4.3 หลักการจัดอาหารสำรับ

ความหมายและประโยชน์ของอาหารสำรับ

วามหมายและความสำคัญของอาหารประเภทสำรับ

1. สำรับ คือ ภาชนะที่ใส่จาน ถ้วย

2. อาหารสำรับ หมายถึง การจัดอาหารหลายอย่างหลายชนิดไว้ในสำรับเดียวกัน

วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของคนไทยซึ่งปฏิบัติสืบต่อกันมาเนิ่นนานนั้น นิยมการรับประทานอาหารเป็นสำรับ ถ้าเป็นสำรับคาวจะประกอบด้วยข้าวและกับข้าวชนิดต่าง ๆ ถ้าเป็นสำรับหวานจะประกอบด้วย ขนมและผลไม้ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย การรับประทานอาหารสำรับนอกจากจะให้รสชาติที่หลากหลายแล้ว ยังให้สารอาหารที่ครบหมวดหมู่เพราะมีความหลากหลายของพืช ผัก สมุนไพร และเนื้อสัตว์ที่เป็นส่วนประกอบในอาหารร่วมสำรับ

จากสถาพสังคมในปัจจุบันที่มีความเร่งรีบและการรับวัฒนธรรมจากชาติตะวันตก ทำให้คนไทยหันไปนิยมอาหารประเภทเร่งด่วนหรืออาหารจานเดียว ซึ่งอาหารบางจานมีสัดส่วนของแป้ง ไขมัน หรือเนื้อสัตว์สูง มักขาดอาหารประเภทผักและผลไม้ ทำให้สมดุลของอาหารเสียไป จึงเป็นสาเหตุให้คนไทยในสังคมเมืองมีปัญหาภาวะโคชนาการเกินหรืออ้วน อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อนให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ เช่น โรคอ้วน โรคหัวใสจ ความดันโลหิตสูง ดังนั้นกองโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงจัดทำ "ธงโภชนาการ" ขั้นเพื่อแนะนำวิธีการบริโภคอาหารในแต่ละวันเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย


ความสำคัญของอาหารประเภทสำรับ

อาหารประเภทสำรับมีความสำคัญกับคนไทย ดังนี้

1) แสดงถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการรับประทานของคนไทย ซึ่งในสมัยโบราณหรือตามชนบทจะนั่งล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกัน โดยมีกับข้าวหลากหลายวางไว้ตรงกลางวง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันผู้คนนิยมรับประทานอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น แต่ยังคงมีรูปแบบการจัดวางอาหารที่พัฒนามาจากอาหารสำรับ เช่น มีอาหารเปรี้ยวก็มักจะมีอาหารหวานด้วย มื้อที่มีอาหารจานเผ็ดมักจะมีอาหารเค็มและแกงจืดเสริม

2) ทำให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่หลากหลาย ซึ่งมีรสชาติเข้ากันได้ดีหรือเสริมรสชาติกัน เช่น แกงเผ็ดหรือแกงส้มจะมีปลาเค็มหรือไข่เจียวเป็นเครื่องเคียง ที่สำคัญคือผู้บริโภคจะได้รับสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกายครบทั้ง 5 หมู่

เครื่องเคียง หมายถึง อาหารที่รับประทานคู่กับอาหารอีกอย่างหนึ่ง เช่น ขนมจีนน้ำพริก มีผักสดเป็นเครื่องเคียง ข้าวแช่ มีเครื่องเคียง เช่น ไชโป๊วผัด ปลาแห้งผัดพริกหยวกสอดไส้ หอมสอดไส้ กะปิทอด เป็นต้น

ชนิดของอาหารปรเภทสำรับ

อาหารไทยมีหลากหลายชนิดและมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคตามสภาพภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ได้ 2 ประเภท คือ อาหารคาว และอาหารหวาน


