องค์ประกอบที่ ๓ การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ
หลักการ : รู้การวิเคราะห์ เห็นความต่าง รู้ความหลายหลาก
สาระการเรียนรู้ : รู้วิธีการวิเคราะห์เบื้องต้น รู้วิธีการจำแนก รู้ความต่าง รู้ความหลายหลาก
๓.๑ การศึกษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน(ก.๗-๐๐๓) ครบตามทะเบียนพรรณไม้
- การศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน บันทึกในเอกสาร ก.๗-๐๐๓ หน้าที่ ๑
- การศึกษาข้อมูลพรรณไม้ บันทึกใน ก.๗-๐๐๓ หน้าที่ ๒-๗
- การสรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้ คือ การตรวจสอบ การบันทึกข้อมูลใน ก.๗-๐๐๓ หน้าที่ ๘ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์
-การสืบค้นข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ ตรวจสอบการบันทึก ข้อมูลใน ก.๗-๐๐๓หน้า ๙
๓.๒ การศึกษาพรรณไม้ที่สนใจ- การศึกษาลักษณะภายนอก ภายในของพืชแต่ละส่วน
- กำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ในแต่ละส่วนของพืช คือ พิจารณาพื้นที่ศึกษาจากการวิเคราะห์ และกำหนดเรื่องที่จะเรียนรู้ ในแต่ละส่วนของพืชศึกษา เช่น สี ขนาด รูปร่าง รูปทรง ผิว เนื้อ
- เรียน รู้แต่ละเรื่องแต่ละส่วนของแต่ละองค์ประกอบย่อย คือการศึกษา สังเกต บันทึกข้อมูลด้านรูปลักษณ์ ในแต่ละเรื่อง แต่ละส่วน ของแต่ละองค์ประกอบย่อย
-นำข้อมูลเปรียบเทียบความต่างแต่ละเรื่อง ในชนิดเดียวกัน