เรื่องราวของนางสุชาดา

วันที่โพสต์: 3 เม.ย. 2014, 14:33:17

ถาม.........ในพุทธประวัติมีกล่าวว่าเช้าวันตรัสรู้พระมหาบุรุษทรงรับข้าวมธุปายาสจากนาง{สุชาดา} ธิดาของนายบ้านเสนานิคมซึ่งนางบนเทวดาไว้ว่าถ้าได้ลูกคนโตเป็นชายก็จะถวายเครื่องสักการะแก่เทวดาเมื่อนางได้ลูกชายสมปรารถนาจึงปรุงข้าว{มธุปายาส}ถวายเทวดาเป็นการแก้บนโดยเข้าใจว่าพระมหาบุรุษเป็นเทวดาอรรถกถาเล่าไว้ว่า(นางสุชาดา)ผู้นี้คือมารดาของยสกุลบุตรที่บ่นว่าที่นี่วุ่นวายหนอที่นี่ขัดข้องหนอ แล้วออกจากบ้านมาพบพระพุทธองค์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันในช่วงเวลาที่เสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์หลังจากตรัสรู้แล้วได้ 2 เดือนนั่นเองข้อสงสัยมีดังนี้.....

1. ถ้านางสุชาดาผู้นี้เป็นมารดาของยสกุลบุตร ยสกุลบุตรก็ควรจะเป็นลูกชายคนโตที่ได้สมปรารถนาจากการบนเทวดา ก็ตอนนั้นยสกุลบุตรเติบโตจนมีภรรยาแล้วประมาณว่าน่าจะมีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปี เพราะเมื่อฟังธรรมของพระพุทธองค์แล้วก็บวชเป็นภิกษุได้แล้วไฉนนางสุชาดาจึงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 20 ปีเพิ่งจะมาแก้บนเอาในตอนนี้ดูผิดวิสัยของการแก้บนที่น่าจะรีบทำทันทีที่สมปรารถนา

2. นางสุชาดาผู้นี้ถ้าเป็นมารดาของยสกุลบุตรก็ควรจะอยู่ที่เมืองพาราณสีแต่ทำไมจึงมาแก้บนที่ อุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งอยู่ไกลกันประมาณถึง 200 กิโลเมตรจำตัวเลขที่แน่นอนไม่ได้ ถ้าผิดพลาดขออภัยแล้วอีก 2 เดือนต่อมาก็กลับไปเป็นมารดาของยสกุลบุตรที่เมืองพาราณสีอีกพูดให้เห็นภาพชัด ๆ ก็คือวันตรัสรู้เจอนางสุชาดาที่พุทธคยาอีก 2 เดือนต่อมาก็ไปเจอนางสุชาดาที่เมืองพาราณสีอีกฟังดูอย่างไร ๆ อยู่

3.บ้านนางสุชาดาที่อุรุเวลาเสนานิคมกับต้นโพธ์ที่ประทับตรัสรู้อยู่คนละฝั่งแม่น้ำในพุทธประวัติเล่าว่าพระมหาบุรุษประทับพักผ่อนอยู่ในราวไพรฝั่งบ้านนางสุชาดาตลอดเวลากลางวันตกตอนเย็นก็เสด็จไปสู่ควงไม้มหาโพธ์ไม่ได้เอ่ยถึงเลยว่าต้องทรงข้ามแม่น้ำเนรัญชราฟังดูราวกับว่าอยู่ฝั่งเดียวกันจึงเสด็จไปได้ง่าย ๆ ขอความเมตตาจากท่านผู้รู้อธิบายเหตุผลในประเด็นทั้ง 3 นี้เป็นวิทยาทานเพื่อทรงจำไว้เป็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป

