มีการริเริ่ม คิดค้น และพัฒนานวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สามารถแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้และทำงานร่วมกัน มีกระบวนการคิดและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้



ผลการปฏิบัติ

              ข้าพเจ้าริเริ่ม คิดค้น และพัฒนานวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สามารถแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพเรียนรู้และ ทำงานร่วมกัน มีกระบวนการคิดและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง และสร้างแรงบันดาลใจและเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมีการพัฒนาสมองทั้งสองซีก  ด้วยนวัตกรรม ชุดสื่อการสอนออนไลน์ เพื่อพัฒนาสมองทั้งสองซีก ด้วยทักษะกิจกรรม Brain Gym หรือกิจกรรมการบริหารสมองของเด็กระดับชั้นอนุบาล ที่ตอบสนองนโยบายและจุดเน้นอันส่งผลต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของนักเรียนและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ดูแลอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

นอกจากนั้นจัดตั้งกลุ่ม PLC ของครูระดับชั้นอนุบาล ร่วมกับครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ เพื่อช่วยกันหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่พบว่า เด็กส่วนใหญ่จะติดจอ เช่นเดียวกับเด็กที่สอนในชั้นอนุบาล ก็ติดจอเช่นกัน จึงส่งผลเสียต่อพัฒนาการของเด็กหลายด้าน คือ

๑. ด้านการสื่อสาร พูดช้า พูดไม่ชัด ขาดความคิดสร้างสรรค์ และ การจ้องมองจอภาพเป็นเวลานานจะส่งผลเสียกับดวงตาได้ เช่น ทำให้สายตาสั้น ดวงตาแห้ง 

๒. ด้านร่างกาย จะไม่แข็งแรง เหนื่อยง่าย ขาดการเคลื่อนไหวออกกำลังกายตามที่ควรจะเป็นหรืออาจส่งผลให้เป็นเด็กขี้เกียจได้ 

๓. ด้านอารมณ์ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เพราะเด็กแยกแยะโลกของอินเทอร์เน็ตกับความจริงไม่ได้ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน รอคอยไม่เป็น เด็กขาดสมาธิไม่จดจ่อหรือตั้งใจทำกิจกรรมใด 

๔. ด้านพฤติกรรม จะก้าวร้าว ซน สมาธิสั้น มีพฤติกรรมคล้ายออทิสติก คือ ดื้อ ต่อต้าน โลกส่วนตัวสูง สื่อสารกับคนอื่นน้อย

จากปัญหาที่พบกับเด็กที่สอนในระดับชั้นอนุบาล ดังกล่าวข้างต้น จึงได้คิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยได้ศึกษาและเรียนรู้ด้วยตนเองจากอินเตอร์เน็ต จึงพบว่า กิจกรรม Brain Gym หรือ กิจกรรมการบริหารสมอง        น่าจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการสมองทั้งสองซีกของเด็กและสามารถจะช่วยแก้ไขปัญหาเด็กมีพัฒนาการช้าให้มีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านดีขึ้นกว่าเดิมได้ จึงได้จัดทำชุดสื่อการสอนออนไลน์ เพื่อพัฒนาสมองทั้งสองซีก ด้วยทักษะกิจกรรม                  Brain Gym หรือ  กิจกรรมการบริหารสมองของเด็ก  ระดับชั้นอนุบาล ขึ้นเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และได้ฝึกทำตามสื่อการสอนออนไลน์ของครู

 

                การจัดกิจกรรมด้วยทักษะBrain Gym หรือ กิจกรรมการบริหารสมอง

กิจกรรม Brain Gym หรือ กิจกรรมการบริหารสมอง เป็นหนึ่งกิจกรรมที่คุณครูจาก The Wonder Studio เลือกนำมาใช้เสริมในการเรียนการสอน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเรียนหรือก่อนเริ่มกิจกรรมการบริหารร่างกายตามกระบวนการต่าง ๆ ให้กับเด็ก ๆในคลาสเรียนเต้นออกกำลังกาย ดร.พอล เดนนิสัน ผู้คิดค้นพัฒนา การบริหารสมอง Brain Gym กล่าวว่า การบริหารสมองเป็นการพัฒนาสมองทั้ง 2 ซีกให้ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจดจำ อีกทั้งช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด และหากได้ทำเป็นประจำจะดีต่อภาวะอารมณ์ของเราอีกด้วย

สมองของคนเราแบ่งได้เป็น ๒ ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวา โดยมีกลุ่มไฟเบอร์เชื่อมการทำงานของสมองทั้ง ๒ ซีกเข้าด้วยกัน

๑.สมองข้างซ้าย มีความสามารถทางด้านการคำนวณ ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ความสามารถใน

การพูด การเขียน การวิเคราะห์ การจัดลำดับก่อนหลัง ควบคุมพฤติกรรม รู้เวลาและสถานที่

๒.ส่วนสมองซึกขวา ทำงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ อารมณ์ ความรู้สึก เรื่องมิติ

