2.2 ความปลอดภัยในการติดตั้ง

ความหมายและความสำคัญของการจัดการ

การจัดการ หมายถึง ความพยามของบุคคลที่จะจัดระบบงาน (ทำงานเป็นรายบุคคล) และจัดระบบคน (ทำเป็นรายกลุ่ม) ให้เหมาะสม เพื่อให้การทำงานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

กระบวนการจัดการงานช่าง

1.การวางแผนดำเนินการ เป็นความสามารถในการวางแผนว่าจะใช้กำลังคนในการทำงานอย่างไร จำนวนเท่าไร อุปกรณ์อะไรบ้าง

2.การแบ่งงาน เป็นความสามารถในการแจกแจงงานที่จะทำว่าเป็นงานประเภทใด ต้องใช้เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์อะไรบ้าง

3.การบริหารบุคคล เป็นความสามารถในการคัดเลือกคนเข้าทำงานได้เหมาะสมกับงาน สามารถสร้างบรรยากาศในการทำงานและสร้างแรงจูงใจ

4.การบริหารการเงินและวัสดุ เป็นความสามรถในการเตรียมและจัดหา ตลอดจนควบคุม ตรวจสอบงบประมาณและวัสดุที่ได้วางแผนก่อนและหลังปฏิบัติ

5.การผลิต เป็นความสามารถในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ และมีการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพการผลิต

6.การจัดจำหน่ายและบริการ เป็นการอำนวยความสะดวกในการขนส่ง ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตไปสู่ลูกค้า

7.การแก่ไขปัญหา เกิดจาการตรวจสอบคุณภาพในขั้นตอนการผลิตหรือปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การประเมินผลการทำงานงานงานช่าง

1.การประเมินก่อนการดำเนินงาน เป็นการประเมินการวางแผนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานว่ามีความรู้ความเข้าใจในการทำงาน ตั้งแต่วัตถุประสงค์ ทรัพยากรที่ใช้ มีความเหมาะสมเพียงพอหรอไม่

2.การประเมินระหว่างการดำเนินงาน เป็นการประเมินกระบวนการการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งการทำงานเป็นรายบุคคล และการทำงานกลุ่ม ได้แก่ การวิเคราะห์งาน การปฏิบัติงานตามขั้นตอน

3.การประเมินหลังการดำเนินงาน เป็นการประเมินความสำเร็จของงานหรือผลงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหมดไว้หรือไม่ หรือเป็นไปตามวัตถุประสงค์

ตัวอย่างเครื่องมือช่างพื้นฐาน

1. ค้อน

ค้อนเป็นเครื่องมือช่างขั้นพื้นฐานที่ควรมีติดไว้ทุกบ้าน มีหลากหลายรูปแบบสำหรับการใช้งานแต่ละประเภท ทั้งค้อนกลม ค้อนไม้ ค้อนยาง และอื่นๆ แต่ค้อนที่ควรมีติดบ้านคือเป็นค้อนหงอน เพราะใช้ทั้งตอก ทุบ และส่วนหัวยังเป็นง่ามใช้ถอนตะปูได้อีกด้วย

2. ไขควง

เป็นเครื่องมือช่างที่ไม่มีไม่ได้ ไขควงมีหลากหลายขนาด ตั้งแต่หัวเล็กจนถึงหัวใหญ่ ปากแบน ปากแฉกและอื่นๆ มีไว้เพื่อขันสกรูให้แน่นหรือคลายสกรูออก ทุกบ้านควรมีติดไว้หลายขนาดเพื่อรองรับทุกการใช้งาน

3. คัตเตอร์ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือช่างที่หยิบมาใช้บ่อย คัตเตอร์มีไว้สำหรับกรีด ตัด เซาะ สามารถเปลี่ยนใบมีดได้ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวังไม่ให้บาดมือ

