เรื่องที่ 2. ทักษะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการขยายอาชีพ

ใบความรู้ เรื่อง การประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรม เทคโนโลยี

แผนภูมิสามารถอธิบายได้ว่า ประสิทธิภาพมีองค์ประกอบร่วมอย่างน้อย 3 องค์ประกอบ คือ (1) ความถูกต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ (2) มีความรวดเร็ว และ (3) สามารถลดต้นทุนรายจ่ายได้ นอกจากนั้นในแต่ละองค์ประกอบจะต้องมีความสัมพันธ์ต่อกัน หากนำกรอบแนวคิดนี้มาอธิบายกับประสิทธิภาพของนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี

ประสิทธิภาพของนวัตกรรม เทคโนโลยีการประกอบอาชีพขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ 1. ความสามารถทำงานได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์และมีของเสียน้อย 2. ประหยัดค่าใช้จ่าย 3. ทำงานได้รวดเร็ว


ประเมินการทำงานให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของเทคโนโลยี การประเมินความสามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี ผู้เรียนต้องคิดลักษณะบ่งชี้ความสำเร็จ และตัวชี้วัดความสำเร็จด้วยตนเอง ดังตัวอย่างนี้

ประเมินความประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นการประเมินเทียบเคียงระหว่างนวัตกรรมเทคโนโลยีอันใหม่ที่จะนำเข้ามาใช้เทียบเคียงกับนวัตกรรม เทคโนโลยีเก่า โดยมีตัวแปรการประเมินประกอบการ 1 ราคานวัตกรรม เทคโนโลยีต้องจ่ายเท่าไร 2 ค่าใช้จ่ายระหว่างการใช้เท่าไร 3 ลดรายจ่ายจากเดิมเท่าไร

ประเมินความรวดเร็ว

เป็นการประเมินเทียบเคียงหรือเปรียบเทียบระหว่างการใช้เวลาทำงานจากนวัตกรรมเทคโนโลยีที่จะนำเข้ากับนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ใช้อยู่เดิม ดังตัวอย่างการพรวนดินการใช้แรงงานคนกับเครื่องจักรกลขนาดเล็ก พบว่า เครื่องจักรกลขนาดเล็กพรวนดิน ใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง แต่แรงงานคนจะต้องใช้เวลาถึง 6 ชั่วโมง ต้องพบกับความยุ่งยากในการจัดการคนให้ทำงานไปตามเป้าหมาย

สรุป

การตัดสินใจนำนวัตกรรม เทคโนโลยีเข้ามาใช้ประกอบอาชีพ จำเป็นต้องประเมินให้มองเห็นเหตุผลการนำเข้ามา ความคุ้มค่า และศักยภาพในการเป็นภูมิคุ้มกันให้อาชีพมั่นคงยั่งยืน จึงต้องมีการประเมินด้วยองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านและตัวแปรร่วมต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแสวงหาความรู้ข้อมูลให้มากพอที่จะใช้ประเมินตัดสินใจ ดังนั้น การประเมินประสิทธิภาพนวัตกรรม เทคโนโลยีจึงเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานบนฐานความรู้

ใบความรู้ เรื่อง การวิเคราะห์เพื่อจำแนกบทบาทหน้าที่ของนวัตกรรม เทคโนโลยี

การเข้าสู่อาชีพเมื่อดำเนินธุรกิจไปจนประสบผลสำเร็จ มักจะถูกจับตามอง ทำตามกันมาก ส่วนแบ่งการตลาดจึงมีขนาดเล็กลงโดยลำดับ จนถึงวันหนึ่งจะเกิดวิกฤติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหรือขยายขอบข่ายอาชีพออกไปหรือเรียนรู้ทำในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ เพื่อให้อยู่ได้อย่างมั่นคงยั่งยืน การพัฒนาหรือขยายอาชีพจะต้องใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

ปัญหาที่ต้องการคำตอบของผู้ประกอบธุรกิจ

ปัญหาการเลือกนวัตกรรม เทคโนโลยีของผู้ประกอบอาชีพ การตัดสินใจเลือกนวัตกรรม เทคโนโลยีได้ตรงกับปัญหาความต้องการในธุรกิจให้มากที่สุด ตรงนี้เป็นจุดกำเนิดภูมิปัญญา แต่เรายังอยู่ในสภาวะที่ทำเองไม่ได้อาศัยการนำเข้าด้วยตัวเราเอง เพื่อให้ได้นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เหมาะสมลงตัวกับงานอาชีพของเรามากที่สุด

