างให้เกิดความพร้อม

การวิเคราะห์ระบุปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ

ด้วยการนำองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียงมาบรรจุในตารางสัมพันธ์สองทางตามแนวตั้งแล้วนำองค์ประกอบทางอาชีพมาบรรจุในตารางสัมพันธ์สองทางตามแนวนอน แล้วระบุความคิดรวบยอดของปฏิสัมพันธ์ที่ควรจะเป็น ดังนี้

ตัวอย่าง : การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เพื่อกำหนดความคิดรวบยอดของปฏิสัมพันธ์ที่ควรจะเกิด

จากตารางสัมพันธ์สองทางเราจะเห็นความคิดรวบยอดของปฏิสัมพันธ์ทั้ง 20 รายการ ที่ผู้เรียนผู้ประกอบอาชีพจะต้องคิดหาคำตอบในทุกรายการ (ตั้งแต่ A1 ไปจนถึง E4) กับสภาพที่เป็นจริงของตนเองแล้วจำแนกรายการที่มีความพร้อม และรายการที่ไม่พร้อม ก็จะเป็นการตรวจสอบความพร้อมในการสร้างอาชีพจาก 20 คำถาม แล้วจัดทำบันทึกสภาพความพร้อมในการสร้างอาชีพ

สรุป

การวิเคราะห์ตรวจสอบระบบความพร้อมในการสร้างอาชีพ เป็นกระบวนการวิเคราะห์ด้วยตารางสองตาราง เพื่อสรุปความคิดรวบยอดของปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางเศรษฐกิจพอเพียง กับองค์ประกอบในระบบอาชีพ จากสภาพที่เป็นจริงของผู้ประกอบอาชีพจะสะท้อนให้รู้จักตนเองมองเห็นสภาพที่ต้องเสริมเติมให้เกิดความพร้อม