4. ประแจเลื่อน

งานขันเกลียวน็อต หรือยึดอุปกรณ์ต่างๆ ต้องประแจเลื่อนเลย ถือว่าเป็นเครื่องมือช่างที่แต่ละบ้านขาดไม่ได้ ประแจเลื่อนมีลักษณะเป็นด้ามยาวส่วนหัวมีรูปทรงพอดีกับอุปกรณ์ ทำขึ้นจากเหล็กกล้า ทำให้แข็งแรงทนทาน

5. สว่านไฟฟ้า

สว่านไฟฟ้า เป็นเครื่องมือเจาะที่ใช้ร่วมกับดอกสว่าน ใช้กําลังขับ จากมอเตอร์ไฟฟ้า ใช้ในการเจาะรูในงานโลหะหรืองานไม้ ปัจจุบันสว่านไฟฟ้าเป็นที่นิยมใช้กันมากกว่าสว่านชนิดอื่น ๆ เพราะมีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ประสิทธิภาพ การทํางานสูง การใช้งาน ใช้เจาะรู เหมาะสําหรับงานไม้ งานโลหะ งานก่อสร้าง

ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ดอกสว่านผิดประเภท เช่น ดอกสว่านเจาะคอนกรีตไม่ควรนําไปเจาะเหล็ก

6. ตลับเมตร

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยวัดขนาดสิ่งของ ให้ค่าที่แม่นยำ วัดได้ยาว แถมยังทนทาน ขนาดกะทัดรัดจัดเก็บง่ายอีกด้วย

7. คีมปากจระเข้

เป็นเครื่องมือช่างที่แข็งแรงทนทาน สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เหมาะกับการใช้งานในที่แคบ สามารถใช้จับชิ้นงานขนาดเล็ก ตัดลวดหรือสายไฟได้

ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้คีมตัดโลหะที่มีขนาดใหญ่หรือ หรือแข็งเกินไป เมื่อเลิกใช้งานควรทํา ความสะอาดเก็บเข้าที่ และหยอดน้ํามัน เสมอ

8. เทปพันสายไฟ

วัสดุใช้ป้องกันสายไฟฟ้าลัดวงจรได้ดี โดยเทปพันสายไฟที่ดีจะเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี อ่อน เหนียว คงทน สามารถกันน้ำ และความชื้นได้ดีเยี่ยม อีกทั้งเมื่อพันแล้วยังแนบสนิทไปกับสายไฟ

9. ปืนกาว

สำหรับงานยึดติดวัสดุขนาดเล็ก ระบน้ำหนักไม่มาก ปืนกาวจึงเป็นเครื่องมืดช่างที่ตอบโจทย์ มีลักษณะคล้ายปืน ช่วยให้ติดกาวร้อนในบริเวณที่ต้องการได้สะดวก รวดเร็ว แถมยังเหนียวยึดติดยาวนาน นอกจากใช้กับงานประดิษฐ์ต่างๆ แล้ว ยังช่วยในการยึดติดวัสดุต่างๆ ได้อีกด้วย เช่น ผ้า ไม้ พลาสติก กล่อง เป็นต้น

10. ถุงมือผ้า

เพื่อความปลอดภัย ถุงมือผ้าอีกหนึ่งเครื่องมือช่างขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีติดบ้านไว้ เพราะเมื่อต้องลงมือซ่อมแซมอะไรสักอย่าง จะต้องหยิบจับ หรือใช้เครื่องมือที่มีความคมซึ่งอาจทำให้มือได้รับบาดเจ็บได้

11เครื่องมือสําหรับการตัด

ในการออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานจําเป็นต้องใช้เครื่องมือในการตัด ซึ่งมีอยู่หลายประเภท ด้วยกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน เช่น กรรไกร คัตเตอร์ เลื่อยมือ คีมตัด

11.1 กรรไกร การใช้งาน ใช้สําหรับการตัดวัสดุให้เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือเส้นหยัก กรรไกรมีหลาย ประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน เช่น ตัดกระดาษ ตัดผ้า ตัดเหล็ก ตัดพลาสติก

ข้อควรระวัง ในปฏิบัติงานจําเป็นต้องเลือกใช้ กรรไกรให้เหมาะสมกับประเภทของวัสดุ เช่น กรรไกรตัดกระดาษ กรรไกรตัดผ้า กรรไกรตัดโลหะ

