ทำไมต้องทำ

เอคโค่หัวใจ

ประโยชน์ของการทำเอคโค่หัวใจ

ทำเอคโค่หัวใจ เราจะรู้การทำงานของหัวใจหลายอย่างเลยครับ เดี๋ยวเราจะมาเล่ากันให้ดูเป็นข้อๆนะครับ

1. รู้ขนาดของหัวใจ

สิ่งแรกเลยที่เราอยากรู้ คือเราเป็นโรคหัวใจโตหรือไม่ เพราะโรคหัวใจโตเป็นโรคที่รุนแรงมากนะครับ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไร ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจโตมันอายุสั้นกว่าคนปกิต ดังนั้นสิ่งแรกเลยที่เราอยากรูคือหัวใจของเรามีขนาดเป็นยังไง และรูปร่างของมันมีลักษณะผิดปกติอะไรบ้างหรือเปล่า เป็นโรคหัวใจโตไหม การทำเอคโค่หัวใจจะสามารถวัดขนาดออกมาได้ละเอียดเป็นระดับมิลลิเมตรเลย

โรคหัวใจโตเราก็รู้ได้จากการทำเอ็กเรย์ทรวงอก (CXR) หรือการทำ ECG ได้นี่นา แล้วทำไมต้องทำเอคโค่หัวใจด้วยล่ะ?

ผู้ถามคำถามนี้ฉลาดมากนะครับ ที่ทราบว่าทั้งการทำ CXR และการทำ ECG ก็สามารถตรวจพบโรคหัวใจโตได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม CXR เป็นการวัดขนาดจากเงาของหัวใจที่ฉายลงบนแผ่น X-ray เท่านั้น ต่างจากการวัดที่ตัวหัวใจโดยตรงจากการทำเอคโค่หัวใจครับ ส่วน ECG สามารถสงสัยว่าเป็นโรคหัวใจโตได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ออกมาเป็นกราฟใหญ่กว่าหัวใจของคนปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ECG ก็ไม่สามารถบอกไว้ว่าหัวใจโตกี่เซ็นติเมตรกันแน่ อีกทั้งบอกถึงสาเหตุของโรคหัวใจโตไม่ได้ด้วย ดังนั้นการทำเอคโค่จะมีประโยชน์มากกว่าครับ

อย่างไรก็ตาม เราก็ยังสามารถใช้ CXR และ ECG ซึ่งมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าเอคโค่ เป็นตัวช่วยคัดกรองในคนจำนวนมากได้นะครับ เพราะหากปกติเราก็จะได้ไม่ต้องมาเอคโค่ แต่หากผิดปกติก็ค่อยมาเอคโค่กันแบบละเอียดอีกครั้งครับ

2. รู้ว่าการทำงานของหัวใจปกติหรือเปล่า

เอคโค่หัวใจสามารถบอกให้เราทราบว่าหัวใจของเราตอนบีบตัวทำงานได้กี่% (systolic function) ตอนที่เรานั่งอยู่เฉยๆแบบนี้ หรือว่าเรานอนอยู่แบบนี้หัวใจของเราจะทำงานอยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่งนะครับ คือประมาณ 50-60% ถ้ามันทำงานอ่อนเกินไปเราก็จะรู้ว่าหัวใจทำงานลดลงหรือเปล่าครับ หรือว่าหัวใจเหนื่อยอยู่ทำงานมากขึ้นผิดปกติ หรือหัวใจบีบตัวเร็วเกินไปหรือเปล่า สรุปเราก็จะรู้หมดนะครับว่าหัวใจเนี่ยทำงานปกติหรือไม่ และถ้าหัวใจทำงานลดลง เราก็จะรู้ว่ามันลดลงจากสาเหตุอะไรอีกด้วย

สาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้หัวใจทำงานลดลง ที่เจอได้บ่อยมากก็คือเรื่องของ เส้นเลือดหัวใจตืบตัน (coronary heart disease) ถ้ามีเส้นเลือดหัวใจตืบตัน หัวใจของเราจะทำงานลดลงกว่าปกติได้นะครับ โดยเฉพาะถ้าตีบเยอะเยอะ ถ้าตีบเยอะมากหรือมีจุดที่เส้นเลือดอุดตัน หัวใจของเราจะทำงานลดลงโดยเฉพาะถ้าลดลงชัดเจนต่ำกว่า 40% มักจะมีปัญหาแน่นอน ต้องเช็คเพิ่มเติมแบบละเอียดต่อไปครับ