หลักเกณฑ์ในการกำหนดรายการอาหาร

1. คุณค่าทางโภชนาการ

2. หลักเศรษฐกิจ

3. งบประมาณ

4. ผู้รับประทานอาหาร หรือสมาชิกในครอบครัว

5. เวลาหรือมื้ออาหาร

6. ลักษณะของอาหารแต่ละชนิด ในแต่ละมื้อ

7. ชนิดหรือประเภทของอาหาร

8. การจัดอาหาร

9. ฤดูกาลของอาหาร


ความหมายของการจัดและตกแต่งอาหาร

การประดับ การจัดอาหารให้ดี สวยงาม น่ารับประทาน เรื่องของอาหารเป็นเรื่องที่ต้องใช้ศิลปะเข้ามาช่วยปรุงแต่งนอกเหนือจากรสชาติของอาหาร กาจัดตกแต่งอาหารก็เพื่อต้องการความสวยงามทางสายตาซึ่งจะส่งผลดีต่อจิตใจ น่ารื่นรมย์ขึ้นทำให้อาหารมองดูน่ารับประทาน แสดงถึงความมีรสนิยมที่ดีและยังแสดงถึงความตั้งใจในการประกอบอาหารอีกด้วย


หลักการทั่วปในการจัดตกแต่งอาหาร มีหลักสำคัญดังนี้

1. ประกอบอาหารให้ดูน่รับประทาน ให้มีกลิ่นหอมตามลักษณะของอาหาร

2. ให้อาหารจานหนึ่งๆ มีสีต่างๆ ทำให้เป็นสีประกอบกันสวยงามน่ารับประทาน

3. จัดรูปร่างของอาหารต่างๆ กัน เป็นลวดลายที่น่าสนใจ

4. มีอาหารที่ประกอบด้วยวิธีการต่างๆ กัน เพื่อให้เกิดลักษณะสัมผัสต่างๆ กัน เช่น ทอดให้กรอบ ตุ๋นให้เปื่อยนุ่ม

5. เลือกขนาดของภาชนะให้เหมาะสมกันปริมาณของอาหาร และจัดอาหาารให้อยู่ภายในขอบของภาชนะจัดอาหารลงภชนะให้พอดี อย่าให้มาและน้อยเกินไปไม่ล้นขอบจาน

6.มีอาหารหลายอย่างใส่รวมในจานเดียวกันควรเป็นของแห้ง ที่ไม่ทำให้รสชาติปะปนกัน

7.อาหารท่เป้นน้ำ เช่น แกง ควรมีจานรองหรือถาดรอง

8.รักษาพื้นที่ที่จะวางจานหรือชามให้สะอาดและเป็นระเบียบ

9.ตกแต่งอาหารเล็กๆน้อยๆเพื่อให้หน้ารับประทานเพิ่มขึ้น





หลักการจัดอาหารสำรับ

1.ควรจัดอาหารสำรับคาวและอาหารสำรับหวานให้มีอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ มีสัดส่วนที่ เหมาะสม จัดอาหารแต่ละหมู่ให้มีความหลากหลายหมุนเวียนเปลี่ยนไปโดยใช้ธงโภชนาการเป็นแนวปฏิบัติ ไม่ควรรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันนานเกินไป เพราะสารอาหารที่ได้รับจะได้แบบเดิมๆ


2. การจัดอาหารให้มีเนื้อสัมผัสหลากหลายแตกต่างกันไป เช่นมีความนิ่มนุ่ม กรอบ ร้อน เย็น เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวสามารถเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย

3. คำนึงถึงเพศ วัย และกิจกรรมของสมาชิกในแต่ละวัน ซึ่งสมาชิกแต่ละคนอาจมีความต้องการสารอาหารแตกต่างกันไป

4.จัดรายการอาหารให้มีรสชาติ กลิ่น สีแตกต่างกันไป เพื่อให้อาหารน่ารับประทานช่วยให้เจริญอาหาร และสมาชิกในครอบครัวทุกคนสามารถเลือกรับประทานอาหารในสำรับนั้นได้ เช่นมีรสชาติต่างๆ เลือกใช้วัตถุดิบในการปรุงที่ต่างกัน มีกลิ่นธรรมชาติจากวัตถุดิบและเครื่องปรุงต่างๆ เลือกใช้เครื่องปรุงอาหาที่มีสีสันต่างกันไป

5.คำนึงถึงงบประมาณ โดยวางแผนจัดรายการอาหารให้สมดุลกับรายได้ของครอบครัว

6.จัดรายการอาหารสำรับให้เหมาะสมกับช่วงเวลา เช่น มื้อเช้าควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพื่อให้มีพลังงานและสารอาหารเพียงพอสำหรับประกอบกิจกรรมต่างๆ

ที่มา : หนังสือประกอบการเรียนวิชาการงานอาชีพ สำนักพิมพ์ เอมพันธ์

https://waveakkarapon.wordpress.com/
https://sites.google.com/sites/tasarikat