2.2 การเขียนเค้าโครงโครงงานและการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการจัดทำโครงงาน

1.เขียนเค้าโครง โครงงาน

(ศึกษาว่าจะทำอะไร อย่างไร )

2. ส่งเค้าโครงกับครูที่ปรึกษาโครงงาน

(เมื่อเค้าโครงผ่าน)

**ลงมือปฏิบัติ พร้อมบันทึกผลการปฏิบัติงาน

3. เขียนรายงาน 5 บท

(รายละเอียดโครงงานทั้งหมดหลังปฏิบัติเรียบร้อย)

4. นำเสนอ

การเขียนเค้าโครงโครงงานอาชีพวางแผนการทำโครงงาน

1. ชื่อโครงงาน

2. ผู้รับผิดชอบโครงงาน

3. ครู - อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

4. ความสำคัญของโครงงาน

5. วัตถุประสงค์

7. วิธีการดำเนินงาน

8. ระยะเวลา

9. สถานที่ในการดำเนินงาน

10. งบประมาณ

11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

12. เอกสารอ้างอิงที่ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

แนวการเขียนโครงงาน

1. ชื่อโครงงาน การตั้งชื่อโครงงานให้นักเรียนระบุชื่อโครงงานที่ชัดเจนกะทัดรัดเจาะจงว่าจะทำอะไร ศึกษาอะไร และจะต้องพิจารณาถึงความต้องการและความถนัดของตนเอง

2. ผู้รับผิดชอบโครงงาน ในการจัดทาโครงงานแต่ละครั้ง จำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบ ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ และจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่มขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของปริมาณงานที่ปฏิบัติ

3. ครู - อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ในการจัดทาโครงงานแต่ละครั้งจำเป็นต้องมีที่ปรึกษาเพื่อคอยให้คำแนะนำและช่วยแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

4. ความสำคัญของโครงงาน ให้นักเรียนระบุความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องจัดทำโครงงานนี้ เขียนอธิบายว่าโครงงานนี้มีสาเหตุมาจากอะไร ดีอย่างไร ทำไมจึงเลือก ผู้จัดทำโครงงานต้องบอกหลักการและเหตุผลในการจัดทำโครงงานนี้ให้ชัดเจน

5. วัตถุประสงค์ ให้ระบุว่า เมื่อทำโครงงานนี้และผู้จัดทำโครงงานจะได้อะไรบ้าง เป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของการดำเนินงานที่เฉพาะเจาะจงหรือจุดมุ่งหมายของโครงงานนี้จะทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง เกิดขึ้นกับใคร

6. วิธีการดำเนินงาน หมายถึงการกำหนดกิจกรรมขั้นพื้นฐานที่จะต้องจัดทำขึ้นในโครงงาน โดยจัดเรียงลำดับก่อนหลัง กิจกรรมที่กำหนดขึ้นอาจจะมีกิจกรรมย่อย ๆ หลายกิจกรรมในการดำเนินงาน

7. ระยะเวลา ในการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลา เริ่มต้นและสิ้นสุดของกิจกรรมแต่ละกิจกรรมเพื่อประโยชน์ในการวางแผนงานตลอดจนประเมินผลสำเร็จของงาน

8. สถานที่ในการดำเนินงาน หมายความว่าในการทำงานแต่ละครั้ง ต้องมีสถานที่ในการทำงานที่แน่นอนเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน

9. งบประมาณ ค่าใช้จ่ายโครงงาน หมายความว่า การจัดทำโครงงานทุกครั้งต้องมีการ ประมาณค่าใช้จ่ายไว้ล่วงหน้า เพราะงบประมาณเป็นตัวช่วยให้งานสำเร็จลงได้ถ้าขาดงบประมาณแล้วทุกอย่างก็อาจล้มเหลวได้

10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นการคาดคะเนว่าถ้าหากโครงงานนี้สำเร็จเรียบร้อยแล้วจะเกิด อะไรขึ้นบ้างในอนาคต เช่น เกิดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ สิ่งของความแปลกใหม่ ความคิดริเริ่ม ผลงานที่ ตรงตามจุดหมาย รายได้ที่คาดว่าจะได้รับโดยประมาณว่าเท่าไรและเกิดขึ้นกับใคร ที่ไหน เมื่อไร(เขียนโดยดูจากจุดประสงค์)

11. เอกสารอ้างอิงที่ใช้เขียนโครงงาน ให้บอกชื่อผู้แต่งหนังสือครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์และปีที่พิมพ์ หรือแหล่งข้อมูลที่นักเรียนใช้ค้นคว้า เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการเขียนโครงงาน

ที่มาของข้อมูล

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ . (2543). การดาเนินงานโครงงานอาชีพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาการเรียน การสอน

จิราภรณ์ ศิริทวี. (2542). “โครงงานการสร้างทางเลือกใหม่ของ การสร้างปัญญาชน,” วิชาการ.

2(8): 34-38; สิงหาคม. ม.ป.ป.

ชาตรี เกิดธรรม. (2548). เทคนิคการสอนแบบโครงงาน. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

พัฒนาคุณภาพวิชาการ,สถาบัน.( 2545). โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและ

วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบันส่งเสริมการสอน. (2531). คู่มือการทาและจัดงานแสดง

โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี. (อัดสาเนา)

http://dekwachi.makewebeasy.com