Methods 

วิธีการฝึกอบรม 

หลักสูตรมีการจัดวิธีการฝึกอบรมให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้อง และบรรลุ ผลลัพธ์ของแผนการฝึกอบรมที่กำหนดทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เน้นการฝึกอบรมโดยใช้การปฏิบัติเป็นฐาน (practice-based training) มีส่วนร่วมในการบริบาลและรับผิดชอบผู้ป่วย คำนึงถึงศักยภาพ และการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม (trainee-centered) มีการบูรณาการภาคทฤษฎีกับภาคปฏิบัติ บูรณาการการฝึกอบรมกับงานบริบาลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม โดยได้ระบุวิธีการฝึกอบรม และเป้าประสงค์ หลักในแต่ละช่วงหรือชั้นปี (milestone) และระดับสมรรถนะการเรียนรู้ 6 ด้าน (competency) ของการฝึกอบรม  มีการติดตามตรวจสอบ กำกับดูแล (supervision) และให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม อย่างสม่ำเสมอซึ่งตลอดหลักสูตรจะมีการผลัดเปลี่ยนเรียนรู้ และปฏิบัติ งานในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ

กิจกรรมการเรียนรู้ 

กิจกรรมการเรียนรู้จำแนกตาม competency ดังนี้


จำนวนปีและระดับชั้นของการฝึกอบรม

กำหนดระยะเวลาฝึกอบรมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 156 สัปดาห์ หรือ 3 ปี โดยสามารถขยายระยะเวลากรฝึกอบรมได้มากกว่า 156 สัปดาห์ หรือ 3 ปี

ความเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมกับสถาบันอื่น

ความเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมกับสถาบันอื่น ทั้งภายในและภายนอก (elective) ทางสถาบันเปิดโอกาสให้ผู้รับการฝึกอบรมสามารถเลือกฝึกอบรมในสถาบันอื่นได้ ทั้งในและนอกประเทศ ดังแสดงรายละเอียดในหัวข้อ “Away: Elective (out)” 

ภาษาที่ใช้ในการฝึกอบรม

เป็นภาษาไทย

การเข้ารับการฝึกอบรม

เปิดรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด โดยสมัครผ่านแพทยสภา โดยราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย และการรับสมัครผ่าน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

คุณสมบัติของผู้สมัครรับการฝึกอบรม

การคัดเลือกผู้รับการฝึกอบรม

ภาควิชารังสีวิทยาเป็นผู้ดำเนินการจัดการคัดเลือกโดยประสานงานเชื่อมโยงกับราชวิทยาลัยรังสี แพทย์แห่งประเทศไทย การคัดเลือกผู้รับการฝึกอบรมกระทำโดยคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง และคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ วิธีการยึดความเสมอภาค โปร่งใส โดยใช้เกณฑ์การ ให้คะแนน และคะแนนสัมภาษณ์ 

คุณสมบัติทั่วไป 

หมายเหตุ ในกรณีผู้ประสงค์เข้ารับการฝึกอบรมมีความพิการ ความพิการนั้นจะไม่มีผลต่อการพิจารณาถ้าความพิการไม่เป็นอุปสรรค์ต่อการฝึกอบรม และการปฎิบัติงาน

เกณฑ์การพิจารณารับการเข้าฝึกอบรม 

เอกสารเพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาคัดเลือก

การพิจารณาคัดเลือก

คณะกรรมการการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมมาจากอาจารย์ประจำในสาขาวิชารังสีวิทยาวินิจฉัย อย่างน้อย 10 ท่าน และตัวแทนแพทย์ประจำบ้านอย่างน้อย 3 ท่าน ประกอบด้วย


เพื่อความโปร่งใส เสมอภาค และตรวจสอบได้ ก่อนการสัมภาษณ์และการตัดสินคะแนน คณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวินิจฉัยทุกท่าน ต้องลงลายมือชื่อในเอกสารแสดงถึงความไม่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผู้สมัครและการตัดสินคะแนน


คณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านจะนำคะแนนรวมทุกหมวดของแพทย์ผู้สมัครแต่ละรายมาเรียงลำดับจากคะแนนสูงไปต่ำ หลังจากนั้นคณะกรรมการฯ จะได้ประชุมพิจารณาพร้อมกันตามความเหมาะสมเพื่อตัดสินขั้นสุดท้ายอีกครั้ง  มติของคณะกรรมการฯ นี้ถือเป็นอันสิ้นสุด

การอุทธรณ์ผลการคัดเลือกผู้รับการฝึกอบรม

ผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวินิจฉัย สามารถเขียนคำร้องเพื่อขออุทธรณ์ผลการตัดสินไม่เกิน 90 วันนับจากวันที่ประกาศผล ตามระเบียบภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยจะมีการพิจารณาผลการอุทธรณ์โดยคณะอนุกรรมการการอุทธรณ์ ซึ่งแต่งตั้งโดยหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มติการตัดสินจากคณะอนุกรรมการการอุทธรณ์นี้ ให้ถือเป็นอันสิ้นสุด 

วิธีการอุทธรณ์

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ศักยภาพในการรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ในแต่ละปีสูงสุด 23 ตำแหน่ง โดยเป็นศักยภาพซึ่งได้รับการรับรองโดยราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2561 และการกำหนดศักยภาพเป็นไปตามเกณฑ์หลักสูตรฯ ของราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย

Training Program  แผนงานการฝึกอบรม

มาตรฐานผลการเรียนรู้ที่สะท้อนคุณสมบัติและขีดความสามารถของแพทย์เฉพาะทาง สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ (competencies) ทั้ง 6 ด้าน นั้น ประกอบด้วย


การได้มาซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าว อิงกับ EPA 10 ข้อ ซึ่งแต่ละข้อมี 5 ระดับขั้นขีดความสามารถ (level of entrustment)

การหมุนเวียนศึกษาและปฏิบัติงาน

การหมุนเวียนศึกษาและปฏิบัติงาน กรอบเวลาฝึกอบรมทั้งหมดประมาณ 156 สัปดาห์ 


ตามเกณฑ์ราชวิทยาลัยฯ จัดให้มีการหมุนเวียนศึกษาและปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 128 สัปดาห์ ตามเกณฑ์ราชวิทยาลัยฯ ระยะเวลาที่เหลือไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์ จัดให้มีการหมุนเวียนศึกษาด้านอื่น ๆ อาทิ elective, night shift (การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ) การทำงานวิจัย รวมทั้งการจัดสรรให้หมุนเวียนเพิ่มเติมอย่างเหมาะสมตามบริบท


ตามเกณฑ์หลักสูตรของภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (ปรับปรุง พ.ศ. 2565) กำหนดให้มีการหมุนเวียนศึกษาและปฏิบัติงานรวมไม่น้อยกว่า 134 สัปดาห์ในรายวิชาที่ระบุตามเกณฑ์ราชวิทยาลัยฯ และด้านอื่น ๆ จัดให้มีการหมุนเวียนศึกษาและปฏิบัติงานรวมไม่น้อยกว่า 22 สัปดาห์ ดังต่อไปนี้ elective (outside department), research, night shift (emergency imaging) และ elective (inside department) โดยจัดให้มีการฝึกอบรมโดยยึดหลักความเท่าเทียมกันสำหรับแพทย์ประจำบ้านทุกคน (เพิ่ม 28 มค 67) การจัดตารางเพื่อหมุนเวียนศึกษาและปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนเวลาที่ได้ผ่านการหารือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ (ทำลิงค์ไปที่ “ข้อกำหนดการจัดตารางเพื่อหมุนเวียนศึกษาและปฏิบัติงาน”) และได้รับการตรวจสอบโดยทีมการศึกษาหลังปริญญา  จำนวนครั้งและระยะเวลาการหมุนเวียนศึกษาและปฏิบัติงานในระบบต่าง ๆ มีจำนวนเท่ากันสำหรับแพทย์ประจำบ้านทุกคน สำหรับการระบุบุคคลเพื่อหมุนเวียนในตารางฯ เป็นไปแบบสุ่ม แต่มีการตอบสนองความต้องการของแพทย์ประจำบ้านซึ่งแสดงความจำนงในกิจกรรม elective (outside department) แบบที่ไปต่างประเทศด้วย


(เพิ่ม 6 พย 66) กรอบเวลาฝึกอบรม หมุนเวียนศึกษา และปฏิบัติงาน ตามเกณฑ์ราชวิทยาลัยฯ (มคว 1) และเกณฑ์หลักสูตรศิริราชฯ (มคว 2) กำหนดไว้ดังนี้

ข้อกำหนดการจัดตารางเพื่อหมุนเวียนศึกษาและปฏิบัติงาน

Timeline

มกราคม รับทราบจำนวนแพทย์ประจำบ้านปีการศึกษาถัดไป

กุมภาพันธ์ ยืนยันข้อกำหนดและเงื่อนไขในการจัดตารางโดยทีมการศึกษาหลังปริญญา

จัดตารางเพื่อหมุนเวียนศึกษาและปฏิบัติงาน และยืนยันโดยทีมการศึกษาหลังปริญญา

มีนาคม จัดตารางลาพักผ่อน และยืนยันโดยทีมการศึกษาหลังปริญญา

จัดตารางกิจกรรมวิชาการหลัก และยืนยันโดยทีมการศึกษาหลังปริญญา

เมษายน ประกาศตารางเพื่อหมุนเวียนศึกษาและปฏิบัติงาน ตารางลาพักผ่อน

ประกาศตารางกิจกรรมวิชาการหลัก

ข้อกำหนดและเงื่อนไขในการจัดตาราง

การจัดตารางลาพักผ่อน

การหมุนเวียนปฏิบัติงานในหน่วย/สาขาที่แพทย์ประจำบ้านสามารถใช้สิทธิ์ลาพักผ่อนได้ มีเงื่อนไขดังนี้ 


บางหน่วย/สาขา ไม่แนะนำให้ลาพักผ่อนในระหว่างที่หมุนเวียนปฏิบัติงาน เนื่องจากเป็นหน่วย/สาขาซึ่งมีระยะเวลาในการฝึกอบรมรวม 3 ปีการศึกษาค่อนข้างน้อย

บางหน่วย/สาขา ไม่อนุญาตให้ลาพักผ่อนในระหว่างที่หมุนเวียนปฏิบัติงาน เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่หมุนเวียนปฏิบัติงานด้วยและผู้ป่วย กรณีที่จำเป็นต้องลา ให้ใช้การลากิจ ลาป่วย หรือลาประเภทอื่นแทน โดยต้องได้รับการอนุมัติจากประธานหลักสูตรฯ