11.2 คัตเตอร์ การใช้งาน เป็นเครื่องมือสําหรับตัด ปอก ขูด เหมาะสําหรับ ตัดกระดาษ พลาสติกลูกฟูก ไม้บัลซา ที่เป็น ลักษณะของการตัดตรง ขูดลับความคมของดินสอ

ข้อควรระวัง คัตเตอร์เป็นของมีคม ควรใช้งานอย่างระมัดระวัง หากวัสดุเป็นแผ่นหนา ไม่ควรใช้แรงกดมากเกินไป เพื่อให้วัสดุขาดจากกันในครั้งเดียว ควรกรีดหรือตัด ซ้ํารอยเดิมหลาย ๆ ครั้ง เพื่อความปลอดภัย

12. เลื่อยมือ เป็นเครื่องมือสําหรับการตัดซึ่งมีหลายประเภท ในการปฏิบัติงานจําเป็นต้องเลือกใช้เลื่อยให้ เหมาะสมกับประเภทของวัสดุ เช่น เลื่อยรอ เลื่อยฉลุ

12.1 เลื่อยฉลุ

การใช้งาน เป็นเครื่องมือสําหรับงานไม้ เหมาะสําหรับ งานตัดโค้ง ทําลวดลายกับชิ้นงานไม้ที่ไม่หนา และใหญ่มาก

ข้อควรระวัง เมื่อเลิกใช้งานควรถอดใบเลื่อยออกจาก โครงเลื่อยฉลุทันที

12.2 เลื่อยลันดา

การใช้งาน เหมาะสําหรับตัดไม้ทั่วไป ตัวเลื่อยทําจาก เหล็ก ส่วนมือจับทําด้วยไม้หรือพลาสติก

ข้อควรระวัง ใบเลื่อยเป็นของมีคม ดังนั้นควรใช้งานด้วย ความระมัดระวัง ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น13. วัสดุและเครื่องมือสําหรับการติดยึด ในการออกแบบและสร้างสรรค์ชิ้นงานจําเป็นต้องใช้เครื่องมือในการติดยึด ซึ่งมีอยู่หลาย ประเภทด้วยกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน เช่น กาว ปืนกาว

13.1 กาว กาวมีหลายประเภท เช่น กาวลาเท็กซ์ กาวร้อน กาวยาง กาวแท่ง การใช้งานขึ้นอยู่กับพื้นผิว ของวัสดุที่ต้องการให้ติดยึดเข้าด้วยกัน

1.1 กาวลาเท็กซ์ การใช้งาน เหมาะสําหรับยึดติดวัสดุประเภทไม้ กระดาษ ผ้า กาวชนิดนี้แห้งช้า ควรทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง โดยเฉพาะไม้ควรทิ้งไว้ข้ามคืน เมื่อกาวแห้งแล้ว จะยึดติดวัสดุได้แน่นมาก กาวชนิดนี้ไม่เป็น อันตรายมาก ผู้ใช้งานที่เป็นเด็กสามารถใช้งานได้

ข้อควรระวัง ใช้งานเสร็จควรปิดฝาเพื่อป้องกันการแห้งของกาว

1.2 กาวร้อน การใช้งาน ยึดติดวัสดุต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิด แห้งเร็วมาก เหมาะสําหรับวัสดุประเภทยาง พลาสติก โลหะ เซรามิก

ข้อควรระวัง ต้องระวังไม่ให้สัมผัสกับผิวหนัง หากถูกสัมผัส ให้ล้างออกโดยเร็วด้วยน้ํา และไขมัน เมื่อใช้งานเสร็จควรปิดฝาเก็บให้มิดชิด

1.3 กาวยาง การใช้งาน ใช้ยึดติดวัสดุต่าง ๆ ได้เกือบทุกประเภท เนื้อกาวมีลักษณะเป็นของเหลวมีทั้งที่ เป็นสีเหลืองและสีใส เมื่อทากาวแล้ว ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 1 ชั่วโมง เหมาะสําหรับงานเฟอร์นิเจอร์หรืองานซ่อมแซมต่าง ๆ

