Resource 

ลักสูตรฯ กำหนดและดำเนินนโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรการศึกษาครอบคลุม 7 ประเด็นดังต่อไปนี้ ได้แก่ ผู้ป่วยและการตรวจต่าง ๆ กิจกรรมวิชาการ สื่อการเรียนรู้ สถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือ และ elective

Patients and Learning Support ผู้ป่วยและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

สถาบันฯ ผ่านการรับรองจากราชวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นสถานที่ฝึกอบรม มีการหมุนเวียนปฏิบัติงานนอกภาควิชา เพื่อเพิ่มจำนวนและความหลากหลาย ของผู้ป่วย มีการหมุนเวียนปฏิบัติงานแบบ elective เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมเลือกเรียนเพิ่ม เติมในส่วนที่ตนเองยังขาด มีการหมุนเวียนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการที่เอื้อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพทั้งด้านการบริบาลและโอกาสเรียนรู้


จำนวนผู้ป่วยและการตรวจทางรังสีวิทยา


Academic Activities กิจกรรมวิชาการ

กิจกรรมวิชาการจำแนกเป็น 3 กลุ่ม คือ

กิจกรรมหลัก (Core activities)

กิจกรรมหลักเป็นกิจกรรมสำคัญและจำเป็นต่อการเพิ่มพูนความรู้และทักษะของผู้เข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตรฯ กำหนดตารางไว้ล่วงหน้าเป็นรายปีการศึกษา และกำหนดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เข้าร่วมกิจกรรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของชั่วโมงเรียนที่จัดไว้ให้ ในแต่ละปีการศึกษา โดยไม่นับช่วงเวลาที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในระหว่างการหมุนวนปฏิบัติงานนอกภาควิชาฯ (away rotations) และช่วงลาพักผ่อน (vacation) 

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเหล่านี้มีเพื่อสนับสนุนกระบวนการคิด วิเคราะห์ แปลผลภาพวินิจฉัย การวินิจฉัยแยกโรค การนำสู่การวินิจฉัยภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ฝึกการสื่อสาร การนำเสนอข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม และการทำงานเป็นทีม รวมถึงการเป็นผู้นำในการนำเสนอและสรุป โดยมีคำแนะนำจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบ


กิจกรรมดังกล่าว ประกอบด้วย

กิจกรรมระดับหน่วย (Subspecialty activities)

กิจกรรมระดับหน่วยจัดไว้สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมซึ่งหมุนวนปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยนั้น ๆ ซึ่งอาจมีหลายรูปแบบ เช่น case discussion, interdepartment conference, interhospital conference, MDT conference เป็นต้น  ตรวจสอบกิจกรรมระดับหน่วยได้ในรายละเอียดของแต่ละ rotation

กิจกรรมประชุมวิชาการประจำปี

หลักสูตรฯ สนับสนุนให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าร่วมกิจกรรมประชุมวิชาการประจำปีของภาควิชาฯ (SiRAD annual conference) ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี และงานประชุมวิชาการประจำปีซึ่งจัดโดยราชวิทยาลัยรังสีแพทย์และรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย (RCRT-RST annual conference) 

Learning Media สื่อการเรียนรู้

Textbooks และ Journals อ้างอิงในการสอบ

รายการตำรา หนังสือ และวารสารที่ระบุนี้ ปรับให้เป็น edition ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.​2566

กรณี textbook ที่ระบุไม่ใช่ edition ล่าสุด ให้ใช้ edition ล่าสุดแทน

Textbook คิดเป็น 70% และ Journal เป็น 30% ของข้อสอบ (โดยประมาณ)

General

Neuroradiology

Musculoskeletal

Thoracic imaging

Fraser and Pare’s diagnosis of diseases of the chest (Muller & Fraser 1999)

Cardiovascular system

Gastrointestinal

Genitourinary

Breast imaging

Pediatric

Emergency

Journals ที่ใช้อ้างอิงในการสอบบอร์ด

โดยภาควิชา

โดยคณะฯ หรือมหาวิทยาลัย

Learning Environments สถานที่ โอกาสเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม

ห้องเรียนพร้อมอุปกรณ์สื่อการสอน 

ตึก 72 ปี

ตึกผู้ป่วยนอก

อาคารเฉลิมพระเกียรติ

สาขารังสีรักษา และสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 2 เครือข่าย ได้แก่ SiVwork (ของคณะฯ) และ SiRAD (ของภาควิชาฯ)

ห้องแปลผลภาพ พร้อมชุดคอมพิวเตอร์

ห้องพักแพทย์ ล็อคเกอร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก

หอสมุดศิริราช

ใช้บริการหอสมุดในการสืบค้นข้อมูลและใช้บริการอื่น เช่น ถ่ายเอกสาร ขอเลข ISBN ขอใช้โสตทัศนวัสดุทางการศึกษา เป็นต้น ห้องสมุดศิริราชเปิดบริการตามวันและเวลา โดยวันราชการเปิดเวลา 08:00-22:00 น. และวันหยุดราชการ เวลา 08:00-16:30 น.


กรณีต้องการสืบค้นข้อมูลจำนวนมากและเป็นสมาชิกของมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถใช้บริการผ่านเว็บไซต์ http://www.medlib.si.mahidol.ac.th

Tools and Equipments เครื่องมือและอุปกรณ์

รายการเครื่องมือฯ 

รายการเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 

Elective Opportunities

การหมุนเวียนปฏิบัติงานแบบ elective ทั้งภายในภาควิชา ภายนอกภาควิชา และต่างสถาบัน รวมถึงนอกประเทศ ตามที่สถาบันdddddมบันทึกความเข้าใจ/ความร่วมมือ ดังรายละเอียดในหน้า Away: Elective (Out) และ Elective (In) 

Other Benefits สวัสดิการด้านอื่น ๆ

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

โรงอาหาร

สถานที่จอดรถ

จอดรถได้เฉพาะสถานที่ที่กำหนด ได้แก่ บริเวณพื้นที่ 10 ไร่ (ภัตตาคารเจ้าพระยาเดิม) และที่จอดรถหอพักแปดไร่

สถานที่ออกกำลังกาย


รายละเอียดอื่นเกี่ยวกับสวัสดิการระดับคณะฯ โปรดศึกษาได้ในคู่มือแพทย์ประจำบ้านของคณะฯ 

Teamwork การปฏิบัติงานเป็นทีม

การหมุนเวียนปฏิบัติงานที่เอื้อให้แพทย์ประจำบ้านได้ปฏิบัติงานร่วมกับนักรังสีการแพทย์และพยาบาลรังสีอย่างใกล้ชิด นอกจากนั้นแพทย์ประจำบ้านยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมเสริมการปฏิบัติงานเป็นทีม เช่น เป็นกรรมการด้านประกันคุณภาพ (HA) ของสาขารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา เป็นต้น


การประเมินการปฏิบัติงานเป็นทีม ผ่านแบบประเมิน 360 องศาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งผู้ร่วมงานได้ประเมินแพทย์ประจำบ้าน และมีการประเมินผ่านระบบ feedback ของคณะกรรมการการศึกษาหลังปริญญา 

แพทยศาสตร์ศึกษา (Medical education)

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจัดให้มีกระบวนการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ด้านการเรียนการสอน ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้