วัดหลวงเชียงราย/บ้านเชียงราย/ประตูเมืองเชียงราย

เมื่อมาเยือนลำปางท่านคงไม่พลาดนั่งรถม้าลำปาง ถ่ายรูปรถม้ากับหอนาฬิกาบริเวณห้าแยกหอนาฬิกาที่คนลำปางดั้งเดิมเรียกห้าแยกเชียงรายที่มีถนนห้าสายมาบรรจุกันและห่างจากจุดนี้ไป 500 เมตรเป็นที่ตั้งของวัดหลวงเชียงรายในระแวงนี้ชื่อว่า ”บ้านเชียงราย” ท่านคงสงสัยแล้วซินะว่าทำไมจึงเป็นบ้านเชียงรายในเมืองลำปาง

จุดถ่ายภาพรถม้ากับหอนาฬิกา

ห้าแยกหอนาฬิกาหรือห้าแยกเชียงราย

ระยะทาง๕๐๐เมตรจากหอนาฬิกาถึงวัด

วัดหลวงเชียงรายที่ห้ามพลาดเยี่ยมชม

ก่อนที่จะคุยกับท่านเรื่องวัดหลวงเชียงรายตามหัวเรื่องคงต้องพาท่านไปย้อนดูว่าคนเชียงรายมาอยู่เมืองลำปางได้ไงแถมมีเรื่องน่าทึ่งที่โยงมาถึงชื่อเรียกวัดหลวงเชียงรายอีกด้วยครับ

หอนาฬิกาในอดีตจุดที่ตั้งประตูเมืองเชียงราย

อดีตวัดหลวงเชียงราย

หมู่บ้านเชียงรายภายในกำแพงเมืองยุคที่ ๓ สมัยต้นรัตนโกสินทร์

บริเวณรอบๆวัดหลวงเชียงรายแห่งนี้เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเชียงรายอันบ่งบอกชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นคือชาวเชียงรายที่ย้ายถิ่นมาแน่นอน มากันเมื่อไหร่ ทำไมต้องมาและมากันอย่างไง ครับเป็นคำถามที่ต้องตามหาคำตอบกันหละครับ หากนับย้อนไปถึงปี พ.ศ. 2323 โน่นเลยครับ (ก็นับหลังจากพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชคืนจากพม่าในปีพ.ศ. 2310 ) เป็นช่วงที่ชาวล้านนาที่เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่ามายาวนาน ได้เริ่มรวบรวมผู้คนชิงอำนาจคืนโดยมีเมืองเขลางค์เป็นแกนสำคัญในยุคของพระยากาวีระซึ่งยังครองเมืองเขลางค์นครต่อจากเสด็จปู่ (เจ้าพ่อทิพย์จักร-เจ้าพ่อหนานทิพย์ช้าง) ซึ่งได้ขับไล่พม่าออกจากเมืองลำปางไปก่อนหน้านี้แล้ว การรวบผู้คนเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งจึงได้เชิญชวนเจ้าฟ้าเมืองต่างๆในภาคเหนือ จากเมืองเชียงราย เชียงแสน เมืองพะเยา เมืองสาด เมืองฝาง เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและร่วมกับกำลังของสยามเพื่อลบร้างอิทธิพลของพม่าให้หมดสิ้นไป เจ้าฟ้าเมืองเชียงรายอันมีลูกหลานที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาเจ่งเชื้อสายกษัตริย์ชาวมอญ (ต้นตระกูล”คชเสนีย์”) และเจ้าหญิงเชื้อสายพระยาเม็งราย (ผู้สร้างอาณาจักรล้านนาอันเกรียงไกลในอดีต) ประกอบด้วย พระยาเพชรเม็ง พระยาชมพู เครือญาติและข้าทาสบริวาร คนเมืองเชียงรายรวมทั้งพระภิกษุสามเณรอพยพมาตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำวังฝั่งซ้าย ตั้งหมู่บ้าน สร้างวัดและกำแพงเมืองนครลำปางยุคที่ 3 มีประตูเมืองหนึ่งบริเวณ 5 แยกหอนาฬิกาในปัจจุบันเรียกชื่อว่า”ประตูเชียงราย”

กำแพงเมืองรูปหอยสังข์เป็นกำแพงเมืองยุคที่ ๓

วัดหลางเชียงรายศิลปกรรมเชียงแสน/ล้านนา

พระยาเจ่งที่มีบุตรหลานพระยาเพชรเม็งและพระยาชมพูผู้อพยพชาวเชียงรายมาปักหลักที่บ้านเชียงรายแห่งนี้

สรุปแล้วการสร้างบ้าน สร้างวัด สร้างกำแพงเมืองและประตูเมืองเชียงรายของชาวเชียงรายอันเกิดจากหน่อเนื้อเชื้อไขกษัตริย์ที่มีทั้งสายเลือดของพระบิดาชาวมอญคือพระยาเจ่งต้นตระกูล”คชเสนีย์” และสายเลือดมารดาเชื้อสายพระยาเม็งรายมหาราชที่ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุล “ขัติเชียงราย” ชาวบ้านจึงมักเรียกขานชื่อวัดว่า “วัดหลวงเชียงราย”เสมอมา

แผนที่โบราณแสดงจุด ที่ตั้งกำแพงเมืองยุคที่ ๓ ลักษณะกำแพงล้อมมีแม่น้ำไหลผ่านกลาง

เจ้าพระยาจักรีผู้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือล้างอิทธิพลพม่า

เจ้ากาวิละผู้นำสำคัญร่วมกับพระเจ้าตากสินและ ร.๑ สร้างความเป็นปึกแผ่นแก่แดนล้านนา

วัดหลวงเชียงรายศูนย์กลางศรัทธาของคนบ้านเชียงรายและชาวลำปาง