ตอบ............เรียนอย่างนี้ตามประวัติตามความเป็นจริงแล้วนางสุชาดา ก็เป็นมารดาของท่านพระยสกุลบุตรซึ่งประวัติก็คือตามที่พอทราบกัน คือ นางสุชาดาเป็นผู้ที่ถวายข้าวมธุปายาสกับพระโพธิสัตว์ก่อนที่พระองค์ทรงตรัสรู้เพราะเคยอธิษฐานไว้กับต้นไทรที่ตำบลอุรุเวลาเสนนานิคมที่พุทธคยาไว้ว่าหากท่านได้ครองเรือนกับคนที่มีสกุลเสมอกันและได้บุตรชายท้องแรกท่านจะทำพลีกรรมก็กับต้นไทรทุก ๆ ปีซึ่งเมื่อท่านได้ลูกชายท่านก็ทำพลีกรรมในวันเพ็ญเดือน 6 และท่านก็ถวายข้าวมธุปายาสกับพระโพธิสัตว์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วพระองค์ก็เสด็จไปเมืองพาราณสีหลังจากตรัสรู้แล้วสองเดือนทรงแสดงปฐมเทศนาและแสดงธรรมกับพระปัญจวัคคีย์เป็นพระอรหันต์และศากยสกุลบุตรผู้ที่กล่าวว่าวุ่นวายหนอก็มาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันที่เมืองพาราณสีพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมบรรลุเป็นพระอรหันต์ส่วนบิดา บรรลุเป็นพระโสดาบันเพราะไปตามหาท่านพระยสไม่เจอแต่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันบิดาก็เลยนิมนต์พระพุทธเจ้าไปเสวยที่เรือนพอพระพุทธเจ้าเสวยเสร็จก็แสดงธรรม มารดาพระยสะและภรรยาเก่าของท่านพระยสะก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันซึ่งนางสุชาดาที่เป็นมารดาท่านพระยสะนาง

สุชาดา ท่านเป็นพระโสดาบัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า{นางสุชาดา}เป็นอุบาสิกาผู้เลิศในการถึงสรณะเป็นผู้อุบาสิกาที่ถึงสรณะก่อนใครนี่คือประวัติพอสังเขปเพื่อผู้อ่านผู้อื่นจะได้ เข้าใจประเด็นที่ถามต่อไป และจากที่เรียนถามว่า 1.ถ้านางสุชาดาผู้นี้เป็นมารดาของยสกุลบุตร ยสกุลบุตรก็ควรจะเป็นลูกชายคนโตที่ได้สมปรารถนาจากการบนเทวดาก็ตอนนั้นยสกุลบุตรเติบโตจนมีภรรยาแล้วประมาณว่าน่าจะมีอายุไม่น้อยกว่า 20 ปี เพราะเมื่อฟังธรรมของพระพุทธองค์แล้วก็บวชเป็นภิกษุได้แล้วไฉนนางสุชาดาจึงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึง 20 ปีเพิ่งจะมา แก้บนเอาในตอนนี้ ดูผิดวิสัยของการแก้บนที่น่าจะรีบทำทันทีที่สมปรารถนาจากข้อความในอรรถกถาในพระไตรปิฎกหลายแห่งแสดงไว้ว่าจะทำพลีกรรมกับต้นไทรทุก ๆ ปีดังนั้นเมื่อท่านได้บุตรชายก็ไม่ได้หมายความว่าท่านจะทำแค่ครั้งนี้ครั้งแรกคือครั้งที่จะถวายกับพระโพธิสัตว์แต่ท่านก็ทำมาก่อนหน้านั้นเป็นประจำ ทุก ๆ ปีอยู่แล้วและมาถึงปีนี้ท่านก็ทำอีกทำในวันเพ็นเดือน 6 ดังนั้นไม่ใช่เพิ่งจะมาแก้บนทำเป็นประจำทุกปีอยู่แล้วตามข้อความในพระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายอปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๓๗ ก็สมัยนั้นแลทาริกาชื่อว่า สุชาดา ผู้เกิด

