สลากย้อม

ประเภท (ข้อมูลเฉพาะ) วัฒนธรรม : วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ

ประวัติความเป็นมาของวัฒนธรรม :

สลากย้อมเป็นประเพณีของคนยองในจังหวัดลำพูน ที่จัดขึ้นหลังออกพรรษา รูปแบบคล้ายกับสลากภัตของภาคกลาง คือ เป็นการทำบุญโดยไม่ได้ระบุผู้รับ แต่สิ่งที่แตกต่างคือคติความเชื่อของชุมชนยองต่อประเพณีสลากย้อม

ในอดีตคนยองมีคติความเชื่อในการตาน(ทาน)สลากย้อมว่า เป็นหน้าที่ของหญิงสาวที่จะพึงทาน โดยเฉพาะ ผู้หญิงสาวที่มีอายุครบ 20 ปี ที่ยังไม่ได้แต่งงาน ควรจะตานสลากย้อม โดยเชื่อว่าการตานสลากเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ และเป็นพิธีเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ที่หมายถึงพร้อมที่จะออกเรือน

สลากย้อมเป็นกุศโลบายอันชาญฉลาดของคนยอง ที่ใช้ฝึกหัดลูกสาวให้รู้จักเก็บหอมรอมริบ รู้จักมัธยัสถ์ เพื่อจัดทำต้นสลาก เนื่องจากการทำต้นสลากย้อม ไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ต้องใช้เงินทองจำนวนมาก กว่าจะทำสลากได้อาจต้องใช้เวลาถึง 4-5 ปี ในการเก็บออม

สถานที่ที่ตั้ง (พิกัด) ของวัฒนธรรม : จังหวัดลำพูน

ที่มา : ปณิตา สระวาสี. (2559). สลากย้อม, ค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2561. ค้นจาก http://www.sac.or.th/databases/rituals/detail.php?id=2