มิตร ชัยบัญชา

วันที่โพสต์: 6 เม.ย. 2014, 13:45:14

มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตขณะถ่ายทำภาพยนต์เรื่องอินทรีย์ทองที่หาดมะนาว ชลบุรี วันที่ 8 ตุลาคม ปี พุทธศักราช 2513 ตรงกับวันเสาร์ ซึ่งขณะนั้นหนังสือพิมพ์ได้ลงข่าว มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิต ตอนนั้นข้าพเจ้า(บางครั้ง)กำลังขายของอยู่ที่ท้องสนามหลวงจึงรีบซื้อหนังสือพิมพ์มาดูปรากฏว่าเป็นเรื่องจริง ข้าพเจ้าตกใจมากเพราะหน้าของ มิตร บวม แสดงถึงการถูกกระแทกอย่างแรงจนเสียชีวิต ตัวข้าพเจ้า(บางครั้ง)ดูหนังที่ มิตร แสดงเกือบทุกเรื่องโดยเฉพาะ มนต์รักลูกทุ่ง ซึ่งมิตร นำแสดงกับ เพรชรา เชาวราช บางครั้งดูไป 7 รอบ ชอบ เพลง ของไพรวัลย์ ลูกเพรช สมัยโน้นฉายที่ โรงภาพยนต์ โคลีเซี่ยมยมราช โกยรายได้ 10 ล้านกว่าบาท ถ้าเทียบกับเงินในสมัยนับเป็น 100 ล้านเลยก็ว่าได้ เข้าเรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง เป็นเพลงที่ไพเรามากจับใจ ไพลวัลย์ ลูกเพรช ร้องนี่เหมาะสมที่สุด มิตร ชัยบัญชา ตายไปเกือบ 40 ปีแล้ว สุรพลสมบัติ เจริญ ตายก่อน (ปี 2511) หลังจากนั้น 2 ปี มิตร ชัยบัญชาก็มาจากไปอีกคนหนึ่ง ในยุคนั้น เป็นยุคของ มิตร - เพรชรา จริง ๆ ถ้าได้แสดงประกบกันเมื่อไรรับรองคนล้นโรง(หนัง)โรงหนังสมัยนั้น

ไม่เหมือนสมัยปัจจุบันนี้ โรงหนังกระจายอยู่ย่าต่าง ๆ เช่น แถวเยาวราช ก็มีหลายโรง คือ โอเดียน เวิ้งนครเขษม เป็นต้น ส่วนย่าน วังบรูพา ก็มีแน่ ๆ คือ เฉลิมกรุง(ยังอยู่) แกรนด์ - คิงส์ ควีนส์ ย่านถนนเพรชบุรี ก็มี ฮอลลีวู๊ด พาราเมาท์ เพรชราม่า โรงหนังเมโทร ปากคลองตลาดก็มี โรงหนัง เอ็มไพร ส่วน โคลีเซี่ยม ปัจจุบันถูกรื้อถอนไปนานแล้ว และก็มี เฉลิมเขตต์ (อยู่ใกล้ ๆ ร.พ หัวเฉียวในปัจจุบัน) เฮ้อ......บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงตามสังสารวัฏร จะเขียนต่อดีมั๊ยหว่า ? วันเวลาผ่านไปเร็วจริง ๆ มิตร ชัยบัญชา ตายไปเกือบ 40 ปีแล้ว ตอนนั้นเรายังเรียนอยู่ ป. 5 เลย วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2513 มิตร ชัยบัญชา ตายตอนนั้นยังไม่ถึง 13.00 น.เลย แต่ข่าวประโคมเร็วมาก ศพ มิตร ชัยบัญชา มาถึงวัด แค(นางเลิ้ง)ตอนนั้นประชาชนยังไม่เชื่อว่า มิตร ได้ตายแล้วเรา(บางครั้ง)รีบไปซื้อหนังสือพิมพ์มาอ่าน สมัยนั้นหนังสือพิมพ์ออกรอบเดียวต่อวันคือรอบเช้าแต่วันนั้นหนังสือพิพม์ออกเป็นกรณีพิเศษ เสนอข่าว มิตร โดยเฉพาะ พอตกตอนเย็น

ทีวีทุกช่องก็ออกข่าวพร้อมกัน ที่วัดแคนางเลิ้ง ประชาชนแห่กันไปจนวัดแทบแตก เจ้าหน้าที่ต้อง

