ก้าวย่างของดิจิไทย

โครงการ Digitized Thailand ประกอบด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนาระยะยาวอย่างมีเป้าหมาย โดยใน แต่ละระยะจำเป็นต้องมีการทดสอบและประเมินผล เพื่อการดำเนินการในระยะต่อๆ ไป

การวิจัยและพัฒนาตลอดโครงการ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

  1. การรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องให้เป็นระบบเพื่อให้พร้อมนำไปใช้งานต่อได้ (Accumulating)

  2. การสร้างองค์ความรู้จากข้อมูลที่รวบรวม (Knowledging)

  3. การดำเนินการเพื่อให้เกิดความสามารถในการใช้องค์ความรู้ที่ได้ เพื่อทำความเข้าใจ ปรากฏการณ์ หรือเหตุการณ์ใหม่ (Understanding) และ

  4. การดำเนินการเพื่อให้ระบบสามารถแก้ไขปัญหาหรือตัดสินใจได้ (Problem solving)

การดำเนินการระยะที่ 1 จะเป็นการรวบรวม และจัดสร้าง ข้อมูลสำคัญๆ ของประเทศไทยใน รูปแบบดิจิทัล โดยมีการจัดเก็บ และจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้งานอย่างถูกต้องและเหมาะสม จนก่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง ทั้งนี้ เพื่อให้ข้อมูลสำคัญเหล่านี้ ได้สืบทอดไปจนถึงลูกหลาน เพื่อใช้ศึกษา เรียนรู้ และสืบสานต่อไปในอนาคต

เป้าหมายของแผนในระยะที่ 1 นี้ คือ ผลของการบูรณาการเทคโนโลยีและภาคส่วน เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญของชาติจำนวนมหาศาลและเครื่องมือที่ใช้ สร้าง จัดเก็บ สืบค้น และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินการระยะที่ 1 เพื่อการการรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือ (Accumulating) ประกอบด้วย

  1. การพัฒนาข้อมูลดิจิทัล (Digital Content development)

  2. การพัฒนาข้อมูลดิจิทัล หมายถึง การให้ได้มาซึ่งข้อมูลดิจิทัล ซึ่งหมายรวมถึง ข้อมูลที่มีอยู่ หรือเผยแพร่อยู่แล้วซึ่งอาจจะเป็นดิจิทัล (Digital format) อยู่แล้ว หรือยังอยู่ในสื่ออื่น และ ข้อมูลที่ต้องสร้างขึ้นใหม่

  3. โครงการ Digitized Thailand จะรวบรวม จัดเก็บและพัฒนาเรื่องราวความเป็นชาติไทย ทั้ง ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาและชาติพันธุ์ ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา ข่าวสารต่างๆ เป็นต้น ให้อยู่ในรูปของดิจิทัล (Digital format) เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดข้อมูลประเทศไทยให้คงอยู่ต่อไป ต่อยอดทางการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และ บริการทางสารสนเทศและเทคโนโลยี

สื่ระยะสู่สังคมอุดมปัญญา

โครงการดิจิไทย (Digitized Thailand) ทำอะไร

  1. จัดเก็บ รวบรวม และสร้างข้อมูลดิจิทัลของชาติอย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน เพื่อการค้นคืนและนำไปใช้ต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  2. วิจัยและพัฒนาต่อยอดเพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการจัดเก็บ ค้นคืน และบริการ

  3. กำหนดมาตรฐานสำหรับการจัดเก็บและโอนย้ายข้อมูล

  4. วางแนวทางการส่งเสริมและต่อยอดผลงานภายใต้โครงการ ตลอดจนการให้บริการทั้งเชิงวิชาการ วิจัย เชิงพาณิชย์ และเพื่อสาธารณประโยชน์

องค์ประกอบการดำเนินงาน

  1. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือเพื่อการจัดการข้อมูล (R&D on related technologies)

  2. โครงการจะจัดเตรียมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลโดยต่อยอดจากผลงานวิจัย และพัฒนาที่มีอยู่แล้วหรือวิจัยและพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อให้สามารถบริหารจัดการข้อมูลที่มีอยู่หรือกำลังจะ

