การทดสอบวัดความรู้พื้นฐาน
(SKT)
Tips
ควรทบทวนบทเรียนมาล่วงหน้า
อ่านโจทย์ให้ละเอียด และอย่าลืมสังเกตเวลา
การทดสอบความรู้รายวิชา (Subject Knowledge Test)
ที่มาและความสำคัญ
ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้ผ่านการทดสอบคุณลักษณะ 8 ประการซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาความเป็นผู้นำและการทำงานในบริบทที่มีความท้าทายสูง อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจในรายวิชาที่ตนเองสอนก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลง เราพบว่าผู้ที่มีความพร้อมในเนื้อหาวิชามากกว่า จะสามารถพัฒนาตนเองได้รวดเร็วในระหว่างช่วงฝึกอบรม และสามารถสร้างการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและน่าสนใจให้แก่นักเรียนได้มากกว่า
นอกจากนี้ แต่ละปี จำนวนครูที่เราเปิดรับในแต่ละวิชาขึ้นอยู่กับความต้องการของโรงเรียนเครือข่ายในปีนั้น ๆ บางวิชาแม้ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมากแต่มีจำนวนรองรับที่จำกัด และบางวิชาอาจจะไม่มีครูเพียงพอ ทั้ง ๆ ที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ บางท่านมีศักยภาพที่จะสอนในวิชานั้นได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีกระบวนการในการจัดสรรวิชาขึ้นโดยการทดสอบความรู้รายวิชา เพื่อให้นักเรียนของเราทุกคนได้มีโอกาสเรียนกับครูที่มีความถนัดในแต่ละวิชา โดยคำนึงถึงผลลัพธ์สูงสุดต่อนักเรียนและโรงเรียนที่เราทำงานด้วย
เราคาดหวังว่าผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทุกท่านจะเข้าใจและรับทราบว่าตนเองอาจจะไม่ได้สอนในวิชาที่ตนต้องการที่สุดเสมอไป และเราเชื่อว่าผู้ตอบรับเข้าร่วมโครงการฯ จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับนักเรียนได้ไม่ว่าตนจะสอนวิชาใด ผ่านการเสริมสร้างทัศนคติและทักษะในการใช้ชีวิตที่ดีทั้งในและนอกห้องเรียน
เงื่อนไขการทดสอบและการจัดสรรวิชา
ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกรอบใบสมัคร จะสามารถเลือกสอบได้ 1 วิชา ซึ่งข้อสอบระดับชั้นประถม และมัธยมต้นเป็นข้อสอบชุดเดียวกัน แต่จะมีเกณฑ์ผ่านที่แตกต่างกัน และผู้สมัครจะได้มาสอบในช่วงเช้าของวันกิจกรรมคัดเลือก (Assessment Center) โดยมีเวลาในการทำข้อสอบ 1 ชั่วโมง
หมายเหตุ:
หากผู้สมัครผ่านการคัดเลือกในกิจกรรมวันคัดเลือก และมีทักษะที่โดดเด่น แต่ไม่ผ่านการทดสอบความรู้รายวิชา ทางทีมงานจะนัดหมายให้มาสอบออนไลน์อีกครั้ง โดยต้องทำการสอบในวิชาใหม่เท่านั้น ไม่สามารถสอบซ่อมในวิชาเดิมได้
หากผู้สมัครผ่านการคัดเลือกในกิจกรรมวันคัดเลือก และสอบผ่านการทดสอบความรู้รายวิชา ทางผู้สมัครสามารถแจ้งความประสงค์เพื่อขอทำการทดสอบในวิชาที่ 2 เพิ่มเติมได้ในช่วงฝึกอบรม (Institute)
เพื่อประสิทธิภาพในการทำการทดสอบความรู้รายวิชามากที่สุด ผู้สมัครทุกคนจะต้องเตรียมตัวทบทวนเนื้อหาวิชาล่วงหน้าหลังประกาศผลใบสมัคร
หากผู้สมัครมีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ในวิชานั้น ผู้สมัครจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้