ในเรือนของเสนานิกุฎุมพีในตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเจริญวัยแล้วได้การทำความปรารถนาที่ต้นไทรต้นหนึ่งว่าถ้าข้าพเจ้าไปยังเรือนสกุลที่มีชาติเสมอกันได้บุตรชายในครรภ์แรกไซร้ข้าพเจ้าจักทำพลีกรรมโดยบริจาคทรัพย์แสนหนึ่งแก่ท่านทุกปี ๆ และที่เรียนถามว่า 2. นางสุชาดาผู้นี้ถ้าเป็นมารดาของยสกุลบุตรก็ควรจะอยู่ที่เมืองพาราณสีแต่ทำไมจึงมาแก้บนที่อุรุเวลาเสนานิคมซึ่งอยู่ไกลกันประมาณถึง 200 กิโลเมตร(จำตัวเลขที่แน่นอนไม่ได้ถ้าผิดพลาดขออภัย)แล้วอีก 2 เดือนต่อมาก็กลับไปเป็นมารดาของยสกุลบุตรที่เมืองพาราณสีอีกพูดให้เห็นภาพชัด ๆ ก็คือ วันตรัสรู้เจอนางสุชาดาที่พุทธคยาอีก 2 เดือนต่อมาก็ไปเจอนางสุชาดาที่เมืองพาราณสีอีกฟังดูอย่างไร ๆ อยู่ที่ท่านต้องมาแก้บนทำพลีกรรมที่อุรุเวลาเสนานิคมที่พุทธคยาเพราะเหตุผลว่านางสุชาดาเกิดที่พุทธคยาอุรุเวลาเสนานิคม(ข้อความในพระไตรปิฎกแสดงไว้)ท่านโตขึ้นตั้งความปรารถนากับต้นไทรถามว่าต้นไทรไหนก็ต้องเป็นต้นไทรที่บ้านเกิดท่านเพราะตอนนั้นท่านยังไม่ได้แต่งงานท่านก็โตเป็นสาวทำความปรารถนากับต้นไทรว่าถ้าข้าพเจ้าได้ไปยังเรือนสกุลที่มีชาติเสมอกันได้บุตรชายในครรภ์แรกไซร้ข้าพเจ้าจักทำพลีกรรมโดยบริจาคทรัพย์แสนหนึ่งแก่

ท่านทุกปี ๆ พอเมื่อท่านแต่งงานท่านก็ต้องไปอยุ่บ้านสามีที่พาราณสีเพราะโดยทำเนียมทั่วไปก็ไปอยู่ที่บ้านสามีดังเช่น บุตรสาวของท่าน(อนาถบิณฑิกเศรษฐี)เมื่อแต่งงานก็ไปอยู่บ้านสามี ดังนั้นเมื่อท่านทำพลีกรรมที่ต้นไทรที่บ้านเกิดของท่าน คือ บ้านเกิดของนางสุชาดาที่พุทธคยาคือ อุรุเวลาเสนานิคม ท่านก็ต้องมาทำพลีกรรมที่ต้นไทรนั้นก็ต้องกลับมาที่บ้านเกิดที่พุทธคยามาพลีกรรมที่ต้นไทรนี้ทุก ๆ ปีและเมื่อท่านทำพลีกรรมเสร็จท่านก็เดินทางกลับบ้านสามีที่พาราณสี ซึ่งท่านพระยสะก็อยู่ที่พาราณสีอยู่แล้วซึ่งเมื่อท่านถวายอาหารกับพระโพธิสัตว์ที่พุทธคยาแล้วท่านก็เดินทางกลับไปบ้านสามีที่พาราณสีซึ่งกว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเมืองพาราณสี เป็นเวลา 2 เดือนคือ{วันวิสาข}ไปวันอาสาฬหบูชาดังนั้นระยะเวลา 2 เดือนจึงเพียงพอสำหรับการเดินทางของนางสุชาดาจากพุทธคยาไป พาราณสีเป็นระยะทาง 250 กิโลเมตรซึ่งคงไม่ใช่เวลา 2 เดือนหรอกไม่นานมากก็ถึงดังนั้นนางสุชาดาจึงกลับไปถึงพาราณสีแล้ว ก่อนพระพุทธเจ้าเพราะพระองค์กว่าจะไปก็ 2 เดือนดังนั้นนางสุชาดาจึงได้มีโอกาสพบพระพุทธเจ้าและได้ฟังพระธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันดังข้อความพระไตรปิฎกที่กล่าวว่านางสุชาดาท่านเกิดที่อุรุเวา

