การรวบรวมข้อมูลและการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

จุดประสงค์

1. บอกขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล

2. การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล

การรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจให้ได้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ ควรดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน เพราะจะช่วยให้การรวบรมข้อมูลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. กำหนดจุดประสงค์ เช่น

- เพื่อรวบรวมปลาน้ำจืดในประเทศไทย

- เพื่อบอกวิธีการการทำไม้กวาดทางมะพร้าว

2. วางแผนรวบรวมข้อมูล

2.1 กำหนดหัวข้อ

- ชื่อปลา แหล่งที่พบ ภาพปลา

- อุปกรณ์ในการการไม้กวาดทางมะพร้าว วิธีทำ ภาพไม้กวาดทางมะพร้าว

2.2 เลือกแหล่งข้อมูล

- ห้องสมุด

- สัมภาษณ์คุณตาในการทำไม้กวาดทางมะพร้าว

2.3 เขียนแผนปฏิบัติการ

- 12.00 น. ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด

- 16.00 น. สัมภาษณ์คุณตาทำไม้กวาดทางมะพร้าว

2.4 เตรียมอุปกรณ์

เตรียมสมุดบันทึก ยางลบ ดินสอ ปากกา ในการค้นหาข้อมูลในห้องสมุด

เตรียมอุปกรณ์ในการสัมภาษณ์คุณตาทำไม้กวาดทางมะพร้าว

3. ดำเนินการค้นหาและรวบรวมข้อมูล

ค้นหาหนังสือในห้องสมุดเรื่องปลาน้ำจืด ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการ แล้วจดบันทึกลงในสมุดบันทึกที่เตรียมไป

สัมภาษณ์คุณตาเกี่ยวกับการทำไม้กวาดทางมะพร้าว และคนอื่นๆ ในชุมชนนั้นที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำไม้กวาดทางมะพร้าวได้

4. พิจารณาข้อมูล

5. สรุปผล

การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

ข้อมูลที่ค้นหาได้จากหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต เมื่อนำมาใช้งานจะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ซึ่งจะทำให้ผู้อื่นสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่อ้างอิง สร้างความน่าเชื่อถือให้กับข้อมูลที่นำมาใช้งาน และเป็นการให้เกียรติต่อผู้เป็นเจ้าของข้อมูลอีกด้วย

การเขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับลักษณะของแหล่งข้อมูล เช่น

หนังสือ ชื่อผู้แต่ง.//(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//ครั้งที่พิมพ์.//เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์. (หมายเหตุ // คือการเว้นวรรค /=1วรรค)

ตัวอย่าง วนิษา เรซ. (2550). อัจริยะสร้างได้. 1. กรุงเทพมหานคร : ไทยยูเนี่ยนกราฟฟิกส์.

เว็บไซต์ ชื่อผู้แต่ง.//(วันเดือนปีที่สืบค้น).//ชื่อเรื่อง.//แหล่งที่มา (เว็บไซต์)

ตัวอย่าง สุทัศน์ ยกส้าน. (21 มีนาคม 2554). แผ่นดินไหว. http://www.vichakarn.com/varticle/38152

บทความ ชื่อผู้เขียนบทความ.//(วัน เดือน ปี). "ชื่อบทความ"/ชื่อวารสาร.//เลขหน้า.

ตัวอย่าง ศิริพงษ์. (21 กุมภาพันธ์ 2554). "วิกฤตอาหารหวนคืนมา" มติชนรายวัน. 10.

วชิร ศรีคุ้ม. (ปีที่ 38 ฉบับที่ 168 กันยายน - ตุลาคม 2553). "แรงจูงใจจากต้นไม้" นิตยสาร สสวท. 42-44.

บทสัมภาษณ์ ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์.//(วันเดือนปีที่สัมภาษณ์).//ตำแหน่ง(ถ้ามี).//สัมภาษณ์โดย.//ชื่อผู้สัมภาษณ์.//สถานที่สัมภาษณ์. (ถ้ามี)

ตัวอย่าง วินัย มั่นคง. (30 กันยายน 2533). รองผู้อำนวยการ. สัมภาษณ์โดย. เด็กชายกันต์ อารีรัตน์. โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ.

แบบฝึกทบทวน

1. ให้นักเรียนบอกขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล

2. ให้นักเรียนเขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล เมื่อต้องนำข้อมูลจากหนังสือเรียนเล่มนี้ไปใช้งาน