Contents

ชื่อสาขา

(ภาษาไทย) หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย

(ภาษาอังกฤษ) Residency Training in Diagnostic Radiology


ชื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ชื่อเต็ม

(ภาษาไทย) วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย

(ภาษาอังกฤษ) Diploma of the Thai Board of Diagnostic Radiology

ชื่อย่อ

(ภาษาไทย) วว.รังสีวิทยาวินิจฉัย

(ภาษาอังกฤษ) Dip.,Thai Board of Diagnostic Radiology

คำแสดงวุฒิการฝึกอบรมท้ายชื่อ

(ภาษาไทย) วว.รังสีวิทยาวินิจฉัย

(ภาษาอังกฤษ) Diplomate, Thai Board of Diagnostic Radiology หรือ Dip., Thai Board of Diagnostic Radiology


พันธกิจ

สาขารังสีวิทยาวินิจฉัยเป็นสาขาแพทย์เฉพาะทางที่มีความสำคัญต่อการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในปัจจุบัน โดยให้บริการแก่ผู้ป่วยและแพทย์สหสาขา ด้วยการใช้เครื่องมือตรวจค้นทางรังสีวินิจฉัยแก่ผู้ป่วย เช่น การตรวจเอกซเรย์ ฟลูโอโรสโคป เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ อัลตราซาวด์ และเครื่องตรวจด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น อีกทั้งยังให้การวินิจฉัยภาพที่เครื่องมือดังกล่าวสร้างขึ้น บนพื้นฐานขององค์ความรู้ด้านกายวิภาคศาสตร์ พยาธิสรีรวิทยา พยาธิวิทยา และระบาดวิทยา ช่วยให้แพทย์สหสาขามีความเข้าใจในผลการวินิจฉัยผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งการออกเอกสารรายงานผล การสื่อสารด้วยวาจา และในรูปแบบอื่น


การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องเป็นประตูสำคัญของการรักษาผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ แพทย์สาขารังสีวินิจฉัยจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดแผนการบริบาลให้แก่ผู้ป่วย ในทุกระดับของการให้บริการทางการแพทย์ ตั้งแต่ ระดับปฐมภูมิ เช่น งานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ค้นหาโรค จนถึงระดับทุติยภูมิ ตติยภูมิ และระดับที่สูงกว่า รวมถึงงานเวชศาสตร์สหสาขาต่าง ๆ  เนื่องจากมีการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และเครื่องมือในการตรวจทางรังสีวิทยาวินิจฉัยอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา อีกทั้งจำนวนการตรวจทางรังสีวิทยาได้เพิ่มขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง จึงมีความต้องการแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความเชี่ยวชาญในการใช้และแปลผลภาพที่ได้จากเครื่องมือเหล่านี้ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนตรวจ ระหว่างการตรวจ และหลังการตรวจ ให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดกับผู้ป่วย ได้ภาพการตรวจที่มีคุณภาพเพียงพอต่อการวินิจฉัยโรค ตลอดจนถึงการแปลผลที่มีความถูกต้องแม่นยำ สิ่งเหล่านี้มีความสำคัญกับผู้ป่วยทุกกลุ่ม และยิ่งสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ หรือมีโรคที่ซับซ้อน  ภาพการตรวจทางรังสีวินิจฉัยใช้ช่วยแบ่งแยกภาวะต่าง ๆ ซึ่งควรรับการรักษาแบบทันท่วงที เช่น การผ่าตัด (surgical condition) หรือช่วยชี้นำวิธีการรักษาอื่นได้อย่างชัดเจน แพทย์สาขารังสีวินิจฉัยจึงมีความรับผิดชอบอย่างสูงสุดต่อทั้งผู้ป่วยและแพทย์สหสาขา ในการตรวจ ให้มีความปลอดภัย ได้การวินิจฉัยที่เหมาะสม มีความเข้าใจในภาวะความเสี่ยงต่าง ๆ สามารถดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง เข้าใจระเบียบวิธีการปฎิบัติด้านความปลอดภัยทางรังสี รวมไปถึงมีความตระหนักถึงการใช้รังสีอย่างปลอดภัยต่อตนเอง ผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน ชุมชนและสังคม 

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเป็นโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์แห่งแรกที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2431 พระราชทานนามว่า "โรงศิริราชพยาบาล" ต่อมาได้โปรดเกล้าให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของไทย และเริ่มเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2433 โดยมีปณิธานที่จะผลิตบัณฑิต ให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข และค้นคว้าวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้และวิทยาการอย่างต่อเนื่อง โดยยึดประโยชน์สุขของประชาชนทุกระดับเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด 

โดยมีพันธกิจดังนี้

 

สาขารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จึงได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสำหรับวุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ตามความประสงค์ของราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้การเรียนการสอนได้มาตรฐานสากลตามเกณฑ์มาตรฐานเวชบัณฑิตศึกษาของสหพันธ์แพทยศาสตรศึกษาโลก ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558 (Postgraduate Medical Education WFME Global Standards for Quality Improvement: the 2015 Revision) เพื่อให้แพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานและการให้บริการทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัย โดยสามารถทำการตรวจหรือควบคุมการตรวจ การแปลผล วิเคราะห์ และรายงานผลภาพวินิจฉัยทางรังสี ในการตรวจวินิจฉัยโรคที่หลากหลายระบบ ทั้งในภาวะที่ไม่รีบด่วนจนถึงภาวะฉุกเฉินหรือวิกฤต นับรวมถึงกลุ่มโรคอุบัติใหม่ เช่น SARS-CoV-2 virus infection โดยอาศัยเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัยประเภทต่าง ๆ  ตลอดจนสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะของตนเองทางด้านรังสีวิทยาวินิจฉัยได้อย่างต่อเนื่อง (continuing professional development) เพื่อให้สอดคล้องทันสมัยกับความก้าวหน้าและพัฒนาการทางการแพทย์ รวมถึงมีทักษะด้านอื่น ๆ (non-technical skills) อาทิ สามารถให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ได้ สามารถปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพหรือเป็นทีมในการบริบาลผู้ป่วย โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวมที่คำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ได้อย่างเหมาะสม มีจริยธรรมและเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วยและญาติ ผู้ร่วมงาน และองค์กร

 

สาขารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีเป้าประสงค์ในการผลิตแพทย์เฉพาะทางสาขารังสีวินิจฉัยที่มีความสามารถครบทั้งองค์ความรู้ทางด้านรังสีวิทยาที่ทันสมัยในระดับสากล เพื่อใช้ในการควบคุม ดูแล และพัฒนาระบบการบริการทางรังสีวิทยาวินิจฉัย การแปลผลภาพวินิจฉัยอย่างถูกต้องแม่นยำ มีคุณธรรม จริยธรรม มนุษยสัมพันธ์อันดี ความเป็นผู้นำ ความเป็นครู อีกทั้งยังมีความตระหนักถึงการยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง สถานภาพความเป็นรังสีแพทย์ และบริบทของสังคมและประเทศ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของทั้งผู้ป่วย บุคลากรทางสาธารณสุข และตนเอง นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการสื่อสารกับแพทย์สหสาขาที่มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาผู้ป่วย ร่วมเป็นส่วนประกอบสำคัญในทีมการดูแลรักษาผู้ป่วยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยของประเทศไทยในปัจจุบัน

พันธกิจการศึกษา

พันธกิจของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้แก่

วัตถุประสงค์

ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

ผลลัพธ์ของแผนการฝึกอบรม (6 intended learning outcomes / competencies)

แพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขารังสีวิทยาวินิจฉัยมีผลลัพธ์การฝึกอบรมที่พึงประสงค์ (intended learning outcomes / competencies) ที่ชัดเจน ครอบคลุมประเด็นทั้ง 6 ด้าน (A-F) ดังต่อไปนี้

A. ทักษะและเจตคติในการบริบาลผู้ป่วย (Patient care)

การบริบาลโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม คำนึงถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัย รวมทั้งสามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชารังสีวิทยาวินิจฉัยได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมี การกำกับดูแล ประกอบด้วย

B. ความรู้และทักษะหัตถการเวชกรรม (medical knowledge & procedural skills)

สามารถทำเวชปฏิบัติได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบทของสาขาวิชารังสีวิทยาวินิจฉัยที่เข้ารับการ ฝึกอบรม

C. ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (interpersonal and communication skills)

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องแสดงทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสารเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการ แลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งกับตัวผู้ป่วยเองครอบครัวผู้ป่วยบุคลากรวิชาชีพด้านการบริการสุขภาพและหน่วยงาน ด้านสุขภาพอื่น ๆ โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้อง

D. การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (practice-based learning and improvement)

โดยสามารถปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพหรือเป็นทีมได้

E. ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (professionalism)

รวมทั้งคุณลักษณะของความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (continuing medical education) หรือการพัฒนา วิชาชีพต่อเนื่อง (continuing professional development) โดยแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมแห่งวิชาชีพ ที่ดีของแพทย์ดังนี้

F. การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (systems-based practice)

ผู้เข้ารับการอบรมทราบและตอบสนองต่อบริบทต่าง ๆ ในระบบบริการสุขภาพ บริหาร/ใช้ทรัพยากรใน ระบบที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะกับบริบทนั้น ๆ ได้แก่