การตั้งคำถามแบบโสเครติส
(Socratic Questioning)
‘การสนทนา (แบบโสเครติส) คือเครื่องมือที่เปี่ยมพลังที่จะลดปีศาจ (ของความไม่รู้)’
- Sira Abenoza
Socratic Questioning คืออะไร
โสเครตีสนักปรัชญาคนสำคัญแห่งยุคกรีกโบราณได้วางรากฐานของการแสวงหาความจริงด้วย การตั้งคำถามแบบโสเครตีส (Socratic Questioning) เป็นเครื่องมือ หลักการพื้นฐานคือ “ตั้งคำถามให้ลึก” เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงก่อนจะเชื่อข้อมูลเหล่านั้น กระบวนการนี้เป็นวิธีการที่ทำให้ได้ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ กระบวนการคิดและการตั้งคำถามดังกล่าวจึงถูกถ่ายทอด และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยนักคิดและนักวิชาการแขนงต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน
การเข้าไปสนทนากับผู้คนผ่านคำถามของโสเครติสนั้นจึงไม่ใช่การไปถกเถียงเพื่อเป็นผู้ชนะหรือหาผู้แพ้ แต่เป้าหมายคือการพาผู้สนทนาคิดหาคำตอบหรือสืบหาความเป็นจริง
ดังนั้นการตั้งคำถามแบบโสเครตีส ช่วยกระตุ้นให้เกิดทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ เพราะเป็นการเปิดให้ผู้สนทนาคิดเกี่ยวกับมโนทัศน์สำคัญที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวันด้วยในมุมมองที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดเป็นความเข้าใจใหม่ขึ้นมา
7 วิธีตั้งคำถามแบบโสเครตีส
คำถามที่เน้นให้เกิดความกระจ่าง
(Clarification questions)
ใช้ตรวจสอบความคิดหลังจากให้คำตอบไปแล้ว หรือหลังการอภิปรายเสร็จสิ้น
ตัวอย่าง
ทำไมถึงตอบเช่นนั้น?
ความหมายที่ถูกต้องจริงๆ คืออะไร?
ยกตัวอย่างในสิ่งที่กำลังอธิบายได้ไหม?
คำถามที่เน้นให้ตั้งคำถามกับคำถามหรือประเด็นเริ่มแรก
(Questions about an initial question or issue)
ใช้คิดทบทวนเกี่ยวกับคำถามหรือประเด็นที่นำเสนอไป
ตัวอย่าง
ทำไมคำถามนี้จึงสำคัญ?
ประเด็นการตั้งคำถามข้อนี้คืออะไร?
คำถามนี้หมายความว่าอย่างไร
คำถามที่เน้นตั้งข้อสมมติฐาน
(Assumption questions)
ใช้ก่อนเริ่มอภิปรายร่วมกันเพื่อกระตุ้นการคิด
ตัวอย่าง
อะไรคือสมมติฐาน?
ทำไมใครบางคนถึงตั้งสมมติฐานเช่นนี้?
ดูเหมือนจะมีการสมมติฐานว่า…ใช่ไหม?
จะมีวิธีการพิสูจน์สมมติฐานนี้อย่างไร?จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า..?
คำถามที่เน้นให้นำเสนอเหตุผลและหลักฐาน
(Reason and evidence questions)
ใช้ระหว่างการอภิปรายแลกเปลี่ยน ที่ต้องมีการหาเหตุผลหรือหลักฐานเพื่อสนับสนุนคำตอบ
ตัวอย่าง
ทำไมจึงคิดว่าสิ่งนี้ถูกต้อง?
ช่วยอธิบายเหตุผลให้ฟังได้ไหม?
ด้วยเหตุผลเช่นนี้นำมาสู่ข้อสรุปว่าอย่างไร?
เหตุผลที่ยกมา คิดว่าเพียงพอแล้วหรือยัง
เรื่องนี้มีข้อหักล้างได้ไหม
นั่นคือเหตุผลที่สงสัยเกี่ยวกับหลักฐานดังกล่าวใช่ไหม?
คำถามที่เน้นตรวจสอบแหล่งอ้างอิงหรือแหล่งที่มา
(Origin or source questions)
ใช้ระหว่างอภิปราย เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาและเหตุผลในการเลือกใช้ข้อมูล
ตัวอย่าง
ได้รับความคิดมาจากที่ใด?
นี่เป็นความคิดของเธอ หรือเธอได้ยินมันมาจากที่อื่น?
อะไรเป็นสาเหตุที่เลือกใช้ข้อมูลนี้
คำถามที่เน้นมุมมอง
(Viewpoint questions)
ใช้ระหว่างการอภิปรายแลกเปลี่ยน ที่ต้องมีการให้คิดในแง่มุมอื่น
ตัวอย่าง
ข้อแตกต่างระหว่าง…กับ… คืออะไร?
มีแง่มุมอื่นในการพิจารณาสิ่งนี้อีกไหม?
สามารถมองเรื่องนี้ในแง่มุมอื่นได้หรือไม่?
คำถามที่เน้นความเกี่ยวข้องและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามมา
(Implication and consequence questions)
ใช้หลังสรุปการอภิปราย เพื่อต่อยอดการนำไปใช้หรือประเมินสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น
ตัวอย่าง
สิ่งนั้นสามารถเกิดขึ้นจริงๆ หรือมันแค่อาจจะเกิดขึ้น?
ถ้าสิ่งนั้นเกิดขึ้นแล้ว อะไรบ้างอาจจะเกิดขึ้นตามมา ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ตัวอย่างการตั้งคำถามอื่น ๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://thepotential.org/knowledge/socratic-questioning/
เรียบเรียงโดย มูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์