สัมพันธ์ ความสามารถในภาษาท่าทาง และความสามารถทางศิลปะ เช่น การวาดรูป ระบายสมองทั้ง ๒ ซีกดังกล่าว จะทำงาร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยไม่แยกกันทำงานขณะที่คุณอ่านหนังสือ สมองซีกซ้ายของคุณจะทำหน้าที่ถอดความหมายข้อความต่างๆที่อ่าน ในระหว่างที่สมองซีกขวา จะรวบรวมความคิดเข้าไว้ด้วยกัน
          อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเราเหนื่อยหรือเครียด สมองอาจทำงานได้เพียงข้างเดียวเท่านั้น ความสามารถในการใช้สมองและสมาธิจึงลดลง และ เราก็จะไม่สามารถ รวบรวมความคิด หรือ พูดอธิบายอะไรออกไปได้ อย่างชัดเจน รวมทั้งไม่สามารถที่จะใช้คิดในเชิงสร้างสรรค์ได้การแก้ไขปัญหา ความอ่อนล้าของสมองด้วยการบริหารสมองตามแบบ Brain Gym จึงเป็นทางออกที่สำคัญ เพราะเมื่อสมองของเราทำงานประสานกันได้ดี ก็จะส่งผลให้เราสงบนิ่ง และ ติดต่อสื่อสาร รวมทั้งประเมินสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามหลักเหตุผลดีขึ้น ความสามารถในการรับรู้ความคิดเห็นของผู้อื่นก็จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

          การบริหารสมองตามแบบ Brain Gym ในแต่ละท่า ช่วยให้สมองทั้งสองซีกทำงานประสานกัน ช่วยให้เด็กๆเรียนรู้ได้ดีขึ้น เช่น ขณะที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายสลับข้าง เช่น การใช้มือซ้ายแตะที่ขาขวา ใช้มือขวาแตะที่ขาซ้ายคล้ายกับการเต้นแอโรบิก หรือกำมือซ้าย ขวาไขว้กันระดับหน้าอก กางแขนทั้งสองออกห่างกันเป็นวงกลม แล้วเอามือกลับมาไขว้กันเหมือนเดิม จะกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกในเวลาเดียวกัน ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น ส่งเสริมทักษะในการอ่าน เขียน และสะกดคำ หรือทำท่าเลข ๘ โดยใช้มือวาดรูปเป็นเลข ๘ แนวนอนบนกระดาษ ทำอย่างช้าๆ พร้อมกับใช้สายตามองตามขณะที่เคลื่อนไหวมือ จะใช้ให้ผ่อนคลายความตึงเครียดของสมองส่วนหน้าและส่วนหลัง มีสมาธิในการเรียนรู้และทำงานการเรียนรู้และลองให้เวลากับตัวเองบริหารสมองตามแบบ Brain Gym สักวันละ ๑๐-๒๐ นาที บางทีผลลัพธ์ที่คุณได้อาจจะทำให้คุณ

แปลกใจ

จัดตั้งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)

          ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ(Professional Learning community : PLC) หมายถึงการรวมกลุ่มกันของครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาในลักษณะของชุมชนเชิงวิชาการที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้กระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ การถอดบทเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง (ราชบัณฑิตยสถาน, 2558)

          จากผลการวิจัยของ สุรพล ธรรมร่มดี (2553) ยืนยันว่าการดำเนินการในรูปแบบ PLC นำไปสู่
การเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพทั้งด้านวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โดย มีผลดีทั้งต่อครูผู้สอนและนักเรียน
ในแง่ผลดีต่อครูผู้สอนพบว่าPLCส่งผลต่อครูผู้สอนกล่าวคือลดความรู้สึกโดดเดี่ยวในงานสอนของครูเพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้นโดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจ อย่างแข็งขัน จนเกิดความรู้สึกว่า ต้องการร่วมกันเรียนรู้และรับผิดชอบต่อพัฒนาการโดยรวมของนักเรียน
ถือเป็นพลังการเรียนรู้ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนให้มีผลดียิ่งขึ้นรวมทั้งเข้าใจบทบาทและ พฤติกรรมการสอนที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดซึ่งจะเกิดจากการคอยสังเกตอย่างใส่ใจในแง่ของ

ผลดีต่อผู้เรียนพบว่าPLC สามารถลดอัตราการตกซ้ำชั้นและจำนวนชั้นเรียนที่ต้องเลื่อนหรือชะลอการจัดการ

เรียนรู้ให้น้อยลงอัตราการขาดเรียนลดลงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ประวัติศาสตร์และ   วิชาการอ่านที่สูงขึ้นอย่างเด่นชัดสุดท้ายคือมีความแตกต่างด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มนักเรียน ที่มีภูมิหลังไม่เหมือนกันลดลงอย่างชัดเจน

          จากการศึกษาประโยชน์ของกระบวนการดังกล่าว ผู้จัดทำจึงเกิดความคิดที่จะนำกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) เพื่อเป็นการปรับปรุงแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน และร่วมกันพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนในแต่ละกิจกรรมการ เรียนรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในห้องเรียน

          ดังนั้นจึงได้จัดตั้งกลุ่ม PLC ครูระดับชั้นอนุบาลและครูพี่เลี้ยงเด็กพิเศษขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเด็กในห้องเรียนที่มีปัญหาในการติดจอ ส่งผลทำให้มีพัฒนาการช้าหลายด้าน จึงได้หาวิธีการแก้ปัญหา คือ “การผลิตชุดสื่อการสอนออนไลน์ เพื่อพัฒนาสมองทั้งสองซีก ด้วยทักษะกิจกรรม Brain Gym หรือ  กิจกรรมการบริหารสมองของเด็กระดับชั้นอนุบาล”

จัดตั้งกลุ่ม PLC ครูระดับชั้นอนุบาลและครูพี่เลี้ยงเด็กพิเศษ รวม 3 คน  

เพื่อผลิตชุดสื่อการสอนออนไลน์ เพื่อพัฒนาสมองทั้งสองซีก ด้วยทักษะกิจกรรม Brain Gym 

1687450326145.mp4

การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองทั้งสองซีก ด้วยทักษะกิจกรรม Brain Gym จากครูบัดดี้

การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาสมองทั้งสองซีก ด้วยทักษะกิจกรรม Brain Gym ให้กับเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 และชั้นอนุบาลปีที่ 3 และเด็กพิเศษ