กรณีศึกษาของ Digitized Thailand

กรณีศึกษางานดิจิทัลอาร์ไคว์ในเนคเทค

งานแปลงข้อมูลใดๆ ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล นอกจากจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์เนื้อหาของข้อมูลในระยะยาวด้วย (ต้องมีแผนการเลือกและเปลี่ยนสื่อในการจัดเก็บข้อมูลเป็นระยะๆ) ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้สร้างโครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือเพื่องานดิจิทัลอาร์ไคว์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์เครื่องมือเพื่อการสร้างดิจิทัลอาร์ไคว์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือในการแปลงข้อมูลเป็นรูปแบบดิจิทัล (Digitization) ซอฟต์แวร์เครื่องมือในการจัดเก็บและบริหารฐานข้อมูล และซอฟต์แวร์อินเตอร์เฟสเพื่อการนำเสนอข้อมูลเสมือนจริง (Visualization) ขอนำเสนอตัวอย่างงานสร้าง จัดเก็บ บริหารและนำเสนอข้อมูลดิจิทัล 3 ชิ้นงานที่ทางหน่วยปฏิบัติการฯ ได้ดำเนินการแล้ว ดังนี้

  1. พิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สภากาชาดไทย

  2. การประยุกต์ใช้เทคนิคการสร้างภาพพาโนรามารายละเอียดสูงกับงานอนุรักษ์เชิงดิจิทัล

  3. การพัฒนาระบบคลังภาพสำหรับหอภาพดิจิทัลของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


กรณีศึกษางานดิจิทัลอาร์ไคว์ที่เนคเทคให้การสนับสนุน

  1. การรวบรวมและสืบค้นข้อมูลสมุนไพรหลากหลายชุมชน (KuiHerb)

  2. โครงการจัดตั้งศูนย์กลางข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของล้านนาในแบบสื่ออิเล็คทรอนิกส์ (Digitized Lanna)