สังขารนิมิตร

วันที่โพสต์: 14 พ.ค. 2014, 12:50:55

kim

ในพระไตรปิฎก ปฏิสัมภิทามรรค แสดงถึง สังขารนิมิต นิมิตของสภาพธรรมไว้ น่าพิจารณาว่า พระโยคาวจร คือ ผู้ที่อบรมปัญญา พิจารณาเห็นสังขารนิมิต ว่ามีภัย คือ สภาพธรรมในขณะนี้ ที่เกิดขึ้น และ ดับไป มีภัย เป็นต้น ส่วน พระ นิพพาน ชื่อว่า สภาพธรรมที่ไม่มีนิมิต คือไม่มีลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้และ ดับไป ดังนั้น นิมิตอีกนัยหนึ่ง ย่อมหมายถึง สภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นนิมิตให้รู้ มี ลักษณะให้รู้ หากไม่มีนิมิต ไม่มีลักษณะให้รู้ ปัญญาที่เป็นการเจริญสติปัฏฐาน วิปัสสนาญาณ ก็ไม่สามารถรู้ได้ เพราะ ไม่มีนิมิต ลักษณะให้รู้ แต่ เมื่อรู้โดยความ เป็นนิมิตของสภาพธรรม ย่อมเห็นว่าเกิดขึ้น และ ดับไป นิมิตนั้น หาสาระไม่ได้เลย จึงเจริญอบรมปัญญา ออกจากนิมิต คือ ประจักษ์พระนิพพาน ออกจากนิมิตที่เป็น สังขารนิมิต ที่เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป

คำว่า สังขารนิมิต มีความหมายหลายนัย คือ โดยนัยที่เป็นสภาพที่เป็นสังขาร ธรรมกับวิสังขารธรรม พระนิพพานเป็นวิสังขารธรรม ออกจากสังขารธรรม หรือออก จากสังขารนิมิต ผู้ที่เจริญวิปัสสนาจนปัญญาแก่กล้า มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ (โคตรภูญาณ)ขณะนั้นออกจากสังขารนิมิต อีกอย่างหนึ่ง ในชีวิตประจำวันของเราเรา อยู่กับสังขารธรรมที่เรียกว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ที่เกิดดับ แต่เราไม่ประจักษ์แจ้งความ เกิดดับของสังขารธรรมเหมือนกับว่าต่อเนื่องกันตลอด เป็นสังขารนิมิต คือ นิมิต ของสังขาร ไม่ใช่ลักษณะของสังขารจริงๆ บางนัยท่านกล่าวถึงนิมิตของขันธ์ทั้งห้า คือ รูปนิมิต เวทนานิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต วิญญาณนิมิต ซึ่งหมายถึง ขันธ์ห้า

博愛