การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนปัจจุบันได้ดำเนินโดยมีนางสาววรญา วิไลรัตน์ ผู้อำนวยการสถานศึกษาได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการในเดือนมิถุนายน ปีพุทธศักราช 2560 ได้สานต่องานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนโดยนำทีมคณะผู้บริหารและคณะครูแกนนำงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเข้าศึกษาดูงานสวนพฤกษศาสตร์ที่โรงเรียนเทศบาล3(ศรีทรายมูล)จังหวัดเชียงรายในวันที่ 11 กันยายน 2562 มีรายชื่อดังต่อไปนี้ 1.นางสาวจงกลณีย์  ยะย่าเป้า รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 2. นางนวรัตน์  อังศุภัค ตำแหน่งครู  วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 3.นายสราวุฒิ  ปันดี ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 4.นางอรทัย เรืองรินทร์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 5.นางกัญญ์สิริ  โกษาวัง ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ 6.นางวลัยรัตน์ พุแพง ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 7.นางสาวอรัญญา  มาน้อยตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 8.นายณภัทร จิณานุกูลตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และ 9.นางอมรรัตน์ พงศ์พัฒนะนุกุล ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ เพื่อนำความรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมาขับเคลื่อนองค์กรภายในโรงเรียนพร้อมทั้งได้ความรู้ และข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องในการปฏิบัติงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในการรักษามาตรฐานป้ายพระราชทาน

        ในวันที่ 9-12 มกราคม 63 ทางโรงเรียนได้นำคณะครูที่มีรายชื่อต่อไปนี้1. นางพัชรี ต๊ะสูง ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 2.นางวลัยรัตน์ พุแพง ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 3.นายสัญญา  จิตรงาม ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 4.นางนวรัตน์  อังศุภัค ตำแหน่งครู  วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 5.นางกัญญ์สิริ  โกษาวัง ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ 6. นางสาวอรัญญา  มาน้อยตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 7.นางอรทัย เรืองรินทร์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 8.นายสราวุฒิ  ปันดี ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และ9.นางศิริวัลย์  ธนาพุฒิกร ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และ10.นางอมรรัตน์ พงศ์พัฒนะนุกุล ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการขออนุญาต เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนประจำปีงบประมาณ 2563 ฝึกอบรมงานสวนพฤกษศาสตร์ หลักสูตร 5 องค์ประกอบ วันที่ 9-12 มกราคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ตามประกาศประชาสัมพันธ์ ศูนย์ประสานงานโครงการ อพ.สธ.มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ เนื่องจากจะได้นำความรู้จากการอบรม และนำใบงานที่เป็นปัจจุบันตามเกณฑ์การประเมินของโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมาขับเคลื่อนองค์กรภายในโรงเรียนพร้อมทั้งได้ความรู้ และข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องในการปฏิบัติงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในการรักษามาตรฐานป้ายพระราชทาน พร้อมกับนำความรู้ที่ได้เผยแพร่ให้กับคณะครูภายในโรงเรียนเพื่อให้ได้ปฏิบัติไปตามแนวทางเดียวกันต่อไป

      หลังจากคณะครูที่ได้รับการอบรมจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ได้นำความรู้มาเผยแพร่ให้กับคณะครูโรงเรียนเทศบาล 4  (บ้านเชียงราย) ในการอบรมครูโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) ระหว่างวันที่ 11 ก.ค 63 , 18 ก.ค. 63 และ 25 ก.ค. 63 ณ  ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารเวียงละกอน โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย)  ตำบลสวนดอก  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง 

  และนำมาเผยแพร่ให้กับนักเรียนแกนนำในโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม เรื่อง กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำนักเรียนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นผู้ช่วยครู และเป็นผู้ช่วยเพื่อนนักเรียนในการทำกิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมและดูแลพรรณไม้ในโรงเรียนเทศบาล 4  (บ้านเชียงราย)วันที่ 9 กันยายน 2563 เวลา 08.00-16.00 น. ณ  ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารเวียงละกอน โรงเรียนเทศบาล 4  (บ้านเชียงราย)  ตำบลสวนดอก  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง

   และนำความรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมาเผยแพร่ให้กับคณะครูโรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านศรีบุญเรือง) และโรงเรียนอนุบาลแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ในวันที่ 8-9 สิงหาคม 2563 