เสนานิคมทีพุทธคยาต้นไทรที่อธิษฐานไว้จึงอยู่ที่พุทธคยาท่านจึงกลับไปพลีกรรมที่พุทธคยาก็สมัยนั้นแลทาริกาชื่อว่า สุชาดาผู้เกิดในเรือนของ{เสนานิกุฎุมพี}ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเจริญวัยแล้วได้การทำความปรารถนาที่ต้นไทรต้นหนึ่งว่าถ้าข้าพเจ้าไปยังเรือนสกุลที่มีชาติเสมอกันได้บุตรชายใน ครรภ์แรกไซร้ข้าพเจ้าจักทำพลีกรรมโดยบริจาคทรัพย์แสนหนึ่งแก่ท่านทุกปี และที่เรียนถามว่า 3.บ้านนางสุชาดาที่อุรุเวลาเสนานิคม กับต้นโพธ์ที่ประทับตรัสรู้ อยู่คนละฝั่งแม่น้ำในพุทธประวัติเล่าว่าพระมหาบุรุษประทับพักผ่อนอยู่ในราวไพรฝั่งบ้านนางสุชาดาตลอดเวลากลางวันตกตอนเย็นก็เสด็จไปสู่ควงไม้มหาโพธ์ไม่ได้เอ่ยถึงเลยว่าต้องทรงข้ามแม่น้ำเนรัญชราฟังดูราวกับว่าอยู่ฝั่งเดียวกันจึงเสด็จไปได้ ง่าย ๆ เรียนตอบอย่างนี้แม้จะไม่กล่าวว่า

ข้ามแม่น้ำเนรัญชราแต่ก็ต้องข้ามเพราะอยู่กันคนละฝั่งแต่ท่านก็กล่าวรวบรัดในเหตุการณ์การณ์คำถามก็มีว่าเหมือนจะข้ามง่ายข้ามแม่น้ำเนรัญชราไม่ยากหรอกผู้ที่ไปแสวงบุญที่พุทธคยาโดยเฉพาะช่วงก่อนที่มีสะพานข้ามจากฝั่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปบ้าน(นางสุชาดา)สหายธรรมทั้งหลายก็เล่าให้ฟังว่าก็เดินข้ามแม่น้ำไปเลยเพราะน้ำแห้งซึ่งตอนวันเพ็ญเเดือน 6 ก็คือเดือนพฤษภายังเป็นหน้าร้อนของอินเดียเป็นช่วงที่ร้อนเกือบที่สุดไม่ใช่หน้าฝน น้ำจึงแห้งจึงข้ามได้สบาย ๆ ช่างหน้าฝนจะเป็นกรกฎา - ต้นเดือนตุลาคมช่วงเดือนตุลาบ้างมีน้ำแห้งบ้างก็เห็นแม่น้ำแห้งเลยดังนั้นข้ามได้สบาย ๆ และสมมุติต่อให้น้ำจะท่วมเท่าไหร่ก็ด้วยบุญของพระองค์ข้ามไม่ยากหรอกดังนั้นเมื่อกล่าวถึงจากบ้านนางสุชาดาไป {ต้นพระศรีมหาโพธิ์} จึงต้องข้ามแม่น้ำ (เนรัญชรา) ข้ามไม่ยาก

ข้อมูลนี้มาจากมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาบ้านธัมมะ 136 หมู่ 5 ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554