ประเมินตนเองสู่อาชีพ


การวางแผนศึกษาต่อเพื่อเลือกอาชีพ

เมื่อจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว แต่ละคนจะต้องคิดว่าจะเรียนต่อหรือจะทำงาน ทุกคนควรมีการวางแผนชีวิตในการศึกษาต่อไว้ล่วงหน้า เมื่อเรียนจบแล้วจะได้ประกอบอาชีพตามที่ต้องการ และตรงกับความสนใจและความถนัด และสามารถปฏิบัติได้ตามที่วางแผนไว้ ก็เชื่อว่าทุกคนต้องประสบความสำเร็จในชีวิตการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพซะว่าจะสามารถทำให้ตัดสินใจหรือวางแผนแนวทางศึกษาต่อและประกอบอาชีพได้ถูกต้องเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด ซึ่งการวางแผนศึกษาต่อเพื่อเลือกอาชีพควรมีปัจจัยต่างๆพิจารณาประกอบดังนี้

1. ต้องรู้จักตนเอง

1.1 ความชอบหรือความสนใจของบุคคล ในการเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองควรนำเอาผลการสำรวจด้านต่างๆ มาประกอบการพิจารณา เช่นมีบุคลิกภาพแบบใด ความสามารถด้านใด ชอบทำกิจกรรมอะไรซึ่งจะช่วยให้พิจารณาตนเองได้ว่า ควรประกอบอาชีพอะไร ซึ่งหากเลือกอาชีพได้ตรงกับคุณสมบัติของตนเองก็จะทำให้ประกอบอาชีพนั้นได้อย่างมีความสุข และมีผลงานที่มีประสิทธิภาพ

1.2 ความถนัดของบุคคล การที่บุคคลจะวางแผนในอนาคตได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับตนเองได้นั้นบุคคลต้องรู้จักความถนัดของตนเอง ทุกคนมีความถนัด แต่ละด้านแตกต่างกันไป เมื่อทำสิ่งใดได้ดีก็จะทำให้มีความสุข และเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง การรู้จักจุดด้อยของตนเองจะช่วยให้พัฒนาได้ถูกต้อง และเรียนรู้ที่จะปรับปรุงด้านที่ไม่ถนัด ความถนัดและความสนใจมักเป็นสิ่งที่คู่กันไปความถนัด อาจสังเกตได้จากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดหรือสิ่งใดแล้วทำได้ดีคล่องแคล่ว ทำแล้วประสบความสำเร็จ


1.3 สติปัญญาและความสามารถ การที่จะดูว่าสติปัญญาหรือความสามารถดีหรือไม่ดีนั้นอาจดูได้จากผลการเรียนที่ผ่านมาในแต่ละวิชาที่สอบ ได้ผลการเรียนเป็นอย่างไรถ้าได้ผลการเรียนในวิชานั้นสูงก็แสดงว่าระดับสติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนวิชานั้นสูง แต่ถ้าผลการเรียนในวิชานั้นต่ำก็แสดงว่าสติปัญญาหรือความสามารถในการเรียนวิชานั้นต่ำ ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเองมีความสามารถด้านใดก็จะช่วยทำให้ เลือกแนวทางที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด

1.4 ค่านิยม การที่บุคคลจะวางแผนอนาคตได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับตนเองได้นั้น ต้องรู้ค่านิยมในงานที่ตนยึดไว้เป็นหลักค่านิยมในตนเองมีผลต่อการเลือกแนวทางต่างๆในชีวิต การสำรวจค่านิยมในงานอาชีพจะช่วยชี้นำไปสู่อาชีพที่ตรงกับความต้องการของตนเอง มีโอกาสประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานสูง แต่ก็ควรจะนำคุณสมบัติด้านอื่นๆมาประกอบกับค่านิยมของตนเองด้วย เพื่อช่วยให้พิจารณาอาชีพที่ควรเลือกทำ เพื่อจะไปประกอบอาชีพในอนาคต

1.5 บุคลิกภาพ เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลด้านต่างๆทั้งภายนอกและภายใน