เข้าร่วมประชุมกลุ่มโรงเรียนงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จังหวัดลำปาง วันที่ 24 มีนาคม 2565 ณ สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดลำปาง

    เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จังหวัดลำปาง วันที่ 13 เดือนมิถุนายน 2566   ณ ห้องประชุมมะเกี๋ยง สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง

ปัจจุบันโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย) ได้แบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบออกเป็น 12 เขตพื้นที่และได้ใช้วิธีการศึกษาในแต่ละเขตพื้นที่โดยให้พี่และน้องดูแลร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน

และปัจจุบันได้ดำเนินการงานสวนพฤกษศาสตร์ ด้านการจัดการเรียนรู้ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ดังนี้

ด้านที่ 2 การดำเนินงาน

องค์ประกอบที่ 1 การจัดทำป้ายชื่อ พรรณไม้

หลักการ รู้ชื่อ รู้ลักษณ์ รู้จัก

สาระสำคัญ

การจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้โดยการเรียนรู้การกำหนดพื้นที่ศึกษา สำรวจและจัดทำผังพรรณไม้ แล้วศึกษา พรรณไม้ ทำตัวอย่างพรรณไม้ นำข้อมูลมาทำทะเบียนพรรณไม้ ทำและติดแสดงป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์ นำไปสู่การรู้ชื่อ รู้ลักษณะต่าง ๆ รวมถึงรู้จักการใช้ประโยชน์ของพืช

1. กำหนดพื้นที่ศึกษา

วัตถุประสงค์

1) เพื่อรู้ขอบเขต ขนาดพื้นที่ทั้งหมดของโรงเรียน

2) เพื่อรู้ลักษณะทางกายภาพในโรงเรียน

3) เพื่อรู้การแบ่งพื้นที่เป็นส่วนย่อยและการจัดการพื้นที่ศึกษาในการเข้าไปเรียนรู้ที่เหมาะสม

กระบวนการเรียนรู้

1)  เรียนรู้พื้นที่ทั้งหมดของโรงเรียนตามกรรมสิทธิ์และบริเวณรอบๆ โรงเรียนอยู่ใกล้กับสถานที่

ต่างๆ และตั้งอยู่ในทิศทางใดของโรงเรียน โดยระบุขนาดพื้นที่ทั้งหมดของโรงเรียนได้ และจัดทำเป็นผังพื้นที่ทั้งหมด ของโรงเรียน

2) เรียนรู้ถึงขอบเขตบริเวณของโรงเรียนและเรียนรู้ลักษณะทางกายภาพองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น

ตำแหน่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง บริเวณพื้นที่สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในโรงเรียน และจัดทำผังบริเวณ

3) เรียนรู้ถึงการกำหนดและแบ่งขอบเขตพื้นที่ภายในโรงเรียนเป็นพื้นที่ย่อย ๆ ตามข้อพิจารณาในการแบ่งพื้นที่ศึกษา จัดทำผังกำหนดขอบเขตพื้นที่ โดยพิจารณาดังนี้

3.1) แบ่งตามลักษณะทางภูมิศาสตร์

3.2) แบ่งตามการใช้ประโยชน์ของพื้นที่

3.3) แบ่งตามขนาดของพื้นที่ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ โดยระบุขนาดพื้นที่ศึกษาย่อยในแต่ละพื้นที่ได้ และขนาดพื้นที่เมื่อรวมกันแล้วเท่ากับพื้นที่ทั้งหมด ของโรงเรียน

2.  สำรวจพรรณไม้ที่ศึกษา

วัตถุประสงค์

1) เพื่อรู้ชนิด จำนวนต้นในแต่ละชนิด และจำแนกลักษณะวิสัย ที่สำรวจในพื้นที่ศึกษา

กระบวนการเรียนรู้

1) การสำรวจพรรณไม้

1.1) เลือกพื้นที่ศึกษาในการสำรวจพรรณไม้

1.2) เรียนรู้รูปแบบการสำรวจ (ควรเลือกพืชที่มีส่วนประกอบครบสมบูรณ์มากที่สุด)

1.3) สำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ศึกษา

1.4) สรุปจำนวนชนิดและจำนวนต้นที่พบ

2) การจำแนกชนิดตามลักษณะวิสัย

2.1) เรียนรู้ลักษณะวิสัยพืช

2.2) จำแนกลักษณะวิสัยพืชที่สำรวจ

2.3) สรุปจำนวนลักษณะวิสัยที่พบ

3.ทำและติดป้ายป้ายรหัสประจำต้น

วัตถุประสงค์ 

 1) เพื่อรู้รูปแบบป้ายรหัสประจำต้นตามแบบ อพ.สธ. 