สำหรับวิชาภาษาอังกฤษ สามารถส่งคะแนนสอบที่มีอยู่แล้วเข้ามาได้ตามรายละเอียดเรื่องเกณฑ์
หลังจากที่ผู้สมัครผ่านการทดสอบแล้ว เราจะแจ้งผลการจัดสรรวิชาในระหว่างการเข้าร่วมช่วงฝึกอบรม (Institute)
เราขอแนะนำให้คุณเตรียมความพร้อมอย่างดีที่สุดในทุกวิชาที่คุณเข้าสอบ เพื่อประโยชน์แก่ตัวคุณเอง เนื่องจากช่วงฝึกอบรมจะเป็นช่วงเวลาที่เข้มข้นและท้าทายมาก การมีพื้นฐานความรู้ที่หนักแน่นจะช่วยให้คุณพัฒนาตนเองได้อย่างรวดเร็ว และการทบทวนเนื้อหาในวิชาอื่น ๆ จะทำให้คุณสามารถบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลาย ทำให้การเรียนการสอนของคุณน่าสนใจมากขึ้น
เกณฑ์ของแต่ละวิชา
วิชาคณิตศาสตร์
ระดับประถม เกณฑ์การผ่านคัดเลือก: 65% ของคะแนนสอบจากข้อสอบบางข้อ
ระดับมัธยมต้น เกณฑ์การผ่านคัดเลือก: 55% ของคะแนนจากข้อสอบทุกข้อ
วิชาวิทยาศาสตร์
ระดับประถม เกณฑ์การผ่านคัดเลือก: 60% ของคะแนนสอบจากข้อสอบบางข้อ
ระดับมัธยมต้น เกณฑ์การผ่านคัดเลือก: 45% ของคะแนนจากข้อสอบทุกข้อ
วิชาภาษาอังกฤษ
ระดับประถม เกณฑ์การผ่านคัดเลือก: 85% ของคะแนนสอบจากข้อสอบบางข้อ
ระดับมัธยมต้น เกณฑ์การผ่านคัดเลือก: 75% ของคะแนนจากข้อสอบทุกข้อ
รายละเอียดการทดสอบของวิชาภาษาอังกฤษ
การทดสอบความรู้รายวิชาภาษาอังกฤษจะทดสอบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษทั่วไปโดยยึดกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะทดสอบใน 4 ทักษะหลัก ได้แก่
ทักษะการฟัง (Listening Comprehensive)
ทักษะการอ่าน (Reading Comprehension)
ทักษะการเขียน (Structure and Writing Expression)
ทักษะการพูด (Speaking Comprehensive)
คุณจะมีเวลา 1 ชั่วโมง ในการทำข้อสอบจำนวน 30 ข้อ เป็นข้อสอบปรนัยทั้งหมด และจะต้องเข้าทดสอบทักษะการฟังและการพูดอีก 5 นาที (English interview)
ทักษะการฟัง (Listening Comprehensive)
ข้อสอบปรนัย วัดทักษะการฟัง โดยจะมีบทสนทนา 2 บทสนทนาให้ฟัง และให้เลือกตอบคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ทักษะการเขียน (Structure and Writing Expression)
ข้อสอบปรนัย วัดทักษะการเขียนผ่านโครงสร้างไวยากรณ์ มีทั้งส่วนเติมเต็มบทสนทนา การเลือกคำศัพท์ที่เหมาะสม และการแก้ไวยากรณ์ที่ผิด เนื้อหาส่วนใหญ่อยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ทักษะการอ่าน (Reading Comprehension)
ข้อสอบปรนัย วัดทักษะการอ่านในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งจะเน้นทักษะการจับใจความ ข้อมูลที่สำคัญจากบทความนั้น ๆ และอีกส่วนหนึ่งเป็นบทความในระดับภาษาที่ใช้ในเว็บไซต์ข่าวนานาชาติทั่วไป เช่น www.nytimes.com
ทักษะการพูด (Speaking Comprehensive)
คุณจะต้องจองวันและเวลาในการพูดคุยกับทีมงาน 1 คนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นเวลาประมาณ 5 นาที โดยบทสนทนานี้จะเป็นบทสนทนาที่ไม่เป็นทางการ เพื่อใช้วัดความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษในบริบทสังคมทั่วไป โดยการทดสอบนี้จะใช้วัด 4 ด้าน ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสารเนื้อหาให้เข้าใจได้ (Coherence) ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา (Fluency) การออกเสียงภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง (Pronunciation) และการใช้คำศัพท์และหลักไวยากรณ์ที่ถูกต้อง (Sentence Structure, Grammar, Vocabulary)