ภายนอก เช่น รูปร่าง หน้าตา กิริยา มารยาท การแต่งกาย ภายใน เช่น สติปัญญา ลักษณะอารมณ์ ลักษณะต่างๆของบุคลิกภาพ ไม่สามารถแยกเป็นส่วนๆออกจากกันได้ บุคลิกภาพของบุคคลถูกหล่อหลอมด้วยพันธุกรรม การเรียนรู้ วิธีปรับตัวของบุคคลและสิ่งแวดล้อม ต้องพิจารณาว่าอุปนิสัยใจคอของตนเองเป็นอย่างไร ควรได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นความสามารถและลักษณะเฉพาะตัว ทำให้เป็นคนมีคุณภาพ ลักษณะบางอย่างอาจนึกไม่ถึงเพราะเป็นจุดเล็กๆ แต่อาจเป็นจุดที่ดีและเด่นของตนเองก็ได้ การสำรวจตนเองจะทำให้เลือกแนวทางชีวิตได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

1.6 รูปร่างและลักษณะของร่างกาย สถานศึกษาหลายแห่งกำหนดคุณสมบัติ รูปร่างและลักษณะของทางร่างกายไว้ด้วย เช่น สถานศึกษาด้านทหาร ตำรวจ พลศึกษา จะต้องเป็นคนที่มีสุขภาพดีคือมีรูปร่างสมบูรณ์แข็งแรง (มีส่วนสูงสัมพันธ์กับน้ำหนัก) มีลักษณะสมชายและต้องไม่พิการทางสายตา

1.7 อายุ สถานศึกษาหลายแห่ง กำหนดอายุของผู้ที่จะเข้าศึกษาไว้ ซึ่งต้องนำมาประกอบการตัดสินใจ 1.8 เพศ บางสถานศึกษาได้กำหนดเพศเอาไว้ด้วย เพื่อความเหมาะสมและความคล่องตัวในการประกอบอาชีพ เช่น พยาบาล 1.9 สัญชาติและเชื้อชาติ สถานศึกษาบางแห่งจะกำหนดว่า ผู้เข้าศึกษาต่อต้องมีสัญชาติและเชื้อชาติตามสถานศึกษานั้นกำหนด ทั้งนี้ต้องสงวนสิทธิ์ในการประกอบอาชีพบางอาชีพเพื่อคนไทย เช่น อาชีพทหารหรือตำรวจ 1.10 เป้าหมายในอนาคต ควรตั้งเป็นเป้าหมายในอนาคตว่า ต้องการประกอบอาชีพใดเพื่อจะได้ศึกษาต่อในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับอาชีพที่ตนเองสนใจ มีความถนัดและสอดคล้องกับบุคลิกภาพของตน 1.11 ผู้ปกครอง การที่จะเลือกศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพ ควรขอคำปรึกษาจากผู้ปกครองก่อนเพื่อช่วยชี้แนะแนวทางให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

2. ต้องรู้จักสิ่งแวดล้อม

ต้องดูข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาที่จะศึกษาต่อว่า มีที่ตั้ง ระยะทางไป-กลับระหว่างที่พักกับสถานศึกษาระเบียบการ หลักสูตร คุณสมบัติที่ต้องการ สวัสดิการ ค่าใช้จ่าย เป็นอย่างไรหรือข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพว่า ลักษณะงาน คุณสมบัติที่ต้องมี โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ รายได้ สวัสดิการเป็นอย่างไร และอาชีพในอนาคตเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานหรือไม่

3. เปรียบเทียบข้อมูลของตนเองกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อรู้จักตนเองด้านต่างๆ รู้จักข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาที่ต้องศึกษาต่อ หรือข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพแล้วให้นำข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองเปรียบเทียบกับข้อมูลสิ่งแวดล้อม ว่าเหมาะสมที่จะเลือกศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม กับอัตภาพของตนโดยมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ



องค์ประกอบก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพ


ก่อนตัดสินใจเลือกอาชีพจำเป็นต้องมีการวางแผนชีวิตด้านอาชีพตั้งแต่วัยเรียน ซึ่งเป็นการวางแผนระยะยาวที่ต้องใช้ระยะเวลานาน และใช้ความพยายาม การจะได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ

1.ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ข้อมูลอาชีพเป็นข้อมูลที่มีขอบข่ายกว้างขวางมากซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1.1 แนวโน้มของตลาดแรงงาน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการผู้ทำงานในด้านต่างๆในปัจจุบันและพยากรณ์ที่จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นหรือลดลงใน 1.2 ลักษณะงาน งานที่จะต้องทำเป็นประจำมีลักษณะอย่างไร ที่ทำงานจะต้องทำอะไรบ้าง เป็นงานที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลินหรือก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย 1.3 สภาพแวดล้อมของงาน ได้แก่ สภาพแวดล้อมและบรรยากาศของงานเ ช่น ร้อน เย็น ชื้น แห้ง เปียก ฝุ่นละออง สกปรก เสียงดัง ในอาคารกลางแจ้ง ในโรงงานมีสารพิษ มีความขัดแย้ง 1.4 คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ อายุ ได้มีการกำหนดช่วงอายุในการทำงานและเกษียณไว้อย่างไร

