1.ความหมายและประเภทของข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูลและสารสนเทศมีความหมายและประเภทที่หลากหลาย เนื่องจากข้อมูลและสารสนเทศถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร ข้อมูลและสารสนเทศจึงมีความหมายและประเภทเปลี่ยนไปตามลักษณะของงานที่นำไปใช้ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

1.1 ข้อมูล

ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งมีได้หลายรูปแบบ เช่น ภาพ เสียง ตัวเลข ข้อความ เป็นต้น

ลักษณะข้อมูลที่ดี ประกอบด้วย

1. มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ (Accuracy) คือ เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า

2. ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) คือ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจะต้องสามารถใช้ในการประมวลเพื่อตอบตอบสนอกับสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการทราบได้

3. มีความทันสมัย (Timeliness) คือข้อมูลเป็นปัจจุบัน โดยสามารถนไปใช้ประโยชน์ได้จริง เช่น ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครอง เป็นต้น

4. เชื่อถือได้ (Reliability) คือ ข้อมูลที่เป็นจริงหรือสมเหตุสมผล

5. ตรวจสอบได้ (Verifiability) คือความสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลได้

ประเภทของข้อมูล สามารถแบ่งได้หลายวิธีตามเกณฑ์ในการจำแนก ลักษณะดังนี้

1. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลที่ได้จากการนับ (Counting Data) ข้อมูลที่ได้จากการวัด (Meansurement Data) ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต (Observation Data) และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ (Interview Data)

2. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะการจัดการข้อมูล คือ ข้อมูลดิบ และข้อมูลที่เป็นกลุ่ม

1) ข้อมูลดิบ เป็นข้อมูลทุกรูปแบบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล

2) ข้อมูลที่จัดเป็นกลุ่ม เป็นข้อมูลที่มีการแบ่งหมวดหมู่

3. การแบ่งข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitation Data) สามารถวัดได้ เปรียบเทียบได้ และข้อมูลเชิงคุณภาพ (Quanlitative Data) เป็นข้อมูลแสดงลักษณะที่แตกต่างกัน

4. การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ ได้แก่ ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) และข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการเก็บรวบรมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง แต่ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้แล้ว

5. การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลภาพ (Image Data) และข้อมูลเสียง (Sound Data)

1.2 สารสนเทศ

สารสนเทศ (Information) คือ สิ่งที่ได้จากการประมวลผลของข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ เช่น การวางเเผน การพัฒนา การควบคุม

คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีประกอบด้วย ความเชื่อถือได้ เข้าใจง่าย ทันต่อเวลา คุ้มราคา ตรวจสอบได้ สอดคล้องกับความต้องการ เข้าถึงได้ง่าย เเละมีความปลอดภัย

สารสนเทศสามารถเเบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น

1. การแบ่งตามหลักแห่งคุณภาพ ได้แก่ สารสนเทศเข็ง คือ สารสนเทศที่เชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสินใจและการวางแผน และสารสนเทศอ่อน คือ สารสนเทศที่บอกถึงความรู้สึกหรือสัญชาตญาณ สิ่งที่อยู่ภายในใจ และมีความคลุมเครื่อ

2. การแบ่งตามแหล่งกำเนิด ได้แก่ สารสนเทศภายในองค์กร และสารสนเทศภายนอกองค์กร

3. การแบ่งตามสาขาความรู้ ได้แก่ สารสนเทศสาขามนุษยศาสตร์ สารสนเทศสาขาสังคมศาสตร์ สารสนเทศสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เเละสารสนเทศสาขาอื่น ๆ

4. การเเบ่งตามการนำไปใช้งาน ได้แก่ สารสนเทศด้านการตลาด สารสนเทศด้านการวิจัยและพัฒนาบุคลากร

5. การแบ่งตามการใช้และการถ่ายทอด ได้แก่ สารสนเทศที่นันวิชาการ สารสนเทศที่เน้้นเทคนิค และสารสนเทศที่นันบุคคล

6. การเเบ่งตามวิธีการผลิตเเละการจัดทำ ได้เก่ สารสนเทศต้นเเบบ เเละสารสนเทศปรุงแต่ง

7. การแบ่งตามรูปเเบบที่นำเสนอ ได้แก่ สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นเสียง สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นข้อความ สารสนเทศที่มีลักษณะเป็นโสตทัศนวัสดุ และสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นอิเล็กทรอนิกส์