รายละเอียดการทดสอบของวิชาวิทยาศาสตร์
การทดสอบความรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์เป็นข้อสอบที่ใช้เวลา 1 ชั่วโมง เป็นข้อสอบทั้งปรนัยจำนวน 34 ข้อ โดยข้อสอบถูกออกแบบขึ้นเพื่อทดสอบกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์และกระบวนการสื่อสารอย่างเป็นเหตุเป็นผล บูรณาการเนื้อหาตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเข้าไว้ด้วยกัน จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับข้อสอบของ PISA ของ OECD
ส่วนที่ 1: วิทยาศาสตร์เคมีกายภาพ
ในส่วนนี้ จะมีข้อสอบทั้งหมด 13 ข้อส่วนที่ 2: วิทยาศาสตร์วีวภาพ
ในส่วนนี้ จะมีข้อสอบจำนวน 9 ข้อส่วนที่ 3: วิทยาศาสตร์โลก
ในส่วนนี้ จะมีข้อสอบจำนวน 7 ข้อส่วนที่ 4: วิทยาศาสตร์อวกาศ
ในส่วนสุดท้าย จะมีข้อสอบจำนวน 5 ข้อ
รายละเอียดการทดสอบของวิชาคณิตศาสตร์
การทดสอบความรู้รายวิชาคณิตศาสตร์เป็นข้อสอบที่ใช้เวลา 1 ชั่วโมง เป็นข้อสอบปรนัย จำนวน 30 ข้อ โดยข้อสอบดังกล่าวจะทดสอบความเข้าใจในวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายถึงมัธยมตอนต้น ใน 6 สาระการเรียนรู้ดังนี้
สาระที่ 1: จำนวน
ครอบคลุมเนื้อหาการจำแนกจำนวนจริง เช่น จำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรกยะ การหารากที่สอง รากที่สาม และรากที่ n ของจำนวนจริง เลขยกกำลัง การหา ห.ร.ม และ ค.ร.น. ของจำนวนนับ การบวก ลบ คูณ หารและสมบัติต่างๆที่เกี่ยวข้อง
สาระที่ 2: พีชคณิต
ครอบคลุมเนื้อหาการแก้โจทย์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว การหาพิกัดของจุดและการอธิบายลักษณะของรูปเรขาคณิตที่เกิดขึ้นการการเลื่อนขนาน การสะท้อน และการหมุนบนระนาบในระบบพิกัดฉาก การแก้สมการและอสมการตัวแปรเดียว การเขียนกราฟแสดงความเกี่ยวข้องระหว่างประมาณสองชุดที่มีความสัมพันธ์เชิงเส้น การเขียนกราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร พหุนามสาระที่ 3 การวัด
ครอบคลุมเนื้อหาการหาพื้นที่ พื้นที่ผิวและปริมาตรของรูปและรูปทรงต่างๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง การคำนวณความกว้าง ความยาว และความสูงของรูปทรงต่างๆ รวมถึงการใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับในการให้เหตุผลและการแก้ปัญหาสาระที่ 4: เรขาคณิต
ครอบคลุมเนื้อหาลักษณะและสมบัติของรูปทรงต่างๆ สมบัติความเท่ากันทุกประการของสามเหลี่ยม สามเหลี่ยมคล้าย สมบัติของเส้นขนาน การแปลงทางเรขาคณิตในเรื่อง การเลื่อนขนาน การสะท้อน การหมุน การนำไปใช้สาระที่ 5: สถิติ และความน่าจะเป็น
ครอบคลุมเนื้อหาค่ากลางของข้อมูลและการนำไปใช้ การเก็บรวบรวมข้อมูล การใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
หากคุณยังมีคำถามหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่