วัดหลวงเชียงรายตักกะศิลาแห่งเมืองลำปาง

จากเจ้าอาวาสองค์แรกนามว่าครูบากุมารเป็นช่วงของการสร้างบ้านแปลงเมืองของชาวเมืองลำปางที่ได้ผู้คนจากหัวเมืองต่างๆมาร่วมสร้างความข็งแกร่งและภายใต้การนำของเจ้ากาวิละซึ่งเป็นเจ้าเมืองเขลางค์ในขณะนั้นได้เข้าร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในยุคสมัยกรุงธนบุรีต่อเนื่องถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินสามารถเอาชัยชนะเด็ดขาดจากพม่า บ้านเมืองก็สงบสุขไร้ศึกสงครามชาวประชาก็อยู่เย็นเป็นสุขตลอดมา

วัดต่างๆในนครลำปางยุคที่๓

วัดหลวงเชียงรายในยุคท่านเจ้าคุณ

วัดหลวงเชียงรายในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

พระยากาวิระผู้นำกอบกู้อำนาจจากพม่า

วัดหลวงเชียงรายจากเจ้าอาวาสองค์แรกยังมีเจ้าอาวาสสืบทอดกันมานับ 100 ปี ลุถึง พ.ศ. 2442 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวบ้านเชียงรายก็ได้เด็กผู้ชายเชื้อสายเจ้าเมืองเชียงรายตระกูล”ขัตติยะเชียงราย” ชื่อ”สิงห์คำ” บุตรชายของเจ้าแม่คำปุ๋ยอันเป็นบุตรีของเจ้าราชบุตรอินทร์หวัน ซึ่งเจ้าราชบุตรอินทร์หวันนับศักดิ์เป็นหลานของพระยาชมภูเชื้อสายพระยาเจ่งชาวมอญ ( เจ้าพระยามหาโยธานราธนบดีศรีพิชัยณรงค์-ต้นตระกูล”คชเสณีย์” ) กับพระมารดาเชื้อสายเจ้าเมืองเชียงรายดังที่ได้กล่าวมาแล้วในช่วงแรก

วัดหลวงเชียงรายในอดีต

เจ้าคุณเจ้าคณะจังหวัดยุคจัดระเบียบคณะสงฆ์

ลายมือท่านเจ้าคุณลำดับญาติจากต้นตระกูล

ต้นตระกูล "ขัตติยะเชียงราย"

เณรน้อยสิงห์คำ ผู้ใฝ่ใจในพุทธศาสนา อุปสมบทตั้งแต่อายุ 13 ปีและบรรพชาเป็นภิกษุที่วัดหลวงเชียงรายนี่เอง เมื่อ พ.ศ. 2462 ฉายาว่า ”จันทวังโส” ( ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ที่เคยเป็นนายแบ็งค์ สยามกำมาจล ที่เมืองลำปางหรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน ผู้คุ้นเคยกับหลวงพ่อยังมักเรียกชื่อหลวงพ่ออย่างสนิทสนมว่า “ตุ๊สิงห์คำ” )


เณรน้อยสิงห์คำ

การศึกษาของภิกษุสามเณร
เป็นสิ่งสำคัญ

หลวงพ่อเจ้าคุณเทพฯรับเสด็จในหลวง ร.๙ ปีพ.ศ.๒๕๐๗

หลวงพ่อตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียนทั้งทางโลกและทางธรรม ประกอบกับในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่ทรงปฏิรูประบบการปกครองประเทศรวมทั้งการจัดการปกครองคณะสงฆ์มีการส่งเสริมการศึกษาและการแต่งตั้งสมณะศักดิ์ของภิกษุสามเณรควบคู่กันไป หลวงพ่อจึงได้รับโอกาสเหล่านี้เป็นคณะสงฆ์ชุดต้นๆในภาคเหนือท่านมีโอกาสเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมจากกรุงเทพฯซึ่งพระเณรที่เข้าไปเรียนในเมืองหลวงจะพำนักอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรอันได้ชื่อว่าเป็นที่อยู่ของพระเณรจากภาคเหนือ พระชั้นผู้ใหญ่สมัยเล่าเรียนและร่วมประชุมพระสังฆาธิการด้วยกันเสมอจนเป็นสหายใกล้ชิดคือท่านเจ้าคุณวัดพระสิงห์แห่งเมืองเชียงใหม่นั่นเอง ส่วนพระผู้ใหญ่จากบ้านนางแลเชียงรายซึ่งต่อมาเติบโตถึงชั้นสมเด็จคืออดีตสมเด็จพระพุทธชินนวงศ์แห่งวัดเบญจมบพิตรที่สมัยเป็นพระอยู่ที่จังหวัดเชียงรายก็มักแวะมาจำวัดกับหลวงพ่อที่วัดหลวงเชียงรายเพื่อรอขึ้นรถไฟจากลำปางเพื่อไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพอยู่เสมอ


