วันสงกรานต์กับพุทธศาสนา

วันที่โพสต์: 12 เม.ย. 2014, 6:24:41

ตามประเพณีสงกรานต์ปัจจุบันอย่างหนึ่งคือการเล่นน้ำและการใช้น้ำเป็นเครื่อง ประกอบในประเพณีสงกรานต์ เช่น การรดน้ำผู้ใหญ่และการสรงน้ำพระ เป็นต้น ในสมัยพุทธกาลได้มีประเพณีซึ่งเป็นการละเล่นที่เป็นงานมหรสพของผู้คนในสมัย นั้นโดยการใช้น้ำเช่นกัน ซึ่งย่อมเป็นไปได้ที่จะสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันในงานประเพณี สงกรานต์ในปัจจุบัน เพราะทำประจำในเดือน 4 เช่นกันดังข้อความในพระไตรปิฎกที่ว่า พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม 2 ภาค 3 ตอน 3 - หน้าที่ 31 ก็สมัยนั้น มหาชนพากันเล่นมหรสพในอุตตรผัคคุณีนักขัตฤกษ์ปลายเดือน ๔ ทุก ๆ ปี กระทำพิธีสรงน้ำที่ท่าใกล้แม่น้ำคยา, ด้วยเหตุนั้นชนทั้งหลายพากันเรียกมหรสพนั้นว่า คยาผัคคุณี ดังนี้ ในการละเล่นที่ใช้น้ำในสมัยพุทธกาลที่เรียกว่า คยาผัคคุณี มีการใช้น้ำเป็นหลักด้วย ความเชื่อของบุคคลสมัยนั้นว่า น้ำคือสิ่งที่ชำระล้างบาป อกุศลธรรมที่ได้ทำไว้ได้ แต่ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมให้มหาชนมีความเข้าใจถูกว่าน้ำไม่สามารถชำระล้าง

กิเลสได้ แต่ปัญญา กุศลธรรมประการต่าง ๆ เท่านั้นที่จะชำระล้างกิเลสที่สะสมมาจนหมดสิ้นได้ ดังข้อความพระไตรปิฎกที่ว่า ประเพณีในปัจจุบันมีการสรงน้ำพระภิกษุสงฆ์โดยฆราวาส ซึ่งไม่ใช่กิจของฆราวาสและ พระภิกษุท่านก็ไม่ได้ป่วยจึงไม่ใช่กิจที่คฤหัสถ์ทั้งหลายจะสรงน้ำพระ การแสดงออกถึง การเคารพ สักการะในพระภิกษุสงฆ์คือการน้อมถวายปัจจัย 4 อันสมควรเหมาะสมกับพระ ภิกษุและการทำความเคารพยำเกรงในพระภิกษุสงฆ์ การสรงน้ำพระภิกษุ จึงไม่ใช่การ แสดงออกถึงการเคารพในพระภิกษุสงฆ์ที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ซึ่งในสมัยพุทธกาล พระภิกษุทั้งหลายจะสรงน้ำด้วยตนเอง หากพระรูปใดป่วยก็เป็นพระภิกษุช่วยสรงน้ำให้ กัน ดังที่พระพุทธเจ้าช่วยอาบน้ำให้พระภิกษุผู้อาพาธ

ไม่มีอะไรสูงส่งไปกว่าการลงมือริเริ่มเพื่อการเผยแผ่ธรรมไพศาล

ไม่มีอะไรที่เข้มแข็งไปกว่าการอุทิศตนอย่างกระตือรือร้น

ไม่มีอะไรลึกซึ้งไปกว่าความอุตสาหะพากเพียร

ความตั้งใจดังกล่าวนี้จะเปิดหนทางไปข้างหน้าได้อย่างแน่นอน....Sgi International Association

ถ้ามีคลังที่เต็มไปด้วยทรัพย์สมบัติ แต่ไม่มีกุญแจ แล้วก็ไม่อาจเปิดได้ และถ้าเปิดไม่ได้แล้ว ทรัพย์สมบัติภายในก็ไม่อาจมองเห็นได้....ธรรมนิพนธ์ของพระนิชิเร็นไดโชนินฉบับภาษาอังกฤษ