วัดหลวงเชียงรายในอดีต

วิถีชาวพุทธชุมชนอยู่ที่ใดก็สร้างวัดเป็นศาสนสถานเพื่อปฏิบัติศาสนกิจควบคู่กันไปเสมอ เมื่อมีการอพยพผู้คนจากบ้านเมืองเดิมรวมทั้งการนิมนต์พระภิกษุสามเณรร่วมขบวนมาด้วยในคราวนั้นพระผู้ใหญ่ที่นำพระเณรมาด้วยคือครูบากุมารแม้นจะไม่มีหลักฐานชัดเจนก็ยังเชื่อว่าท่านก็คงมีเชื้อสายของเจ้าฟ้าเมืองเชียงรายเป็นแน่

วัดหลวงเชียงรายในอดีต

การบิณฑบาตเป็นกิจวัตรของพุทธบุตร

จากพิกัดแผนที่โบราณในภาพจะเห็นว่าวัดจะอยู่ริมฝั่งน้ำชิดกำแพงเมืองและไม่ไกลจากประตูเมืองเชียงรายสักเท่าไหร่ในระแวกฝั่งซ้ายแม่น้ำวังในยุคนั้นก็จะมีวัดเมืองสาด วัดกลางเวียง( วัดบุญวาทย์วิหารในปัจจุบัน) วัดคะตึกเชียง วัดเชตะวัน วัดหลวงเชียงรายในอดีตก็คงรักษาเอกลักษณ์เมืองเชียงรายอันมีศิลปะเชียงแสนที่โดดเด่นเป็นหลัก พิธีกรรมทางศาสนาก็ยึดแนวพุทธทางล้านนาที่สืบทอดมาจากอาณจักรล้านนาเป็นสำคัญ

จุดที่ตั้งวัดต่างๆในกำแพงเมืองยุคที่๓

วัดรูปทรงศิลปะเชียงแสน

พิธีกรรมทางศาสนาชาวล้านนา

การปฏิบัติศาสนกิจในยุคสมัยนั้นมีแนวทางของวัฒนธรรมล้านนามีรูปแบบพิธีกรรม การสวดมนต์ ปฎิบัติธรรมของตนเอง การสวดการเทศสนาธรรมใช้ภาษาคำเมือง มีคำสวดตัวเมืองที่จารบนใบลานและปั๊บธรรมที่จารึกลงกระดาษสา การเทศสนาบนธรรมมาศที่จัดสร้างขึ้นอย่างปราณีต ใช้ภาษาบาลีผสมกับคำเมืองซึ่งยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน


การสวดมนต์ทำนองของชาว
ล้านนาที่สืบทอดกันมา

ชาวบ้านการเข้าวัดสวดมนต์ฟังธรรม

งานประเพณีตานก๋วยสลาก

แม้รูปแบบการปกครองสงฆ์จะอาศัยการยกย่องนับถือตามหลักธรรมวินัยในพระไตรปิฎกโดยยึดถืออาวุโสตามพรรษาที่บวชเรียนรวมทั้งศรัทธาจากวัตรปฏิบัติของพระคุณเจ้าและความเคารพนับถือจากคณะศรัทธาอุบาสกอุบาสิกา พระภิกษุสงฆ์ในยุคนั้นจึงอาศัยแนวทางของวัฒนะธรรมล้านนาที่สดสวยดีงาม วัดหลวงเชียงรายจากการปกครองดูแลของครูบากุมาร ในชุมชนบ้านเชียงรายสืบทอดมาด้วยความปกติสุขของบ้านเมืองต่อเนื่องเรื่อยมา หลักเกณฑ์การปกครองคณะสงฆ์เริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อเริ่มมีการวางระบบการปกครองจากรัฐบาลสยามซึ่งดูแลปกครองอาณาจักรล้านนาแทนพม่าในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีต่อเนื่องมาถึงสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในรัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาเจ้าอาวาสที่มาจากเชื้อสายตระกูล”ขัติเชียงราย”อันมีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนาที่เชื่อมโยงการปกครองคณะสงฆ์และการศึกษาของภิกษุสงฆ์ได้เริ่มมีการพัฒนาการจัดการองค์กรของคณะพระสังฆาธิการและระบบการศึกษาของพระภิกษุสามเณรที่มีรูปแบบชัดเจนภายใต้ความเป็นองค์ศาสนูปถัมภกของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี

การทำบุญถวายทานตามวิถีของขาวพุทธ

การทอดกฐินเพื่อช่วยจรรโลงพระศาสนา