Raspberry ketone

Trade name: Raspberry ketone

Scientific name: Fructus Rubi

Description:
Raspberry ketone คือ พืชที่มีต้นกำเนิดมาจากแถบยุโรป สามารถปลูกได้ทุกสภาพอากาศทั่วโลก แต่นิยมปลูกในเขตหนาว เช่น ยุโรป, อเมริกา

และมีโครงสร้างเป็นสารประกอบฟีนอลิกที่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นวงแหวน พบใน raspberries สีแดงที่เป็นแหล่งของสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย ได้แก่ วิตามินซี (vitamin C), ฟลาโวนอยด์ (flavonoid), วิตามินเอ (vitamin A), วิตามินอี (vitamin E), แอนโธไซยานิน (anthocyanins), แทนนิน (tannin), เพคติน (pectin), กรดซิตริก (citric acid), กรดมาลิก (malic acid) และเกลือแร่หลายชนิด โดยเฉพาะธาตุเหล็ก แมกนีเซียม (magnesium) และแคลเซียม (calsium)

Appearance: ผงสีน้ำตาล

Recommended dosage: 80-340 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว

Benefits:

  • เร่งการเผาผลาญ ช่วยสลายไขมัน

  • มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์

  • ลดความอยากอาหาร

  • ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล

  • ช่วยชะลอวัย (Anti-aging)

  • พลังงานต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

  • เส้นใยอาหารสูง

Technical testing:

  • การทดสอบโดยกลุ่มอาสาสมัคร ซึ่งแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกคือ ผู้ทดสอบได้รับยาหลอก (ตัวอย่างควบคุม), กลุ่มที่สอง คือ ผู้ทดสอบที่ได้รับ Rasberry Ketone ปริมาณ 125 มิลลิกรัม และกลุ่มที่สาม คือผู้ทดสอบได้รับ Rasbeery Ketone 250 มิลลิกรัม การทดลองใช้ระยะเวลา 3 สัปดาห์

จากภาพที่ 1 แสดงการเปลี่ยนแปลงเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของผู้ทดสอบทั้งสามกลุ่ม พบว่าผู้ทดสอบที่ได้รับ Rasberry Ketone มีการเปลี่ยนแปลงร้อยละ ของปริมาณไขมันในร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และพบการเปลี่ยนแปลงลักษณะกายภาพภายนอก เมื่อเทียบกับผู้บริโภคที่ได้รับยาหลอก

Adiponectin จัดเป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ไขมัน ซึ่งเป็นเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ซึ่ง Adiponectin จัดเป็น insulin-sensitizing agent ที่มีบทบาทในการควบคุมระดับกลูโคสในกระแสเลือด และส่งเสริมการเผาผลาญไขมัน ดังนั้นปริมาณ adiponectin ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดกลไกการลดปริมาณไขมัน จากการทดลองนี้ไม่ได้วัด Adiponectin markers แต่มีโอกาสเป็นไปได้ที่ raspberry ketones เพิ่มปริมาณ adiponectin เป็นผลให้เกิดปฎิกิริยา fat oxidation นอกจากนี้ Morimoto และคณะ., 2005 รายงานว่า Raspberry ketones มีความสามารถในการยับยั้งการสลายไขมันในอาหารที่มีปริมาณไขมันสูงได้

  • การทดสอบผลของ Raspberry Ketone ต่อปริมาณคอเลสเตอรอล (TC), ไตรกลีเซอรอล (TG), High-Density Lipoprotein Cholesterol (HDL-C), Low-Density Lipoprotein Cholesterol (LDL-C) ในเซรัมของหนู กำหนดให้ตัวอย่างควบคุม คือหนูที่ได้รับอาหารปกติ (NC), หนูที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง (MC), หนูที่ได้รับ raspberry ketone 0.5% (RKL), หนูที่ได้รับ raspberry ketone 1% (RKM), และ หนูที่ได้รับ raspberry ketone 2% (RKH) โดยทำการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์

ตารางที่ 1 หนูที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสูง (MC) พบปริมาณไขมันในเลือดเพิ่มสูงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่ได้รับอาหารปกติ (NC)

นอกจานี้เมื่อปริมาณ Raspberry ketone เพิ่มส่งผลให้ปริมาณคอเลสเตอรอล (TC), ไตรกลีเซอรอล (TG), High-Density Lipoprotein Cholesterol (HDL-C) ลดลง แต่ปริมาณ Low-Density Lipoprotein Cholesterol (LDL-C) เพิ่มขึ้นในเซรัมของหนู