บรรพบุรุษลุ่มน้ำโขง กับความเชื่อโบราณ

บรรพบุรุษลุ่ม #น้ำโขง กับความเชื่อโบราณ.......#เชียงตุง เป็นถิ่นที่อยู่ของชนกลุ่มต่างๆหลายกลุ่ม มีทั้ง #ชาวเขิน #ลื้อ #ไต #ลัวะ และชาวเขาเผ่าต่างๆ หมู่บ้านและเมืองทั้งหลายของเชียงตุงมีประเพณีสักการบูชาอารักษ์บ้านอารักษ์เมืองทั้งในรูปของ"ใจบ้านใจเมือง"และ"ผีบ้านผีเมือง"เป็นประจำทุกปี...บริเวณที่ถือเป็นใจบ้านใจเมืองของเชียงตุงนั้นมักจะมีต้นไม้ขนาดใหญ่เป็นสัญญาลักษณ์ เช่น ไม้สะหลี หรือต้นโพธิ์ ไม้ไฮ หรือต้นไทร เช่น บ้านเชียงจ๋ามมีต้นจำปาเป็นใจบ้าน ข้างไม้สำคัญเหล่านี้จะมีหอเล็กบ้างใหญ่บ้างเป็นที่สิงสถิตของเทวดาบ้านเทวดาเมืองหรือที่บ้านเรียกว่า "เจ้าบ้านเจ้าเมือง"กลางเมืองเชียงตุงใกล้หอเจ้าฟ้าและวัดพระแก้วมีไม้สะหลีใหญ่เป็นใจเมืองเชียงตุงและมีหอเทวดาตั้งอยู่เป็นสง่า(ปัจจุบันก็ยังมีอยู่) ชาวเมืองมีพิธีเลี้ยงเทวดาเมืองเชียงตุงในเดือนแปด นอกจากอารักษ์เมืองแล้ว เมืองเชียงตุงยังมีอารักษ์ที่ปกป้องคุ้มครองสถานที่สำคัญอีกสององค์ คือ เทวดาหนอง...ชาวเมืองจัดพิธีเลี้ยงที่หนองตุงในเดือนสาม และเทวดากาด มีพิธีเลี้ยงที่กาดตุง(ตลาด)ในเดือนห้า(ที่มา:เรื่องเมืองเชียงตุง อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว ,สำนักพิมพ์สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์ มีนาคม พ.ศ.2537)

...คติการปักเสาศักดิ์สิทธิ์กลางหมู่บ้านเพื่อการสักการะนี้ มีพัฒนามาเนิ่นนานเกินกว่า 2,000 ปีที่แล้ว ชนชาติไตทางตอนเหนือของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำและแถบลุ่มน้ำโขงที่อยู่สูงขึ้นไป รวมทั้งชาวลัวะบนเขาในพื้นที่ใกล้เคียง ต่างมีเสาสักการะกลางหมู่บ้านเช่นกัน แต่แตกต่างกันตามวัฒนธรรมและที่อยู่อาศัย แต่เดิมเสาศักดิ์สิทธิ์มีลักษณะเฉพาะตัวแต่ละแห่งไม่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน...จวบจนมาถึงยุคสมัยการแผ่อิทธิพลของกุบไลข่านจากมหาอาณาจักรจีน(มองโกล)ลงมายังดินแดนตอนใต้แถบลุ่มน้ำโขงในปัจจุบัน อันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไต เผ่าต่างๆนำโดย #ลื้อ #ไตยวน#ไตใหญ่ #ชาวลัวะ และชาวเขาบางเผ่าได้รวมพลังกันต่อต้านการรุกรานของกุบไลข่านผู้แสวงหาอำนาจในเวลานั้นจนเป็นผลสำเร็จ ทำให้เริ่มมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เกิดมีการช่วยเหลือกันแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ... อีกเหตุการณ์ที่น่าสนใจคือในช่วงระยะเวลาก่อนหน้านี้ที่มีการขับไล่กรอม(ขอม)ออกไปจากดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง ก็ได้อาศัยความร่วมมือร่วมใจของชาวลื้อ ไตโยน ลัวะและอาจรวมถึงชาวข่าเผ่าต่างๆทำให้บังเกิดราชวงศ์ลาวขึ้นมา(#ราชวงศ์ลวจังกราช)จนกระทั่งได้เชื่อมต่อพัฒนาการต่อเนื่องเป็นราชวงศ์ #สิงหนวัต ที่มีสัมพันธ์กับชาวไตโบราณทางตอนเหนือที่มาสร้างดินแดนใหม่ในลุ่มน้ำโขง ณ เมืองสุวรรณโคมคำ สืบต่อถึงการตั้งแคว้นหิรัญนครเงินยวง(#หิรัญนครเงินยาง) อันเป็นแคว้นที่ประสูติของพญามังรายมหาราช ขณะเดียวกันลูกหลานไตต้นราชวงศ์ลาวก็ได้แผ่ขยายไปในดินแดนชวา(ภายหลังคือ #หลวงพระบาง)จนมีการรวบรวมผู้คนและแว่นแคว้นขึ้นในลุ่มน้ำโขง น้ำคาน และน้ำอู โดยพระเจ้าฟ้างุ้ม ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง ณ ดินแดนริมน้ำโขง มีหลวงพระบางเป็นราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 1896–1961โดยการสนับสนุนของกษัตริย์ขอมผู้เป็นพ่อตา หลังจากนั้นจึงเริ่มรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาแทนการนับถือผี

....ชาวไตโบราณหลายเผ่าในยูนนาน โดยเฉพาะชาวไตใหญ่ และลื้อที่เป็นบรรพบุรุษสาขาใหญ่ของชาวไตลุ่มแม่น้ำโขงและของชาวไตโยน ได้มีลัทธิความเชื่อผีมาก่อนแล้ว ในหมู่บ้านมีข่วงใจบ้าน หมายสัญลักษณ์ไว้ด้วยหินหรือเสาไม้เนื้อแข็ง อันเป็นที่สิงสถิตของเหล่าอาฮักษ์บรรพุรุษ คติการสร้างใจบ้านและใจเมืองจึงมีมานานเนิ่นแล้ว แม้ปัจจุบันก็ยังสามารถพบหลักฐานของเสาใจบ้านใจเมืองเหล่านั้นได้ทั้งในเขต #ยูนนาน ในเขต #รัฐฉาน ใน #อัสสัม ใน #ล้านนา ใน #เวียดนาม แถบลุ่มแม่น้ำดำแม่น้ำแดงและใน #ลาว ...แต่ในลาวและเวียดนามอาจพบว่ามีการสูญหายไปมากเนื่องด้วยผลกระทบทางด้านการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

(ที่มา:สถาปัตยกรรมล้านนา เชาวลิต สัยเจริญ)

ขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพทุกท่านครับ

เรียบเรียงโดย:ใหม่สูงค่า เชียงตุง