3.2 การพัฒนาทักษะการขยายอาชีพให้เป็นลักษณะนิสัย

ใบความรู้ เรื่อง การพัฒนาทักษะการขยายอาชีพให้เป็นลักษณะนิสัย

จากแผนภูมิ บอกภาพคิดรวบยอดได้ว่า การสร้างลักษณะนิสัยให้เกิดในตนเอง ต้องเริ่มต้นที่ปัจจัยนำเข้า คือ ความรู้ทักษะในอาชีพ หรือสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิต จากนั้นกระบวนการสร้างลักษณะนิสัย จะเริ่มต้นที่ตัวตนของเราต้องเปิดช่องทางการเรียนรู้ ได้แก่ การมอง การรับฟัง การรู้กลิ่น การรู้รส และการรู้สัมผัสช่องทางเหล่านี้จะทำให้เราได้ข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำเข้ามาสู่กระบวนการตอบสนองการรับรู้ที่เริ่มต้นจากสมองรับข้อมูลเข้ามาสู่องค์ประกอบด้านความรู้สึกจะรับรู้และแสดงออกในความพอใจ (เฉย ๆ หรือไม่พอใจ ก็จะหลุดออกไป) ส่งต่อไปยังองค์ประกอบด้านการจำได้ หมายรู้ จะประมวลว่ามีความจำอะไรที่เกี่ยวข้องจะตอบสนองแสดงออกจำได้เห็นความสำคัญ (จำไม่ได้ สาระที่เข้ามาก็จะหยุดลงหรือหลุดออกไป) แล้วส่งต่อไปยังองค์ประกอบด้านนึกคิดปรุงแต่ง จะประมวลคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งใหม่หรือแนวทางการทำงาน ดังนั้น ถ้าเราได้ย้อนกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เราจะพบว่ากระบวนการตอบสนองการรับรู้ จะทำงานอย่างรวดเร็ว ถ้าทำซ้ำอีก อัตราความเร็ว ในการตอบสนองจะรวดเร็วขึ้นโดยลำดับจนตัวตนติดยึด ถ้าจะทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้จะตอบสนองอย่างเป็นอัตโนมัติหรือเป็นลักษณะนิสัย

จากแผนภูมิ จะพบว่า เครื่องมือสำคัญของการสร้างลักษณะนิสัย คือ (1) ความมีวิจารณญาณ และ (2) การควบคุมอคติภายในตนเองให้ลดน้อยที่สุด จึงเป็นตัวผันแปรต่อการสร้างลักษณะนิสัย

1. การเปิดช่องทางการเรียนรู้ โดยผ่านทางดวงตา หูฟัง จมูกรู้กลิ่น ลิ้นรู้รส กายรู้สัมผัส ตัวเราจะต้องรวบรวม สืบค้นข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบอย่างมีวิจารณญาณ โดยเฉพาะสิ่งรับรู้ที่เป็นทางธรรม คือ การรับรส การรับกลิ่น และการรับสัมผัส จะต้องแยกคุณลักษณะที่โดดเด่นและคุณลักษณะรองและผลกระทบให้ชัดเจน

2 การตอบสนองการรับรู้

เมื่อข้อมูลจากการรับรู้ผ่านเข้ามาทางสมอง กระบวนการตอบสนองจะทำงานทันที โดย

1. ความรู้สึก เมื่อข้อมูลเข้ามากระทบความรู้สึก จะตอบสนองออกมาว่าพอใจ หรือไม่พอใจ

2. ความจำได้ หมายรู้ เมื่อข้อมูลเข้ามาพร้อม ๆ กัน องค์ประกอบความจำจะตอบสนองประมวลว่าข้อมูลใหม่เข้ามามีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลเก่าอะไรบ้าง

3. การคิด ปรุงแต่ง เมื่อข้อมูลเข้ามาผ่านขั้นตอนความรู้สึกและความจำ ผลตอบสนองจะกระทบกับการคิดปรุงแต่งในอันที่จะปรุงแต่งในทางสร้างสรรค์หรือในทางกลับกัน

กระบวนการตอบสนองการรับรู้ดังกล่าวจะต้องเป็นกระบวนการที่มีอคติน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การทำให้อคติมีน้อยหรือไม่มีนั้น สามารถทำได้ด้วยการวางจิตใจให้สงบลง คิดไตร่ตรองอยู่กับกระบวนการตอบสนองการรับรู้เพียงอย่างเดียว จะเกิดสมาธิให้เราดำเนินการคิดทั้ง 3 องค์ประกอบได้อย่างเที่ยงตรงมากขึ้นโดยลำดับ

แผนภูมิสรุป ดังกล่าว เป็นกระบวนการทางสมาธิที่จะสร้างให้เรามีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและรอบด้าน จะทำให้ความคิดของเราปราศจากอคติ ผลการคิด วิเคราะห์ จะมีโอกาสถูกต้องมากขึ้น ถ้าใช้กระบวนการนี้มีความถี่มากยิ่งขึ้น ตัวตนของเราจะพัฒนาทักษะการทำงานให้เกิดเป็นลักษณะนิสัยได้ และปรับไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่าได้ง่ายให้การคิดมีประสิทธิภาพสูงส่งเข้าสู่ภูมิปัญญาในที่สุด