เจ้าฟ้าแสนหวี

เจ้าฟ้าแสนหวี.เจ้าขุนส่างต้นฮุง....เจ้าฟ้าหมายถึง เจ้าแห่งท้องฟ้าเป็นผู้ปกครองบรรดาหัวหน้าหมู่บ้านอีกที...เจ้าฟ้ามักออกไปเยี่ยมเยียนและดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองเสมอ ในอดีตเมืองแสนหวีนั้นขุนส่างต้นฮุงอนุญาตให้ชาวเมืองเดินเข้าไปตีฆ้องขนาดใหญ่เพื่อร้องทุกข์ต่อเจ้าฟ้าในบริเวณหอหลวงได้(ชื่อนี้หมายความว่าขุนที่บวชเป็นเณรแล้วแห่งหมู่บ้านต้นฮุง)

....ยุคแห่งการสถาปนาเชื้อเครือราชวงศ์ขึ้นมาใหม่ ..ราวปี ค.ศ.1920รัฐบาลอังกฤษรับรองขุนส่างต้นฮุงขึ้นเป็นเจ้าฟ้าเมืองแสนหวี ขุนส่างต้นฮุงจึงได้สร้างบ้านแปลงเมืองแสนหวี ให้กลับมาดีดังเดิมโดยในการนี้ได้สถาปนาหอคำยกยอดปราสาท7ชั้นอภิเษกขึ้นเป็นขุนหอคำปกครองแว่นแคว้นแสนหวี ด้วยความสงบราบรื่น ขุนส่างต้นฮุงเคยบวชเณรมาก่อนซึ่งก็เหมือนกับกษัตริย์ สยามในละครเรื่องเดอะ คิง แอนด์ ไอ เรื่องราวของขุนส่างได้กลายเป็นตำนานไปแล้ว ในฐานะนักรบผู้ห้าวหาญแห่งเมืองแสนหวี ในที่สุดขุนส่างต้นฮุงผู้อาจหาญก็ได้สมรสกับ หลานสาวเมียวซา ของเมืองที่สำคัญแห่งหนึ่งในแสนหวี ขุนส่างต้นฮุงให้กำเนิดทายาทหลายคน ตามจารีตนั้นเจ้าฟ้า จะต้องให้กำเนิดทายาทจากชายาทั้ง 4 องค์ให้ได้มากที่สุดเพราะในสมัยก่อน เด็กเล็กนั้นตายง่ายและรัชทายาทนั้นต้องมีเชื้อสายเจ้าเท่านั้น สำหรับที่อยู่อาศัยของเจ้านายนั้นก็ไม่แตกต่างจากบ้านเรือนของชาวเมืองมากนัก หอเจ้าฟ้าอาจสร้างด้วยไม้กระดานหรือไม้ไผ่ขัดแตะแต่มีขนาดกว้างเพราะใช้เป็นที่พักอาศัยของครอบครัวและบริวาร

...เจ้าฟ้าปกครองเมืองเหมือนพ่อปกครองลูก ชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าฟ้าไม่หรูหรา ทรัพย์สินส่วนใหญ่จะถูกใช้ไปพัฒนาบ้านเมืองและกิจกรรมอื่นๆ

ที่จำเป็น อาทิ สร้างเจดีย์ สร้างวัด สร้างโรงเรียน

สร้างโรงพยาบาล และบริจาคในงานบุญต่างๆ

เจ้าฟ้าเป็นธรรมราชา ดังเช่น เจ้าชายสิทธัตถะในอดีตที่ต่อมาทรงตรัสรู้เป็นพระโคดม

สุทธิศักดิ์ถอดความจาก

The Tradition of Democracy in the Shan State

โดย SitaSao Ying ( เจ้าหญิงสีดา )

เรียบเรียงโดย:เชียงตุงเชียงรุ่ง