ยกศพ มิตร ให้ประชาชนดู ประชาชนจึงเชื่อว่า มิตร ชัยบัญชา ได้จากโลกนี้ไปแล้วจริง ๆ มิตร ชัยบัญชา ชื่อจริงว่า พันจ่าอากาศโท พิเชษฐ์ พุมเหม เกิดราวปีพุทธศักราช 2475 ย้อนมากล่าวถึง หนังเรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง หลังจาก มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตผ่านไปแล้ว 30 ปี ได้มีการนำภาพยนต์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง กลับมาฉายเพื่อ รำลึกถึง มิตร ชัยบัญชา ผู้จากไปฉายที่โรงภาพยนต์ แอมปาสเดอร์ เชิงสะพานขาว จำหน่ายบัตร ราคา 100 บาท ตอนนั้นข้าพเจ้า(บางครั้ง)ก็ไปดูด้วยแต่น่าเสียดายฟิล์มต้นฉบับเสียมากเลยฉายไม่ได้และมีการสร้างหุ่น มิตร ชัยบัญชา ขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ เฮ้อ. ! ตอนนี้(บางครั้ง)เหลือ วีดีโอเทป ของมิตร ชัยบัญชา อยู่เรื่องเดียว คือเรื่อง อัศวินดาบกายสิทธิ์ ซึ่งมี 2 เวอร์ชั่น เอวอร์ชั่นแรก แสดงกับ เพรชรา เวอร์ชั่นที่ 2 แสดงกับดาราฮ่องกง DVD ก็มีขายแต่ไม่ได้ซื้อเก็บไว้ พูดถึงเรื่อง DVD แล้วซื้อตุนไว้เป็นกะตักเลยไม่ได้ดูเพราะมัวแต่มาเล่นเว็บ ป่านนี้เครื่องเล่น ดีวีดี เป็นสนิมไปแล้วมั๊ง ? การได้เขียนถึงความหลังก็ดีเหมือนกันเนอะ.เมื่อวานก็ไปซื้อ DVD มาอีก 5 - 6 เรื่อง ไม่รู้จะซื้อมาตุนไว้ทำมัย ? ดูก็ไม่ได้ดูส่วนใหญ่เปิดแต่คอมพิวเตอร์สงสัยจะบ้าแล้วเรา blog ของตัวเองก็ไม่

ได้เข้าไปเขียน แปลกดีแฮะ มาติดเว็บสุขใจนี้สิแปลกหรือไม่แปลก เอ๊ะ !.นี่เราเขียนถึงมิตร ชัยบัญชา แล้วดันออกนอกเรื่องทำไม ? มิตร ชัยบัญชา เกิดที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรชายของพลฯ ชม ระวีแสง ตำรวจชั้นประทวน กับนางยี หรือ สงวน ระวี

แสง สาวตลาดท่ายาง นางยีให้กำเนิดลูกน้อย ขณะที่สามีไม่ได้ดูแลใส่ใจเพราะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ มิตร ชัยบัญชา เดิมเรียกกันว่า บุญทิ้ง เพราะพ่อแม่แยกทางกัน เมื่อมิตร ชัยบัญชาอายุได้ 1 ขวบ นางยีก็เข้ามาเป็นแม่ค้าขายผักในกรุงเทพ โดยฝากลูกชายไว้กับนายรื่นและนางผาด ซึ่งเป็นปู่และย่าของมิตร ชัยบัญชา ที่หมู่บ้านไสค้าน เมื่อนายรื่นและนางผาด เห็นว่าตนอายุมากขึ้นทุกวัน จวนจะเป็นไม้ใกล้ฝั่งเข้าทุกที จึงฝากเลี้ยงไว้กับสามเณรแช่ม ระวีแสง ผู้เป็นอา ซึ่งบวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดท่ากระเทียม ชีวิตในวัยเด็กของมิตร ต้องติดสอยห้อยตามสามเณรแช่มซึ่งต่อมาบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดสนามพราหมณ์ เป็นเด็กวัดที่อาศัยข้าวก้นบาตรกิน ในเพลง"ข้าวก้นบาตร" ที่แต่งโดย สมโภชน์ ล้ำพงษ์และ บำเทอง เชิดชูตระกูล มีเนื้อเพลงบางท่อนกล่าวถึงชีวิตของ มิตร ชัยบัญชาในช่วงนี้ เมื่อ 3 - 4 เดือนก่อนได้เห็น เพรชรา เชาวราชอีกครั้ง โอ้โห ! แก่ไปเยอะเลย อนิจา สังขารไม่เที่ยงแลหนอ ไม่ว่าเด็ก ผู้หใหญ่ - หนุ่ม - สาว ล้วนมุ่งหน้าสู่เชิงตอนกอนเหมือนกันหมดไม่มียกเว้นว่า เด็กไม่ตาย - ทารกไม่ตาย ผู้ใหญ่ไม่ตาย คิดแล้วก็ปลง อนิจจัง