ซึ่งหากเราพบว่าหัวใจทำงานลดลงดังกล่าว เราก็ต้องไปตรวจต่อว่า กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงไหม (ischemic cardiomyopathy) การตรวจขั้นต่อไป แพทย์ก็จะพิจารณาครับว่าจะตรวจอะไรต่อไปดี จะต้องเดินสายพานต่อไหม (EST, exercise stress test) หรือว่าบางคนจะไปสแกนหัวใจดู โดยไปทำคอมพิวเตอร์หลอดเลือดหัวใจ (coronary CT-scan) หรือว่าต้องไปฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจเลย (coronary angiography) อันนี้ถามคุณหมอโรคหัวใจที่ดูแลเพื่อนๆแต่ละท่านเลยนะครับว่าควรทำอะไรต่อ


3. การทำงานของลิ้นหัวใจ (valvular function)

ปกติหัวใจของเรามีกี่ห้องนะครับ? ใช่แล้วครับ มีอยู่ 4 ห้อง เย้ๆดีใจ ตอบกันถูกทุกๆคนเลย ลิ้นหัวใจก็มีอยู่ 4 ลิ้นเหมือนกัน นะครับ ลิ้นหัวใจในแต่ละลิ้นก็จะมีการเปิด-ปิด-เปิด-ปิด เพื่อกั้นเลือดให้ไหลไปในทิศทางที่ถูกต้อง ป้องกันเลือดไหลย้อนกลับผิดทาง

ถ้าลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ อันแรกเลยคือลิ้นหัวใจตีบนะครับ (valvular stenosis) หมายความว่าลิ้นหัวใจมันเปิดได้ไม่กว้างพอ เท่ากับเกณฑ์ปกติของลิ้นนั้นๆ จะทำให้เลือดไหลออกจากหัวใจได้น้อยลง เราเรียกว่าลิ้นหัวใจตีบครับ

ส่วนอีกอันนึงคือลิ้นหัวใจรั่ว (valvular regurgitation) หมายความว่า ตอนที่ลิ้นหัวใจปิด แต่ปิดไม่สนิท เกิดมีรอยรั่วทำให้เกิดเลือดไหลย้อนกลับ การที่เลือดไหลย้อนกลับจะทำให้หัวใจต้องทำงานมากขึ้นกว่าปกติ คนไข้ก็อาจจะเหนื่อยได้ง่าย ดังนั้นการตรวจเอคโค่ จะเห็นเลยว่าลิ้นหัวใจรั่วหรือเปล่า และตีบหรือไม่ เราก็จะรู้ว่าในแต่ละลิ้นเนี่ยถึงเกณฑ์ที่จะต้องรักษายังไงต่อ ต้องพิจารณาผ่าตัดหรือเปล่า อันนี้เอคโค่หัวใจก็จะรู้เลย

4. ความเสื่อมของการคลายตัวของหัวใจ (diastolic dysfunction)

ปกติหัวใจของเราจะมีหน้าที่บีบเลือด สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย พอบีบเลือดเสร็จหัวใจก็จะคลายตัวเพื่อที่จะรับเลือด เตรียมตัวที่จะสูบฉีดโลหิตในรอบต่อไป การคลายตัวรับเลือดเราเรียกว่า diastolic function ซึ่งหากเมื่อเราอายุเยอะขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจของเราก็จะมีการเสื่อมตัวลง ทำให้ความสามารถในการคลายตัวเพื่อรับเลือดเสื่อมลง การทำเอคโค่หัวใจ ก็จะรูุ้ถึงการเสื่อมของหัวใจในรูปแบบนี้ได้ด้วยครับ

หวังว่าคลิปนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆที่จะเข้ารับการตรวจเอคโค่บ้างนะครับ หากมีคำถามก็สามารถเขียนไว้ในช่องคอมเม้นต์ใต้คลิปเลยนะครับ ก่อนจากกันไปฝากเพื่อนๆช่วยกดติดตามช่องยูทูป DRK Channel เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ กดตามลิงค์นี้เลย พบกันใหม่คลิปหน้า สวัสดีครับ


https://www.youtube.com/channel/UCF3iOWwldQehnS5v7t6a9Rw/SeattleWebSearch?sub_confirmation=1


★☆★ ดีอาร์เค ชาแนล ★☆★

ช่องแห่งรอยยิ้ม อิ่มด้วยสาระ

โดยนายแพทย์ กิจจา จำปาศรี (หมอเต้ กิจจา)