บทสรุปและข้อเสนอแนะ

กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่า (1) กฎหมายลิขสิทธิ์ (2) สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (license agreements) และ (3) DRM ต่างก็เป็นเครื่องมือที่สำคัญ ที่ถูกออกแบบมา ไม่ว่าจะโดยรัฐบาล, โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือเจ้าของเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปกป้องคุ้มครอง content ให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลลิขสิทธิ์ หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ให้เผยแพร่ข้อมูลนั้น อาจนำเครื่องมือทั้งสามประเภทมาใช้ควบคู่กับการเผยแพร่ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นทาง off-line หรือ on-line

ทั้งนี้ อาจต้องเริ่มจากการแบ่งประเภทของข้อมูลออกเป็นกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มข้อมูลที่ไม่มีลิขสิทธิ์ (public domain works), กลุ่มข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ (copyrighted works), กลุ่มข้อมูลหายาก (rare materials) เป็นต้น และหลังจากนั้นจึงมากำหนดเงื้อนไขการใช้ข้อมูลในแต่ละประเภท รวมทั้งเงื่อนไขในการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งสามารถกำหนดไว้ใน license agreement ได้ นอกจากนี้ อาจใช้ DRM technology มาช่วยในการบริหารจัดการและติดตามหรือเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการใช้ digital content ควบคู่กันไป

ในกรณีที่ผู้เผยแพร่ หรือผู้บริหารจัดการข้อมูล มิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ในข้อมูลนั้นๆ ผู้เผยแพร่ต้องแน่ใจว่าตนได้ทำความตกลงกับเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ต้องอนุญาตให้ตนนำ content นั้นมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย