ล้มแล้วลุกได้เร็ว
(Resilience)

"อย่าตัดสินผมจากความสำเร็จ แต่ให้ดูจากจำนวนครั้งที่ผมล้มเหลวและลุกขึ้นมาอีกครั้ง"

- Nelson Mandela

Resilience คืออะไร

Resilience มาจากภาษาละตินว่า "resilire" หมายความว่า “การเด้งกลับ” Resilience ในทางจิตวิทยาหมายถึง ความสามารถของบุคคลที่จะต่อสู้กับความเจ็บปวด ความล้มเหลว ความอ่อนแอ มีความยืดหยุ่นทางความคิด ซี่งจะช่วยให้สามารถรับมือกับความล้มเหลว รวมทั้งลุกขึ้นมาใหม่ได้อย่างแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม หรือที่เราเรียกว่า Bounce Back

ระดับ Resilience ในตัวเรา

  1. Calm (Low-Low) ไม่มีผลกระทบ ไม่ได้พัฒนา

  2. Anxious (High-Low) ภาวะกระวนกระวาย ไม่สามารถปรับความคิดหรือปรับตัวได้

  3. Strong (Low-High) พร้อมที่จะรับมือกับความตึงเครียด

  4. Resilience (High-High) มีทักษะการจัดการชีวิตและความคิดให้ได้ในสถานการณ์ที่ลำบากและอึดอัด

ลักษณะของคนที่มี Resilience

  • การยอมรับความจริงและไม่โทษคนอื่น คนที่มี Resilience มักมองหาสาเหตุของปัญหาอย่างรอบด้าน ไม่ด่วนตัดสินหรือโทษสิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เพราะสำหรับคนที่มี Resilience จะระลึกเสมอว่าทุกอย่างมีความเป็นไปได้ หากปัญหาไม่เกิดจากคนอื่น ปัญหาก็อาจเกิดจากตัวเรา เมื่อมองเห็นต้นตอ และยอมรับความจริงว่าเกิดอะไรขึ้น ก็จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องได้

  • ทบทวนปัญหา เมื่อเผชิญกับปัญหา พวกเขาจะเริ่มทบทวนสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ปัญหาเริ่มจากจุดใด อะไรที่พาเรามาถึงวิกฤตินี้ ตัวเราเองมีบทบาทอย่างไร เราทำอะไรผิดพลาดไปหรือเปล่า

  • ไม่ยึดติด คนที่มี Resilience จะรู้ว่าเหตุการณ์แย่ ๆ นี้เกิดขึ้นเป็นเรื่องนี้เท่านั้น และจะไม่โยงใย เอาเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เคยแย่มาปะปน จนเกิดเป็นความกังวล และมองโลกในแง่ร้าย

  • พัฒนาและก้าวต่อไป คุณลักษณะนิสัยที่ทำให้คนที่มี Resilience แตกต่างจากคนอื่น ๆ คือ พวกเขามีความเห็นอกเห็นใจเข้าใจตนเอง จะไม่คิดว่าตนเองตกเป็นเหยื่อ แต่จะมุ่งเป้าหมายไปที่การใช้เวลาและพลังงานในการทำสิ่งที่ควบคุมได้ พวกเขาไม่หยุดอยู่แค่การยอมรับและทบทวน แต่พวกเขาไปต่อด้วยการพัฒนาตนเองจากสิ่งที่บกพร่อง ทำให้ฟื้นตัวจากวิกฤติได้ ไม่ว่าจะยากเย็นสักเพียงใด

อาจจะสรุปสั้น ๆ ได้ว่า ล้มเหลว เรียนรู้ สู้ต่อ

Pre-Event Resilience Skill (ภาวะเตรียมพร้อม)

Build a resilience threshold เพิ่มขอบเขตความยืดหยุ่นของตนเอง

การที่เรามีขอบเขตความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น จะสามารถทำให้เรายืนหยัดอยู่ในเหตุการณ์อันอยากลำบากได้มากขึ้น

Practice response to rejection ฝึกให้คุ้นชินกับการปฏิเสธ

สร้างภูมิต้านทาน บริหารความเสี่ยง และเตรียมความพร้อมด้วยวิธีการอื่นๆ โดยอิงกับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เช่น คิดล่วงหน้าว่า ถ้าหากวันหนึ่งต้องเลิกจากกัน เราจะอยู่อย่างไร เราจะเดินออกจากชีวิตแบบนั้นได้อย่างไร

Learn something new เรียนรู้สิ่งใหม่

ยอมเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทดลองทำอะไรใหม่ๆ ที่ไม่คุ้นเคย ไม่ยึดติดกับความสำเร็จ เมื่อยอมให้ตัวเองล้มได้บ่อย เราจะมีโอกาสฝึกที่จะลุกให้บ่อยตามไปด้วย

