4.1ความรู้เกี่ยวกับอาชีพ

อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการที่ไม่เป็นโทษแก่สังคม และมีรายได้ตอบแทน โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการ แตกต่างกันไปกลุ่มอาชีพตามลักษณะการประกอบอาชีพ มี 2 ลักษณะ คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้าง

1. อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเอง แต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่ม อาชีพอิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมีความจำเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็นผู้ลงทุน และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพ เป็นไปอย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหาร ขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ ความสามารถในเรื่อง การบริหาร การจัดการ เช่น การตลาด ทำเลที่ตั้ง เงินทุน การตรวจสอบ และประเมินผล เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความอดทนต่องานหนัก ไม่ถ้อถอยต่อ ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดำเนินงาน ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง

2. อาชีพรับจ้าง หมายถึง อาชีพที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ โดยตัวเองเป็นผู้รับจ้าง ทำงานให้ และได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้างประกอบด้วย บุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่าจ้างกัน บุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า "นายจ้าง" หรือผู้ว่าจ้าง บุคคลฝ่ายหลังเรียกว่า "ลูกจ้าง" หรือผู้รับจ้าง มีค่าตอบแทนที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ ผู้รับจ้างเรียกว่า "ค่าจ้าง

ความสำคัญของอาชีพ

1. ความสำคัญของอาชีพต่อตนเอง

การประกอบอาชีพของแต่ละบุคคล มีความสำคัญหลายประการดังนี้

- อาชีพช่วยสร้างรายได้

- ได้ใช้ทักษะและความสามารถ

- สะท้อนบุคลิกภาพและความเป็นตัวเอง

- สร้างคุณค่าให้แก่ตัวเอง

2. ความสำคัญของอาชีพต่อครอบครัว

ครอบครัวเป็นหน่วยสังคมที่เล็กที่สุด สมาชิกของครอบครัวประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ซึ่งมีภาระหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน เช่น พ่อแม่มีหน้าที่เลี้ยงดูลูกและให้การศึกษา เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต ลูกมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษา แล้วแสวงหาอาชีพ เพื่อหารายได้มาเลี้ยงดูตนเอง พ่อแม่ และทุกคนในครอบครัว ให้มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

3. ความสำคัญของอาชีพต่อชุมชน

ครอบครัวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนหรือสังคม หากสมาชิกแต่ละครอบครัวประกอบอาชีพที่สุดจริตถูกต้องตามกฎหมาย และมีอาชีพที่มั่นคง รายได้ดี และมีโอกาสก้าวหน้าภายในชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจของชุมชนเจริญรุ่งเรืองสามารถพึ่งพาตนเองได้

4. ความสำคัญของอาชีพต่อประเทศชาติ

เมื่อประชาชนในชาติมีการประกอบอาชีพ มีรายได้มาเลี้ยงตนเองและครอบครัว ทำให้อัตราการว่างงานลดน้อยลง ย่อมเป็นการแก้ไขปัญหาสังคมให้กับรัฐบาล สภาพสังคมมีความเป็นอยู่ที่ดี มีการใช้ทรัพยากรภายในชุมชน รายได้เกิดการหมุนเวียน ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก้าวหน้า ผลจากการที่ประชาชนประกอบอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ชุมชนมีความเข้าแข็งและชำระภาษีให้แก่รัฐ เพื่อรัฐจะได้นำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น การสร้างถนน สะพาน เขื่อน โรงไฟฟ้า เป็นต้น การประกอบอาชีพของประชาชน ในชุมชนและในประเทศ จึงเป็นการช่วยพัฒนาประเทศชาติได้อีกทางหนึ่ง



แนวทางเข้าสู่อาชีพ


การประกอบอาชีพในสถานประกอบการต่าง ๆผู้สมัครต้องอ่านประกาศรับสมัครงานจากโปสเตอร์เว็บไซต์ในอินเทอร์เนต หนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ซึ่งจะพบว่ามีการระบุคุณสมบัติของผู้สมัครในแต่ละตำแหน่งตามลักษณะงานที่แตกต่างกันไปแล้วสมัครงานตามที่ตนเองสนใจสามารถจำแนก

คุณสมบัติที่จำเป็นในการรับสมัครงานได้ดังนี้

1. คุณวุฒิ หมายถึงระดับการศึกษา เช่นประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส)ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ซึ่งเป็นสิ่งที่รับรองว่าบุคคลที่สมัครงานนั้นมีความรู้ความสามารถพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ประกาศรับสมัครและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นอาชีพครูต้องการปริญญาตรีสาขาคคุรุศาสตร์มีใบประกอบวิชาชีพครูจากองค์การคุรุสภา

2. วัยวุฒิ หมายถึงอายุที่เหมาะสมกับการทำงานในตำแหน่งต่างๆซึ่งอายุนี้เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความแข็งแรงคล่องแคล่วในการปฏิบัติงานและวุฒิภาวะในการตัดสินใจเช่นผู้เสิร์ฟต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี สุขภาพแข็งแรงมีความอดทนต่อการยืนเดินต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผู้จัดการต้องการอายุ 25-35 เพราะควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากได้