กรอบแนวคิด

กรอบแนวคิดการจัดการให้ได้นวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสมลงตัวกับธุรกิจมากที่สุดมีกรอบแนวคิดการดำเนินการดังนี้


วิธีการกำหนดความต้องการ

1. ระบุสิ่งที่จะต้องทำและจำเป็นจะต้องใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อลดต้นทุน ลดระยะเวลา การทำงานและสร้างงานให้มีของเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุด

ตัวอย่าง สิ่งที่จะต้องทำ และจำเป็นต้องใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี

(1) การพรวนดินให้ละเอียดและผสมปุ๋ยหมักคลุกเคล้าลงดินให้กระจายสม่ำเสมอต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายสูง งานหนัก คนงานสู้ไม่ไหว ทิ้งงานลาออก จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการพัฒนาดิน

(2) ช่วงฤดูหนาวเบญจมาศไม่ออกดอก ถ้าสามารถทำให้ออกดอกได้จะทำให้การป้อนสินค้าเข้าตลาดไม่ขาดช่วง จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการบังคับพืชให้ออกดอกนอกฤดูกาล

2. บอกบทบาทหน้าที่ที่จะต้องนำนวัตกรรม เทคโนโลยีเข้ามาใช้

ตัวอย่าง

(1) ทำให้แสงของวันในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ มีความยาวขึ้น เพื่อกระตุ้นตาดอกเบญจมาศ

(2) เกษตรอินทรีย์พืชขาดไนโตรเจน แต่ข้อกำหนดห้ามใช้ปุ๋ยเคมี จำเป็นต้องใช้ไนโตรเจนจากธรรมชาติ


แสวงหาความรู้ ความเข้าใจเพื่อระบุนวัตกรรม เทคโนโลยีที่เหมาะสม

ด้วยการนำผลการวิเคราะห์ (1) ระบุสิ่งที่ต้องทำและ (2) บทบาทหน้าที่ที่จะต้องนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาใช้ไปสืบค้นข้อมูลสารสนเทศและศึกษา สังเกตจากผู้รู้ภูมิปัญญาต่าง ๆ ต้องสรุปด้วยตนเองว่า ควรจะใช้เทคโนโลยีอะไรและจำแนกบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน ดังตัวอย่าง

ประเมินความเหมาะสมและตัดสินใจ

เมื่อได้ศึกษาบทบาทหน้าที่ของนวัตกรรม เทคโนโลยีแล้วเป็นขั้นตอนการประเมินความเหมาะสมด้วยการเทียบเคียงกับเทคโนโลยีที่เคยใช้ว่าจะทำให้ดีขึ้นแตกต่างจากเดิมได้มากหรือปานกลางดังตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 1 มะม่วงน้ำดอกไม้ ถ้าเกษตรกรให้น้ำให้อาหารพืชอย่างต่อเนื่องอย่างสมบูรณ์มะม่วงน้ำดอกไม้จะออกลูกต่อเนื่องให้ลูกต่อเนื่องให้ลูกรุ่นพี่ รุ่นน้องในปริมาณพอเหมาะนำเข้าสู่ตลาดได้ เป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่องกับการที่เราต้องลงทุนให้สารเคมีบังคับให้ออกดอกติดผลพร้อมกันนอกฤดูกาลเหมาะสมกับลักษณะตลาดที่เรามีอยู่หรือไม่

ตัวอย่างที่ 2 หมักน้ำปลา เดิมเพียงเติมเกลือกับปลาในอัตราส่วนที่เหมาะสม หมักทิ้งข้ามปีก็จะได้น้ำปลา แต่ถ้าเราใช้เทคโนโลยีจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสที่ต้องบดปลาให้ละเอียดผสมแลคโตบาซิลลัสเพิ่มเข้ามาจะใช้เวลาหกเดือนได้น้ำปลา แบบใดจะเหมาะสมกว่ากัน เพราะถ้าใช้เทคโนโลยีแลคโตบาซิลลัสจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายบดปลาและค่าจุลินทรีย์

สรุป

การตัดสินใจนำนวัตกรรม เทคโนโลยีเข้ามาใช้โดยไม่ผ่านการวิเคราะห์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่และความเหมาะสมมีโอกาสที่จะเสี่ยงต่อความเสียหายสิ้นเปลืองได้ หากเราหันมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศของนวัตกรรม เทคโนโลยี เรียนรู้ทำความกระจ่างก็จะลดอัตราการเสี่ยงได้ดี