วิสัยทัศน์และพันธกิจ
(TFT’s Vision and Mission)

"การศึกษาที่ดีไม่ควรขึ้นกับโชคชะตา"

เด็กไทยจำนวนไม่น้อยไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเพราะเพียงเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ทำให้เด็กเหล่านั้นไม่แม้แต่จะเชื่อว่าพวกเขาสามารถกำหนดอนาคตให้แก่ตัวเองและรอบข้างได้

ทฤษฎีปัญหา (Theory of Problem)

ปัญหาการศึกษานับว่าเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนในหลายมิติทุกปัจจัยก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมสำคัญในระบบการศึกษา ส่งผลให้เด็กไทยไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์แบ่งปัญหาออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

การให้การศึกษา

เช่น ทรัพยากรและบุคคลากรในโรงเรียน คุณภาพการสอน


ปัจจัยภายนอกที่กระทบการศึกษา

เช่น เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้

การบริหารหรือภาครัฐ

เช่น การบริหารจัดการ งานทั่วไป นโยบายทางการศึกษา



การร่วมมือของเครือข่าย

ผู้ปกครอง คนในชุมชน

เมื่อพิจารณาจากสาเหตุของปัญหาแล้ว พบว่ารากของปัญหามี 3 ปัจจัยหลักที่สร้างวัฏจักรแห่งความด้อยโอกาสในเด็กและชุมชนไทย

ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ความยากจน การ เปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคมที่จำกัด และ/หรือ โครงสร้างทางการเมืองและประวัติศาสตร์ ฯลฯ ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญในชีวิตของเด็กนักเรียนและผู้คนกลุ่มใหญ่ในสังคมไทย

ปัจจัยด้านระบบ

ระบบการศึกษาไม่ได้ออกแบบมาให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษา ที่มีคุณภาพ หรือ โรงเรียนขาดความสามารถ ในการพัฒนา ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการกำหนดอนาคต ของชีวิตพวกเขา

ปัจจัยด้านความเชื่อ

ผู้คนไม่เชื่อว่าปัญหาต่างๆ ด้านการศึกษาไทย สามารถแก้ไขได้ หรือความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ รวมทั้งความเชื่ออื่น ๆ เช่น หากเกิดมาจน ชีวิตก็คงเป็นได้เท่านั้น ผู้คนไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาและมองว่าความไม่เท่าเทียมคือเรื่องธรรมดาของชีวิต

วิสัยทัศน์ของเรา (Our Vision)

“สักวันหนึ่ง เด็กไทยทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้พวกเขาสามารถกำหนดชะตาชีวิตได้ด้วยตนเอง”

โดยในปี พ.ศ. 2583 เด็กในชุมชน ทุกภูมิภาคทั่วประเทศจะมีความรู้ ทักษะ เจตคติ และโอกาสต่าง ๆ ที่เอื้อให้พวกเขากำหนดอนาคต ของตนเองและครอบครัวได้ รวมทั้งเติบโตเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมให้แก่ชุมชนของตนเองสืบไป







พันธกิจของเรา (Our Mission)

เรามุ่งมั่นขจัดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ออกจากประเทศไทยผ่านการสร้าง “เครือข่ายผู้นำ”

ที่เข้าไปสร้างความเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน โรงเรียน

และในภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม

ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change)

โครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างผลกระทบเชิงบวกระยะสั้น จากนั้นผลกระทบระยะกลางจะเกิดขึ้นในส่วนของเครือข่ายศิษย์เก่าที่จะเข้าไปสร้างความเปลี่ยนแปลงในส่วนต่าง ๆ ของสังคม จนกระทั่งนำสู่การสร้างผลกระทบยาวในชุมชนให้ยั่งยืนต่อไป

ตรวจสอบความเข้าใจจากสถานการณ์

Vision & Mission Quiz

เรียบเรียงโดย มูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์