องค์ประกอบที่ ๒ การรวบรวมพรรณไม้เข้าปลูกในโรงเรียน

หลักการ : คลุกคลี เห็นคุณ สุนทรี

สาระการเรียนรู้

เรียนรู้พืชพรรณ และสภาพพื้นที่ วิเคราะห์พื้นที่ พิจารณาสุนทรียภาพพรรณไม้ ทำผังภูมิทัศน์ จัดหาพรรณไม้ ปลูก ดูแลรักษา และออกแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เห็นคุณ รู้ค่าของพืชพรรณ

๒.๑ การวิเคราะห์สภาพพื้นที่ และเรียนรู้ธรรมชาติของพรรณไม้ เป็นการศึกษาข้อมูลจากผังพรรณไม้เดิม ทางด้านกายภาพ เช่น ข้อมูล ดิน น้ำ อากาศ แสง และด้านชีวภาพ เช่น พืช สัตว์ การศึกษาลักษณะวิสัย ถิ่นอาศัย และข้อมูลทั่วไปของพืช

๒.๒ การ กำหนดชนิดพรรณไม้ที่จะปลูก เป็นการเลือกพรรณไม้ที่จะปลูกให้มีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ โดยพิจารณาพรรณไม้ที่มีในท้องถิ่นเป็นหลัก หรือพิจารณาตามวัตถุประสงค์ การใช้ประโยชน์และสุนทรียภาพของพรรณไม้

๒.๓ การกำหนดการใช้ประโยชน์ เป็น การกำหนดพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ เช่น ต้องการแบ่งพื้นที่เป็น สนามหญ้า ถนน ทางเดิน อาคาร สวนสมุนไพร

๒.๔ การจัดทำผังภูมิทัศน์ เป็นการจัดทำรายละเอียดการปลูกพรรณไม้ในรูปแบบผัง และตาราง เช่น รหัสประจำต้น ชื่อพรรณไม้ที่จะปลูก ขอบเขต ตำแหน่งที่ปลูก จำนวน ลักษณะวิสัย ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางของพุ่ม ระยะพื้นที่ปลูก

๒.๕ การจัดหาและการปลูกพรรณไม้ เป็นการจัดหาพืชและสิ่ง ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในผังภูมิทัศน์ มาเพิ่มเติมเพื่อความสอดคล้องกับของเดิมที่มีอยู่ โดยคำนึงถึงความสวยงาม พร้อมกับบันทึกข้อมูลการจัดหาพรรณไม้ ข้อมูลการปลูก เช่น จำนวนต้น ชนิด วันที่ปลูก ผู้ปลูก พร้อมการใช้วัสดุปลูก

๒.๖ การศึกษาพรรณไม้หลังการปลูก เป็นการการดูแลรักษา เช่น การให้น้ำ ใส่ปุ๋ย การตัดแต่ง พร้อม บันทึกข้อมูลการดูแลรักษา เช่น รหัสพรรณไม้ ชื่อพรรณไม้ วิธีการดูแลรักษา ผู้ดูแล ตลอดจนการบันทึกการเปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาพันเกี่ยว และพิจารณาคุณ สุนทรียภาพที่เกิดจากการปลูกพรรณไม้