ชาวเขิน

ชาวเขินมีตำนานบันทึกว่า ตุงคฤาษีโอรสของเจ้าฟ้าว้อง(จีน)ได้เดินทางมากับพี่น้องรวม3คน ขณะนั้นเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมทั่วทั้งเมือง ตุงคฤาษีบุคคลตามพุทธทำนายจึงได้ตั้งสัจจะอธิฐาน แล้วใช้ไม้เท้าขีดระบายน้ำส่วนแรกออกจากเมืองไหลไปทางทิศเหนือจนเกิดเป็นแม่น้ำขืน ส่วนที่เหลือนั้นก็ได้ไหลมารวมกันที่กลางใจเมืองเกิดเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ เมื่อฤาษีได้ทำการสำเร็จลุล่วงก็ได้พบกับนางนาคี2พี่น้องซึ่งเป็นผู้เก็บพระเกศาของพระพุทธเจ้าเพื่อรอมอบให้แก่ตุงคฤาษีตามพุทธบัญชา ตุงคฤาษีจึงได้อัญเชิญพระเกศาประดิษฐานในพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ กาลเวลาล่วงผ่านไปก็ได้พัฒนากลายเป็นวัดพระธาตุจอมคำในที่สุด…ชื่อหนองน้ำใหญ่กลางเมืองและชื่อเมืองจึงมีการเรียกว่าหนองตุงและเชียงตุงตามชื่อของตุงคฤาษี แต่ชาวไตบางท่านก็เล่าว่า ในสมัยก่อนช่วงหน้าหนาวอากาศจะหนาวจัดจนบางวันผิวน้ำในหนองเกือบเป็นน้ำแข็งจนเกิดนูนขึ้นมา ชาวบ้านจึงเรียกว่าหนองตุง(ตุงคือนูนนั่นเอง)…

สำหรับอีกชื่อหนึ่งคือเขมรัฐ เล่ากันว่าในสมัยก่อนนั้นเกิดโรคระบาดจนชาวเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก เจ้าฟ้าไม่สามารถแก้ปัญหาได้แต่ละพระองค์ล้วนเจอปัญหานี้ทำให้ครองเมืองได้ไม่นาน อยากจะทิ้งเมืองแล้วไปหาที่อยู่ใหม่ก็ไม่ได้ ในที่สุดก็ได้คิดกุศโลบายแก้เคล็ดพลิกดวงเมืองขึ้น โดยใช้วิธีการถวายเมืองให้แก่พระสงฆ์พร้อมกับจัดงานสมโภชเปลี่ยนชื่อเมืองให้เป็นสิริมงคลว่าเขมรัฐ หมายถึงเมืองที่มีความสุขร่มเย็น อาณาประชาราฎร์เกษมสำราญ ผ่านไปสักพักจึงไถ่เมืองคืนแล้วเจ้าฟ้าก็ปกครองดังเดิม เมื่อดำเนินการครบถ้วนตามกุศโลบายนับแต่นั้นเป็นต้นมาชาวเมืองก็มีแต่ความสุขสมดังที่ได้ตั้งใจไว้

เรียบเรียงโดย:ใหม่สูงค่าเชียงตุง

ขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพทุกท่านด้วยครับ