·เพศ อาชีพนั้นๆโดยทั่วไปเป็นอาชีพสำหรับเพศหญิงหรือเพศชายหรือให้โอกาสแก่ทั้งหญิง

ทั้งชายหรือให้โอกาสแก่เพศใดเพศหนึ่งมากกว่า

1.5 การเลือกประกอบอาชีพ การประกอบอาชีพต้องมีวิธีการอย่างไร โดยการสมัครงานกับนายจ้างด้วยตนเอง ต้องมีการสอบสัมภาษณ์ หรือต้องสอบข้อเขียนด้วย ถ้าเป็นการประกอบอาชีพอิสระต้องใช้ทุนทรัพย์เพื่อดำเนินกิจการมากน้อยเพียงใด

1.6 รายได้ ในการประกอบอาชีพนั้นควรพิจารณาว่าจะมีรายได้เป็น วัน สัปดาห์ เดือน ปี โดยเฉลี่ยแล้วเป็นเงินจำนวนเท่าใด

1.7 ความก้าวหน้า อาชีพนั้นจะมีความก้าวหน้าเพียงใด จะต้องมีการศึกษาอบรมเพิ่มเติม มีความสามารถหรือประสบการณ์อย่างไรจึงจะได้เลื่อนขั้นมากน้อยเพียงใด การประกอบอาชีพเดิมนำไปสู่อาชีพใหม่หรือไม่


1.8 การกระจายของผู้ประกอบอาชีพ มีผู้ประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใด และกระจายอยู่ทั่วประเทศหรือมีอยู่เพียงบางจังหวัด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ประกอบอาชีพใดก็ได้หรือจะต้องอยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ

1.9 ข้อดีและข้อเสีย อาชีพแต่ละอย่างย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียขึ้นอยู่กับความพอใจและความต้องการของผู้ประกอบอาชีพ ของแต่ละคน งานบางอย่างอาจมีการทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุด และเดินทางไปปฏิบัติในท้องที่อื่นๆ งานบางอาชีพมีความมั่นคงกว่างานอาชีพอื่น

ปัจจัยภายใน โดยแบ่งออกเป็น 2.1 ปัจจัยส่วนบุคคล เช่นความสนใจ บุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด ทักษะความสัมฤทธิ์ผล ประสบการณ์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ผล ความรับผิดชอบ ความอุตสาหะ ความตรงต่อเวลา ความอบอุ่น เพศ เชื้อชาติ

2.2 ปัจจัยเกี่ยวกับโครงสร้างของค่านิยม



การหางานหรือตำแหน่งที่ว่าง


การหางานหรือตำแหน่งที่ว่าง

การหางานหรือตำแหน่งที่ว่างจากสื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง สิ่งที่พิมพ์ขึ้นบนแผ่นกระดาษ เพื่อใช้เป็นสื่อในการติดต่อหรือทำให้บุคคลได้รับทราบข้อความต่าง ๆ

แหล่งงานที่อยู่ในสื่อสิ่งพิมพ์มีดังนี้

1. หนังสือพิมพ์ โดยประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่ว่างและคุณสมบัติที่ต้องการ

2. วารสาร นิตยสาร แหล่งงาน งานทั่วไทย

3. จุลสาร ในวาระพิเศษ ซึ่งลงโฆษณาพร้อมกับประกาศรับสมัครงานไว้ท้ายเล่ม

การหางานหรือตำแหน่งที่ว่างจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

สื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งความรู้สำคัญในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ผู้สมัครงานสามารถเข้าไปค้นหาตำแหน่งงานที่ต้องการได้จากเว็บไซต์หางาน

นอกจากนี้ยังมีแหล่งงานอื่น ๆ อีก เช่น

1. สำนักงานจัดหางาน โดยมีวิธีการรับสมัครงาน 2 แบบ คือ

1) แบบตั้งรับอยู่ที่สำนักงาน

2) แบบเชิงรุกนอกสถานที่

2. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หน่วยงานราชการที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานต่าง ๆ สำหรับผู้ที่ประสงค์จะรับราชการ