ข้อควรระวัง กาวชนิดนี้ละลายน้ําได้ จึงไม่เหมาะกับงานที่ ต้องใช้กลางแจ้งหรือที่ต้องสัมผัสกับน้ํา

1.4 กาวแท่ง การใช้งาน ใช้ยึดติดวัสดุประเภทกระดาษ เนื้อกาวมีลักษณะเป็นของแข็ง แฉะ เนื้อกาวติดเรียบ ไม่เลอะเทอะ ไม่ทําให้กระดาษย่น

ข้อควรระวัง ใช้งานเสร็จ ควรปิดฝาเก็บให้เรียบร้อย

13.2 ปืนกาว ปืนกาวมีส่วนประกอบสําคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายปืนมีสายไฟต่อสําหรับใช้กับ ปลั๊กไฟ ทําหน้าที่เป็นตัวให้ความร้อนและส่วนที่สองคือกาว มีลักษณะเป็นแท่งใสหรือขาวขุ่น เมื่อใส่แท่งกาว ลงไปในตัวปืน ความร้อนจะทําให้แท่งกาวละลายเป็นเนื้อกาวที่มีความเหนียว

การใช้งาน ใช้สําหรับงานยึดติดวัสดุประเภทกระดาษ ไม้ ยาง พลาสติก

ข้อควรระวัง การใช้งานควรระวังไม่ให้สัมผัสกับกาว เนื่องจากมีความร้อนค่อนข้างสูง

14. สกรู

มีลักษณะคล้ายตะปูแต่มีเกลียวโดยรอบ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ตะปูควง หรือ ตะปูเกลียว ใช้ สําหรับยึดวัตถุสองชิ้นเข้าด้วยกันโดยใช้เกลียวเป็นตัวหมุนเจาะเข้าไปในเนื้อวัสดุหรือรูของวัตถุขึ้นอยู่กับ ชนิดของวัสดุนั้น สกรูมีหลายชนิด ในที่นี้จะยกตัวอย่างในการใช้งานทั่วไป 2 ชนิด ดังนี้

14.1 สกรูเกลียวปล่อย

เป็นสกรูที่มีปลายแหลม ใช้สําหรับ ยึดชิ้นงานที่ต้องการแรงยึดตรึงสูง โดยส่วนเกลียว จะแทรกเข้าไปฝังเข้ากับเนื้อวัสดุของชิ้นงาน สามารถทนต่อแรงดึงได้ดี หัวสกรูมีหลายแบบ เช่น แบบหัวกลม แบบหัวเรียบ แบบหัวแฉก แบบหัวผ่า

การใช้งาน ใช้สําหรับยึดชิ้นงานไม้เข้าด้วยกัน โดยใช้ไขควงช่วยในการขันเกลียว เข้าไปในเนื้อวัสดุโดยตรง

ข้อควรระวัง การขันเข้าและคลายออกหลายครั้ง อาจทําให้ชิ้นงานเสียหายได้

14.2 สกรูและนอต

เป็นสกรูที่มีปลายตัด ต้องใช้ร่วมกับ นอตที่มีขนาดเกลียวที่เข้ากันได้ ใช้หลักการบีบอัด วัตถุ 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน โดยการขันนอตให้แน่น หัวสกรูมีหลายแบบ เช่น สกรูหัวแฉก สกรูหัวผ่า สกรูแฉกเรียบ

การใช้งาน ใช้ยึดชิ้นงานที่เป็นโลหะเข้าด้วยกัน โดยต้องเจาะรู ชิ้นงานขนาดพอดีกับสกรู แล้วจึงขันสกรูและนอต สามารถถอดและยึดเพื่อประกอบชิ้นงานใหม่ได้

ข้อควรระวัง การขันเข้าสกรูกับนอต ต้องวางตําแหน่งให้ตรงกันก่อนขัน เพราะอาจทําให้ เกลียวชํารุดได้