  3. พัฒนาขึ้นใหม่ ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งประกอบด้วย

    • การสร้างข้อมูล (Create): ได้แก่ เทคโนโลยีสำหรับการสร้างข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลขึ้น มาใหม่จากเดิมที่ไม่เคยมีมาก่อน (Digital Content Creation) และเทคโนโลยีเพื่อการแปลงข้อมูล ที่มีอยู่แล้ว แต่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ให้เป็นดิจิทัล (Digitization)

    • การเก็บสะสมและรวบรวมข้อมูล (Accumulate):รวมถึงเทคโนโลยีเพื่อการเก็บสะสมและ รวบรวมข้อมูลดิจิทัลให้มารวมอยู่ในคลังข้อมูลที่จัดเตรียมไว้ ตลอดจนเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบและพัฒนาระบบและอุปกรณ์สำหรับจัดการคลังและจัดเก็บข้อมูล (Archival and Data Storage)

    • การเข้าถึงข้อมูล (Access): ได้แก่ เทคโนโลยีเพื่อการจัดระเบียบและทำสารบัญข้อมูล (Organization) การจัดจำแนกแบ่งกลุ่ม ประเภทข้อมูล (Classification) และการสร้างฐานดัชนี (Indexing) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง และสืบค้นข้อมูล (Retrieval) ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

    • การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyze): ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์ (Analysis) และสกัดองค์ความรู้ จากข้อมูล (Mining) เพื่อนำไปใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support) และช่วยแก้ปัญหา ต่างๆ (Problem Solving)

    • การประยุกต์ใช้ข้อมูล (Apply): ซึ่งจะเน้นการวิจัยหาเทคนิค รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับข้อมูล (Application Tools) เพื่อให้เกิดการใช้งานข้อมูลให้เป็นประโยชน์ สูงสุด (Utilization)

    • การแบ่งปันข้อมูล (Share): ได้แก่ การวิจัยหาเทคนิคที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การพัฒนา เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการแบ่งปันกันใช้ข้อมูลดิจิทัล (Digital Contents) รวมถึงโปรแกรม (Programs) และไลบราลีของซอฟต์แวร์ (Software Libraries)

  4. การกำหนดมาตรฐานเพื่อการจัดการข้อมูล (Standardization)

  5. โครงการจะดำเนินการจัดวางมาตรฐานที่ใช้การในการจัดการข้อมูลซึ่งประกอบด้วย

    • มาตรฐานการจัดระเบียบข้อมูล

    • มาตรฐานในการพัฒนาองค์ความรู้และบูรณาการ

    • มาตรฐานในการสืบค้น

    • มาตรฐานอื่นๆ เช่นมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มาตรฐานในการจัดการลิขสิทธิ์

  6. การประยุกต์ใช้และการบริการ (Apply & services)

  7. ได้แก่ การนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ของข้อมูลดิจิทัล รวมไปถึง การตลาด กฎหมาย ความปลอดภัยของการใช้และเผยแพร่ เป็นต้น

Digitized Thailand Technology Tree

(ต้นไม้แห่งเทคโนโลยีเพื่อการสร้างโลกดิจิทัล)

  1. การบริหารจัดการสิทธิประโยชน์ของข้อมูลดิจิทัล (Digital Right Management)

  2. เป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลและสาระดิจิทัลที่ได้จากกลุ่มพัฒนาสาระดิจิทัล รวมทั้งเครื่องมือต่างๆ ที่ได้จากกลุ่มวิจัยและพัฒนาฯ โดยพัฒนาเป็นระบบต่างๆที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ ทั้งนี้ การประยุกต์ใช้งาน และให้บริการแก่ผู้ใช้จะทำให้ส่งผลกระทบทางด้านต่างๆ ได้แก่เชิงพาณิชย์ สังคมและการศึกษา

  3. โครงการ Digitized Thailand จะสร้างต้นไม้แห่งเทคโนโลยีนี้ เพื่อให้ได้ประเทศไทยบนโลกดิจิทัลที่วาดหวังไว้