3. หน่วยจัดหางานของมหาวิทยาลัย โดยมีหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกองกิจการนิสิต

4. การเข้าไปสมัครงานในองค์กรที่สนใจโดยตรง

5. ญาติพี่น้องหรือบุคคลที่รู้จัก

6. อาจารย์ในมหาวิทยาลัย

7. ศิษย์เก่าจากสถาบันการศึกษา

สิ่งพิมพ์ ในที่นี้หมายถึงกระดาษที่มีข้อความและภาพพิมพ์เกี่ยวกับการรับสมัครพนักงานหรือลูกจ้างที่สถานประกอบการได้ลงประกาศไว้ในช่วงเวลาที่ต้องการแรงงานในตำแหน่งต่าง ๆ สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีประกาศรับสมัครมีดังต่อไปนี้

1. หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ที่มุ่งนำเสนอข่าวและเรื่องราวที่น่าสนใจทั่วไป มีกำหนดพิมพ์ออกจำหน่ายเป็นรายวัน รายปักษ์ รายสัปดาห์ หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อทุกคนทุกระดับความรู้ ไม่จำกัดผู้อ่านสามารถอ่านให้จบได้ในเวลาอันสั้นจึงเป็นที่นิยมแพร่หลายกว่าสิ่งพิมพ์อย่างอื่นหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่มีส่วนที่เป็นประกาศรับสมัครสอดแทรกในหน้าต่างๆ ซึ่งมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ข้อความของประกาศสมัครงานในหนังสือพิมพ์

2. โปรสเตอร์ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดใหญ่ที่มีรูปภาพ ข้ความและสีสันที่ดึงดูดใจ สามารถสื่อสารในระยะเวลาอันสั้นใช้ในการโฆษณาสินค้าและบริการและอาจจะพบประกาศรับสมัครงานบ้างในบางสถานที่เช่นหน้าบริษัทของนายจ้างซึ่งรายละเอียดของประกาศรับสมัครงานในโปสเตอร์จะเหมือนกับหนังสือพิมพ์

3. ใบปลิว เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีราคาถูกที่สุด มีพื้นที่ให้ใส่ข้อมูลมากตามที่ต้องการและมักจะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง ใบปลิวส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารโดยตรงเกี่ยวกับสินค้าและบริการพบโดยทั่วไปตามป้ายนิเทศตู้โทรศัพท์ เสาไฟฟ้า ประกาศรับสมัครงานในใบปลิว

4. ประกาศรับสมัครงานของทางราชการ ในปัจจุบันมีทั้งรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทเดียวกับใบปลิวพบมากบนป้ายนิเทศของหน่วยงานราชการที่รับสมัครงานซึ่งปิดประกาศไว้แต่จะมีใบประกาศมากกว่าและมีรูปแบบเป็นทางการมากกว่าใบปลิวหรือเป็นประกาศในหัวข้อรับสมัครงานในเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ

สื่ออิเล็กทรอนิกส์สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นอุปกรณ์ที่ทันสมัย ซึ่งสามารถให้ข้อมูลประกาศรับสมัครงานได้โดยอุปกรณ์แต่ละชนิดจะให้ข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกันดังนี้

1. วิทยุ ใหัข้อมูลประกาศรับสมัครในรูปแบบเสียงโฆษณาสั้น ๆหรือประกาศสอดแทรกในรายการวิทยุมีรายละเอียดในประกาศรับสมัครงานคล้ายสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประการ

2. โทรทัศน์ ห้ข้อมูลประกาศรับสมัครงานในรูปแบบเสียงและตัวอักษรบางประกาศอาจมีภาพประกอบรายละเอียดประกอบรับสมัครงานทางโทรทัศน์สอดแทรกในรายการโทรทัศน์ปกติ

3. คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยสืบค้นเว็บไซต์ในอินเทอร์เนต ซึ่งให้ข้อมูลประกาศรับสมัครงานในรูปแบบภาพและข้อความที่มีรายละเอียดในประกาศเหมือนสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประการตลอดจนค้นหางานในตำแหน่งหรือบริษัทที่สนใจได้มากมาย สามารถพิมพ์ราบละเอียดออกมาดูได้โดยใช้เครื่องพิมพ์และบางเว็บไซต์อาจอำนวยความสะดวกให้สมัครงานผ่านทางเว็บไซต์ได้ด้วย