ท่านเจ้าคุณได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดองค์แรกของลำปาง

วัดหลวงเชียงรายในยุคสมัยท่านเจ้าคุณ

การจัดปะชุม
พระสังฆาธิการ

จัดให้มีการเรียน ปริยัติธรรมแก่พระเณร

หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงเชียงรายในปี พ.ศ. 2471 เมื่ออายุเพียง 29 ปีและได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดลำปางในปี พ.ศ. 2481 นับเป็นเจ้าอาวาสวัดองค์แรกของจังหวัดลำปางสังกัดสายมหานิกายและเป็นเจ้าคณะจังหวัดลำปางนานถึง 41 ปี หลวงพ่อได้ดูแลปกครองคณะสงฑ์นอกจากเรื่องระเบียบวินัยและยังมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมด้านการศึกษานานาประการทั้งการสอนปริญัติธรรม การจัดสอบนักธรรม การจัดสอบบาลีสนามหลวง จัดตั้งโรงเรียนสายสามัญให้ภิกษุสามเณรและฆารวาสที่ยากจนได้ศึกษาเล่าเรียนเป็นโรงเรียนราษฎร์ในวัดชื่อโรงเรียนวิสุทธิยากรเป็นแห่งแรกของลำปางซึ่งเจริญก้าวหน้ามั่นคงจวบจนปัจจุบัน นอกจากนั้นยังจัดตั้งพุทธสถานประจำจังหวัดลำปางและเปิดสอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์แก่เด็กนักเรียนและเยาวชน

ผลจากการดูแลปฏิบัติกิจของศาสนาทั้งจังหวัด อำเภอ ตำบลแก่วัดในสังกัดและการพัฒนาตนเองอยู่เป็นนิจยังผลให้ได้รับแต่งตั้งและเลื่อนสมนศักดิ์ตามลำดับขั้นดังนี้

พ.ศ. 2479 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูสีหสุวรรณวิสุทธิ์

พ.ศ. 2489 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญราชทินนามที่ “ พระสีหสุวรรณวิสุทธิ์”

พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะมีพระราชทินนามที่ “พระราชวิสุทธิโสภณ”

พ.ศ. 2517 ได้รับพระราขทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะมีพระราชทินนามที่ “พระเทพวิสุทธิโสภณ”


แม้วัดเชียงรายมิได้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงแต่โดยภาระหน้าที่ที่ปฏิบัติกอบกับวัดที่จัดสร้างโดยเชื้อสายเจ้าชาวบ้านจึงเรียกติดปากว่า วัดหลวงเชียงรายหรือวัดหลวงเจ้าฟ้าเชียงรายอยู่ตราบเท่าปัจจุบัน ในยุคสมัยของท่านเจ้าคุณที่เป็นนักปกครองคณะสังฆ์ของจังหวัดลำปาง ทั้งยังพัฒนาการศึกษาของภิกษุสามเณรสอดรับกับแนวทางการพัฒนาของคณะสงฆ์ระดับชาติ รวมทั้งการยกระดับการศึกษาของสงฆ์อย่างกว้างขวางเป็นรูปธรรมจนผู้คนมักกล่าวว่าท่านเจ้าคุณวัดหลวงเชียงรายพัฒนาวัดจนเปรียบเหมือน”ตักกะศิลาแห่งเมืองลำปาง”เลยทีเดียว