Face uncomfortable situations กล้าเผชิญหน้ากับพื้นที่เสี่ยงบ้าง

"being comfortable with uncomfortable" การขยายเขตพื้นที่ปลอดภัยออกไปทีละนิด ลองเจอกับสิ่งที่ไม่คุ้นเคยบ้าง พร้อมเผชิญความท้าทาย

Manage your energy บริหารพลังงานของตนเอง

เรียนรู้ที่จะผ่อนคลาย ดูแลเรื่องสุขภาพกาย เช่น อาหารการกิน ออกกำลังกาย และดูแลสุขภาพใจ ทำสมาธิ กำหนดลมหายใจเพื่อกาย-ใจให้ทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ และพร้อมรับกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่างๆและแก้ไขมันได้

Positive Thinking มองโลกในแง่บวก

พัฒนาความคิดที่เป็นบวก ให้ความสำคัญกับปัจจุบัน ไม่จมไปกับความคิดลบ ปรับเปลี่ยนมุมมองในเรื่องสถานการณ์แย่ ๆ ที่เจอให้เป็นการรับรู้ที่ให้แง่คิดและการเรียนรู้ เช่น มองเป็นโอกาสในการพัฒนา

เพิ่มขอบเขตความยืดหยุ่นของตนเอง

ปรับเปลี่ยนมุมมอง

Post-Event Resilience Skill (ภาวะรับมือ)

Evaluate your action ประเมินสถานการณ์

แล้วลองมองย้อนกลับไปมองว่าเกิดอะไรขึ้น สาเหตุของปัญหาคืออะไร? แล้วเราตอบสนองกับมันอย่างไรไป?

Choose your Attitude ปรับมุมมอง

คนเรามีทั้งความคิดทางบวกและทางลบ หากเราคิดลบมากไปอาจจะลองถามดูว่า เราโยนความผิดใส่คนอื่นอยู่รึเปล่า? เรายอมรับในสิ่งที่เกิดหรือไม่?ถ้ามองบวกมากเกินไป ลองถามตัวเองดูว่า นี่เราฝันอยู่รึเปล่านะ? เราเข้าข้างตัวเองมากไปหรือเปล่า? ควรจะมีการคิดทางลบเป็นส่วนปรับปรุง และมองในแง่บวกเพื่อต่อเติมพลังให้ตัวเอง

Connect with your advisory board พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ

หาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้ที่สามารถช่วยซักถาม หรือช่วยสะท้อนในฐานะโค้ชที่ช่วยให้เราได้ทบทวนจุดบกพร่อง จุดแข็งที่เราอาจเคยมองข้าม และค้นหาความหมายที่เราไม่เคยมองเห็น เพื่อที่เราจะลุกขึ้นมาได้อย่างแข็งแรงกว่าเดิม

Take a break, redirect, and come back หยุดพัก ลองมองภาพกว้างๆ พร้อมกลับไปเผชิญหน้าใหม่

จริงๆ เราอาจจะแค่เครียดสะสม ลองให้เวลาตัวเองพักบ้าง หันกลับมามองภาพใหญ่ๆ มองสิ่งรอบข้างที่เป็นปกติ หากำลังใจ แล้วกลับรับมือใหม่อีกครั้ง

Take cathartic action ปล่อยวางและไปต่อ

หลังจากผ่านการต่อสู้โดยใช้ทุกสิ่งที่ตัวเองมี เราได้รู้ความหมาย รู้จุดแข็ง จุดดี จุดด้อยของตัวเองเรียบร้อย วิธีการอย่างสุดท้ายคือการปล่อยวางเพื่อที่จะได้ไปต่อคือการมองไปข้างหน้า มีความยืดหยุ่นไม่ยึดติด ปรับตัวและแก้ไขข้อบกพร่องอยู่เสมอ

เคล็ดลับการสร้าง Resilience

  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน คนใกล้ชิด เพื่อนฝูง หรือ สังคมที่เราอยู่ เพื่อเป็นที่พึ่งด้านจิตใจ ช่วยเหลือและเห็นอกเห็นใจกันและกัน

  • ให้คุณค่ากับการพัฒนาเท่ากับความสำเร็จ ให้ความสำคัญกับ “การเดินทาง” มากกว่า “จุดหมาย” นั่นคือ ระหว่างที่เราใช้ชีวิตนั้น เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง เราเก็บเกี่ยวประสบการณ์อะไรมาบ้าง

  • ตั้งเป้าหมายให้ชีวิต และใช้ชีวิตอยู่บนโลกอย่างมีความหมาย มีภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จ

  • เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา และใช้มันให้เกิดประโยชน์ในอนาคต เพราะทุกปัญหานำบทเรียนมาให้เราเสมอ ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้ให้ได้มากที่สุดจากปัญหาที่เราเจอ

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.linkedin.com/learning/building-resilience/become-resilient, bettermindthailand, thestandard

เรียบเรียงโดย มูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์