 2) เลือกวัสดุทำป้ายรหัสประจำต้นที่เหมาะสม 

 3) ติดป้ายรหัสประจำต้นให้ถูกต้อง 

กระบวนการเรียนรู้ 

1) รูปแบบป้ายรหัสประจำต้น 

1.1) เรียนรู้รูปแบบรหัสประจำต้น ประกอบไปด้วยตัวเลข 2 ชุด 

ชุดที่ 1 เป็นรหัสลำดับชนิดพรรณไม้ ประกอบไปด้วยตัวเลข 3 หลัก เช่น 001 คือ รหัสลำดับชนิดพรรณ ไม้ชนิดที่ 1 

ชุดที่ 2 เป็นรหัสลำดับต้น ประกอบไปด้วย ตัวเลข 1 หลักเป็นต้นไป เช่น /2 ระหว่างชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 ให้คั่นด้วยเครื่องหมาย / ยกตัวอย่างเช่น 001/2 คือ รหัสลำดับชนิดพรรณไม้ชนิดที่ 1 / รหัสลำดับต้น ต้นที่ 2 

หมายเหตุ 

– ในกรณีที่ชนิดนั้นมีต้นเดียว ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย / 

 - ในกรณีที่ต้นไม้ปลูกเป็นแปลงหรือกอ ให้รหัสลำดับประจำต้นนับเป็นแปลงหรือกอ

2) วัสดุทำป้ายรหัสประจำต้น

2.1) วัสดุที่ มีความคงทนและหาได้ง่ายตามท้องถิ่น เช่น ป้ายฯ พลาสติก กระป๋องอะลูมิเนียม แผ่นโลหะ ฯลฯ

4.ตั้งชื่อและสอบถามชื่อและศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน (ก.7-003 หน้า 1)

วัตถุประสงค์ 

1) เพื่อรู้ชื่อพื้นเมืองของพรรณไม้

 2) เพื่อรู้ข้อมูลพื้นบ้านของพรรณไม้ 

กระบวนการเรียนรู้ 

1) เรียนรู้การตั้งชื่อและสอบถามชื่อของพรรณไม้ 

1.1) เรียนรู้การตั้งชื่อพื้นเมือง กรณีที่ไม่ทราบชื่อพรรณไม้อาจตั้งชื่อตามรูปลักษณ์ คุณสมบัติพฤติกรรม หรือถิ่นอาศัยของพืชนั้นๆ ได้แก่

- สี เช่น แคแสด 

- รูปร่าง เช่น พลับพลึงตีนเป็ด 

- รูปทรง เช่น ไผ่น้ำเต้า 

- ผิว เช่น ส้มเกลี้ยง 

- กลิ่น เช่น เครือตดหมูตดหมา (พังโหม) 

- รส เช่น ไผ่จืด 

- พฤติกรรม เช่น บานเช้า 

1.2) เรียนรู้การสอบถามชื่อพื้นเมือง กรณีที่ไม่ทราบชื่อพรรณไม้อาจสอบถามชื่อจากผู้รู้ เช่น ครูบุคลากรในสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ปราชญ์ชาวบ้าน 

5.ทำผังแสดงตำแหน่งพรรณไม้

6.ศึกษาและบันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (ก.7-003 หน้า 2-7)

7.บันทึกภาพหรือวาดภาพทางพฤกษศาสตร์

8.ทำตัวอย่างพรรณไม้ (ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง ตัวอย่างพรรณไม้ดอง ตัวอย่างพรรณไม้ เฉพาะส่วน)

9.เปรียบเทียบข้อมูลที่สรุป (ก.7-003 หน้า 8) กับข้อมูลที่สืบค้นจากเอกสาร     แล้วบันทึก ใน ก.7-003 หน้า 9 – 10

10.จัดระบบข้อมูลทะเบียนพรรณไม้ (ก.7-005) 

11.ทำร่างป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์

12.ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการด้านพฤกษศาสตร์

13.ทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์

การเผยแพร่ความรู้เรื่อง การดำเนินกิจกรรม โครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน      ทั้งการบรรยาย ที่เวปไซต์ http://www.ms4lp.ac.th