3. เพศ หมายถึงเพศหญิงเพศชายซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านสรีระและลักษณะการทำงานจึงมีความเหมาะสมในอาชีพที่แตกต่างกัน เช่นอาชีพวิศวกรโยธาต้องการเพศชานคล่องตัวอดทนในการคุมงานก่อสร้าง อาชีพเลขานุการต้องการเพศหญิงที่มีความละเอียดรอบคอบและความเป็นระเบียบ

เรียบร้อยในงานเอกสาร อาชีพนักกีฬาต้องการทั้งชายและหญิงที่มีสุขภาพแข็งแรง

4. บุคลิกภาพและลักษณะนิสัยหมายถึงลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลซึ่งแตกต่างกันเนื่องมาจากการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองและการเลียนแบบของบุคคลที่ชื่นชอบ อุปนิสัยที่ทุกคนควรจะปลูกฝัง

4.1 มีมนุษยสัมพันธ์ ในการปฏิบัติงานทุกอาชีพ การมีมนุษยสัมพันธ์ดีเป็นคุณสมบัติที่ทุกคนปฏิบัติงานควรจะมีเพราะจะช่วยให้การปฏิบัติงานราบรื่นเนื่องจากการพูดคุยกันด้วยวาจาให้เกียรติยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกันยิ้มแย้มแจ่มใสช่วยเหลือกันและกันในการทำงาน

4.2 มีความเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ มีความมั่นใจในตนเอง มีไหวพริบดี ผู้ปฏิบัติงานที่ดีควรมีความเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ และมีไหวพริบในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ตำรวจ ทหาร ต้องกล้าตัดสินใจในการช่วยเหลือตัวประกันที่ตกอยู่ในอันตราย แพทย์ เมื่อพบผู้ป่วยตกอยู่ในอันตรายป่วยรุนแรงต้องรีบตัดสินใจดำเนินการรักษาอย่างรอบคอบเพื่อช่วยเหลือชีวิตของผู้ป่วยไว้

4.3 มีความรับผิดชอบผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรับผิดชอบในด้านต่าง ๆแบ่งออกได้ 2 ประเภทดังต่อไปนี้

1. ความรับผิดชอบในหน้าที่หลัก ปฏิบัติงานของตนให้ดีที่สุด ตรงต่อเวลาเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เพื่อนร่วมงานและองค์กร

2. ความรับผิดชอบในการตัดสินใจ เมื่อผู้ปฏิบัติงานกล้าตัดสินใจที่จะทำสิ่งใดนอกเหนือจากภาระหลักยอมรัผลที่เกิดขึ้นและร่วมหาทางแก้ไขร่วมกับผู้อื่นไม่ปัดภาระความรับผิดชอบหรือโยนความผิดให้ผู้อื่น

4.4 มีความขยัน คือคุณธรรมหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จไม่ใช่การประกอบอาชีพยังรวมไปถึงความขยันในการศึกษาเล่าเรียน ใฝ่รู้ ขยันฝึกและพัฒนาทักษะต่าง ๆ ขยันพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อผลการปฏิบัติงานดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

4.5 มีความอดทน ในการทำงานอาจพบปัญหาต่างๆได้ตลอดเวลาแม้จะไม่ได้เกิดจากตนเองดังนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องมีความอดทนในการแก้ปัญหาด่างๆออกไปได้โดยไม่ย่อท้อและไม่โวยวาย

4.6 มีความซื่อสัตย์ ดังคำกล่าวที่ว่าซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน ในการปฏิบัติงานใด ๆก็ตามควรปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ต่อองค์กรและต่อลูกค้าการหาผลประโยชน์จากการปฏิบัติงานอีกไม่ช้าลูกค้าย่อมรู้จุดประสงค์ของผู้กระทำและส่งผลเสียต่ออนาคตของตนเอง

4.7 มีสุขภาพจิตดี โดยมองโลกในแง่ดีสามารถปฏิบัติงานภายใต้แรงกดดันจากผู้ร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาลูกค้าและสถานการณ์ตึงเครียดจากการทำงานแก้ปัญหาอย่างมีสติคิดว่าปัญหาคือประสบการณ์ที่จะพัฒนาตนเองไม่โทษสิ่งอื่น ปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้อย่างเหมาะสม

5. ความรู้ความสามารถ ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความสามารถได้แก่ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานที่ทำการที่จะมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนจากสถานศึกษาต่างๆและฝึกงานเพื่อให้เกิดความชำนาญ รู้ถึงอุปกรณ์สำนักงาน คอมพิวเตอร์เพื่อทำงานได้สะดวกรวดเร็ว

6. ประสบการณ์ งานบางตำแหน่งต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว เช่น ตำแหน่งผู้จัดการหรือผู้บริหารส่วนใหญ่ต้องการผู้ที่เคยผ่านการปฏิบัติงานจริงมาก่อนเป็นระยะเวลานานหรือผ่านการฝึกงานในตำแหน่งที่สมัครงานเพราะจะสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาได้